การทางพิเศษฯ เบนเข็มสร้างทางด่วนเชื่อมโยงหัวเมืองหลัก รองรับการแก้ไขปัญหาจราจรระยะยาว เตรียมชงของบศึกษา นำร่องทางด่วนเชียงใหม่เชื่อมลำปาง-เชียงราย-ลำพูน หลังแนวโน้มการจราจร วงแหวนรอบที่ 2 และ 3 เริ่มหนาแน่น เล็งเก็บค่าผ่านทาง 20 บาทตลอดสาย ชี้เปิดทางเอกชนร่วมลงทุน พื้นที่ภาคเหนือ ขณะที่ขอนแก่นก็เป็นจุดตั้งเชื่อมจังหวัดรอบข้าง ส่วนเส้นทางลงสู่ภาคใต้ยืนยันเอาแน่ เตรียมว่าจ้างศึกษาช่วงพระราม 2-สมุทรสาครเร็วๆนี้
นายอัยยณัฐ ถินอภัย ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า กทพ.ได้หันไปรุกโครงการก่อสร้างทางด่วนพิเศษในพื้นที่ต่างจังหวัดมากขึ้น โดยเฉพาะตามพื้นที่หัวเมืองหลัก เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น ภูเก็ต นครสวรรค์ และพิษณุโลก ซึ่งจะต้องนำเสนอเพื่อของบประมาณเพื่อการศึกษาความเหมาะสมในปีต่อไป ทั้งนี้เพราะเล็งเห็นว่าปัจจุบันสภาพการจราจรในแต่ละพื้นที่เริ่มหนาแน่นมากยิ่งขึ้น ประกอบกับสภาพถนนที่มีอยู่ปัจจุบันไม่สามารถขยายออกไปได้อีก ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่แม้ว่าจะมีการก่อสร้างถนนวงแหวนรอบที่ 1 รอบที่ 2 ไปแล้ว แต่ก็มีแนวโน้มว่าเริ่มที่จะรับมือสภาพการจราจรไม่ไหว ส่งผลให้การเดินทางจากเขตพื้นที่ชั้นในออกสู่นอกเมืองประสบปัญหาโดยเฉพาะการเชื่อมโยงไปสู่จังหวัดโดยรอบ เช่น ลำปาง เชียงราย และลำพูน ทั้ง ๆ ที่ห่างกันไม่มาก
ประการสำคัญโครงการดังกล่าว ยังพร้อมเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศร่วมลงทุนเนื่องจากแต่ละเส้นทางต้องใช้งบลงทุนจำนวนมาก อีกทั้งยังคาดว่าจะมีนักลงทุนจากจีน เกาหลีและญี่ปุ่นให้ความสนใจเนื่องจากพบว่ามีประชากรของทั้ง 3 ประเทศอยู่อาศัยจำนวนมากในพื้นที่ภาคเหนือ นอกจากนั้นในเร็วๆ นี้ยังจะมีเส้นทางเชื่อมโยงต่างๆ ออกไปสู่จีนและประเทศอื่นๆ จากภาคเหนือของไทย โดยเฉพาะหลังจากเปิดการค้าเสรีนับตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นไป ดังนั้นจึงวางแผนรองรับไว้เนิ่น ๆ
"ต้องการให้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการเดินทางเข้า-ออกเมืองรวดเร็วขึ้น โดยไม่จำเป็นจะต้องไปสิ้นสุดในกลางใจเมือง เพราะสามารถขยับพิกัดออกมาไว้ที่วงแหวนรอบใดรอบหนึ่งก็ได้ อีกทั้งปัจจุบันเส้นทางเข้าสู่เมืองถนนแต่ละสายที่มาจากเชียงราย ลำปาง หรือลำพูนมีความกว้างพอที่จะสร้างทางด่วนไว้ช่วงเลนกลางได้ น่าจะชักชวนให้ผู้ใช้รถใช้ถนนหันมาเลือกใช้ทางด่วนกันมากขึ้น เพราะจะจัดเก็บค่าผ่านทางราคาถูกเพียง 20 บาทตลอดสาย"
นายอัยยณัฐ ยังกล่าวถึงจังหวัดขอนแก่นว่า ปัจจุบันสภาพการจราจรหนาแน่นไม่น้อยไปกว่าจังหวัดอื่น ๆ ที่เป็นหัวเมืองหลัก ดังนั้นจึงเตรียมศึกษาโครงการสร้างทางด่วนไปเชื่อมโยงกับจังหวัดในพื้นที่โดยรอบ เช่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ อุดรธานี และนครราชสีมา ปัจจุบันแม้จะมีถนนมิตรภาพเป็นเส้นทางหลักผ่านเมืองและยังมีจุดตัดแยกหลายแห่ง แต่ก็ยังพบว่ามีปัญหาจราจรหนาแน่น โดยเฉพาะรถบรรทุกในช่วงเวลาเร่งด่วนจึงต้องรีบแก้ไขปัญหาตั้งแต่วันนี้ วัตถุประสงค์ในเบื้องต้นจะก่อสร้างให้ผ่านในจุดที่มีชุมชนหนาแน่นเพื่อลดปัญหาจราจรในพื้นที่ดังกล่าว
"เช่นเดียวกับอีกหลายๆพื้นที่ก็มีสภาพไม่แตกต่างกันในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นภูเก็ต นครสวรรค์หรือจังหวัดหลัก ๆ ทางภาคตะวันออกที่เป็นเมืองศูนย์กลางทางธุรกิจ มีรถบรรทุกขนาดใหญ่ใช้เส้นทางจำนวนมาก สมควรที่จะมีทางเลือกการเดินทางสำหรับผู้ที่ต้องการความรวดเร็ว ประหยัดเวลาและพลังงานให้เลือกใช้มากขึ้น ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเส้นทางยาวโดยจะต้องมีการศึกษาความเหมาะสมอีกครั้งพร้อมกับการเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ว่ามีความต้องการมากน้อยเพียงใด"
นายอัยยณัฐ กล่าวเสริมถึงแผนโครงการก่อสร้างของกทพ.ในอนาคตอีกว่า ในพื้นที่โซนใต้ช่วงถนนพระราม 2 กทพ.ยังมีแผนที่จะก่อสร้างทางด่วนช่วงดาวคะนอง-บางขุนเทียน-สมุทรสาคร โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ 1.แนวสายทางเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อทางพิเศษเฉลิมมหานครบริเวณดาวคะนองไปตามถนนพระราม 2 จนถึงถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก (ถนนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 8.8 กิโลเมตร ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมว่าจ้างที่ปรึกษารอบใหม่เพื่อทบทวนความเหมาะสมภายใต้งบประมาณ 30 ล้านบาท ส่วนช่วงที่ 2 นับตั้งแต่ถนนกาญจนาภิเษกถึงจังหวัดสมุทรสาครจะอยู่ในลำดับถัดไป
นอกจากนั้นกทพ.ยังเตรียมปัดฝุ่นโครงการที่เคยศึกษาไว้มาเป็นโครงการลงทุนใหม่ เพื่อให้การเชื่อมโยงกรุงเทพฯ ไปสู่เส้นทางภาคต่างๆ มีความเป็นไปได้มากขึ้นโดยเฉพาะสร้างเส้นทางจากดาวคะนองไปสิ้นสุดเส้นทางที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ระยะทางประมาณ 28 กิโลเมตร โดยจากผลการศึกษาที่ กทพ.เคยมีการศึกษาไว้มีวงเงินลงทุนเบื้องต้น 13,700 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้าง(ไม่รวมกับเงินที่จะใช้ในการเวนคืน) 5,000 ล้านบาท ค่าออกแบบ 144 ล้านบาท และค่าควบคุมงานก่อสร้างอีก 344 ล้านบาท
นายอัยยณัฐ กล่าวต่อไปว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้กทพ.ยังนำเสนอแผนแม่บทแก่คณะทำงานโครงสร้างพื้นฐาน คมนาคม และพลังงานให้กับสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ได้เข้าพบหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษ เพื่อรองรับการคมนาคมขนส่งของประเทศ และยืนยันว่ากทพ.มีความมุ่งมั่นและความพยายามที่จะอำนวยความสะดวกและแก้ไขปัญหาการเจรจาให้กับประชาชนทั่วประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ
โดยนำเสนอแผนการดำเนินงานโครงการทางพิเศษในอนาคตจำนวน 2 แผนแม่บท คือ แผนแม่บททางพิเศษในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และแผนแม่บททางพิเศษระหว่างจังหวัด โดยแผนแม่บททางพิเศษในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล นั้นมีระยะเวลาดำเนินการในช่วงปี 2553-2563 จำนวน 4 โครงการ คือ 1.โครงการทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันตก 2.โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N1+N2+N3, E-W Corridor ด้านตะวันออก 3.โครงการทางพิเศษสายดาวคะนองวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันตก และ 4.โครงการทางพิเศษสายศรีรัช-ดาวคะนอง
สำหรับแผนแม่บททางพิเศษระหว่างจังหวัดมีทั้งสิ้น 5 โครงการ คือ 1.โครงการทางพิเศษสายบูรพาวิถี-พัทยา 2. โครงการทางพิเศษสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันออก-สระบุรี 3.โครงการทางพิเศษสายบางปะอิน-ป่าโมก-นครสวรรค์ 4.โครงการทางพิเศษสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันตก-นครปฐม และ 5.โครงการทางพิเศษสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันตก-ปราณบุรี-ประจวบคีรีขันธ์
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,713 12-15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
นายอัยยณัฐ ถินอภัย ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า กทพ.ได้หันไปรุกโครงการก่อสร้างทางด่วนพิเศษในพื้นที่ต่างจังหวัดมากขึ้น โดยเฉพาะตามพื้นที่หัวเมืองหลัก เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น ภูเก็ต นครสวรรค์ และพิษณุโลก ซึ่งจะต้องนำเสนอเพื่อของบประมาณเพื่อการศึกษาความเหมาะสมในปีต่อไป ทั้งนี้เพราะเล็งเห็นว่าปัจจุบันสภาพการจราจรในแต่ละพื้นที่เริ่มหนาแน่นมากยิ่งขึ้น ประกอบกับสภาพถนนที่มีอยู่ปัจจุบันไม่สามารถขยายออกไปได้อีก ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่แม้ว่าจะมีการก่อสร้างถนนวงแหวนรอบที่ 1 รอบที่ 2 ไปแล้ว แต่ก็มีแนวโน้มว่าเริ่มที่จะรับมือสภาพการจราจรไม่ไหว ส่งผลให้การเดินทางจากเขตพื้นที่ชั้นในออกสู่นอกเมืองประสบปัญหาโดยเฉพาะการเชื่อมโยงไปสู่จังหวัดโดยรอบ เช่น ลำปาง เชียงราย และลำพูน ทั้ง ๆ ที่ห่างกันไม่มาก
ประการสำคัญโครงการดังกล่าว ยังพร้อมเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศร่วมลงทุนเนื่องจากแต่ละเส้นทางต้องใช้งบลงทุนจำนวนมาก อีกทั้งยังคาดว่าจะมีนักลงทุนจากจีน เกาหลีและญี่ปุ่นให้ความสนใจเนื่องจากพบว่ามีประชากรของทั้ง 3 ประเทศอยู่อาศัยจำนวนมากในพื้นที่ภาคเหนือ นอกจากนั้นในเร็วๆ นี้ยังจะมีเส้นทางเชื่อมโยงต่างๆ ออกไปสู่จีนและประเทศอื่นๆ จากภาคเหนือของไทย โดยเฉพาะหลังจากเปิดการค้าเสรีนับตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นไป ดังนั้นจึงวางแผนรองรับไว้เนิ่น ๆ
"ต้องการให้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการเดินทางเข้า-ออกเมืองรวดเร็วขึ้น โดยไม่จำเป็นจะต้องไปสิ้นสุดในกลางใจเมือง เพราะสามารถขยับพิกัดออกมาไว้ที่วงแหวนรอบใดรอบหนึ่งก็ได้ อีกทั้งปัจจุบันเส้นทางเข้าสู่เมืองถนนแต่ละสายที่มาจากเชียงราย ลำปาง หรือลำพูนมีความกว้างพอที่จะสร้างทางด่วนไว้ช่วงเลนกลางได้ น่าจะชักชวนให้ผู้ใช้รถใช้ถนนหันมาเลือกใช้ทางด่วนกันมากขึ้น เพราะจะจัดเก็บค่าผ่านทางราคาถูกเพียง 20 บาทตลอดสาย"
นายอัยยณัฐ ยังกล่าวถึงจังหวัดขอนแก่นว่า ปัจจุบันสภาพการจราจรหนาแน่นไม่น้อยไปกว่าจังหวัดอื่น ๆ ที่เป็นหัวเมืองหลัก ดังนั้นจึงเตรียมศึกษาโครงการสร้างทางด่วนไปเชื่อมโยงกับจังหวัดในพื้นที่โดยรอบ เช่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ อุดรธานี และนครราชสีมา ปัจจุบันแม้จะมีถนนมิตรภาพเป็นเส้นทางหลักผ่านเมืองและยังมีจุดตัดแยกหลายแห่ง แต่ก็ยังพบว่ามีปัญหาจราจรหนาแน่น โดยเฉพาะรถบรรทุกในช่วงเวลาเร่งด่วนจึงต้องรีบแก้ไขปัญหาตั้งแต่วันนี้ วัตถุประสงค์ในเบื้องต้นจะก่อสร้างให้ผ่านในจุดที่มีชุมชนหนาแน่นเพื่อลดปัญหาจราจรในพื้นที่ดังกล่าว
"เช่นเดียวกับอีกหลายๆพื้นที่ก็มีสภาพไม่แตกต่างกันในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นภูเก็ต นครสวรรค์หรือจังหวัดหลัก ๆ ทางภาคตะวันออกที่เป็นเมืองศูนย์กลางทางธุรกิจ มีรถบรรทุกขนาดใหญ่ใช้เส้นทางจำนวนมาก สมควรที่จะมีทางเลือกการเดินทางสำหรับผู้ที่ต้องการความรวดเร็ว ประหยัดเวลาและพลังงานให้เลือกใช้มากขึ้น ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเส้นทางยาวโดยจะต้องมีการศึกษาความเหมาะสมอีกครั้งพร้อมกับการเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ว่ามีความต้องการมากน้อยเพียงใด"
นายอัยยณัฐ กล่าวเสริมถึงแผนโครงการก่อสร้างของกทพ.ในอนาคตอีกว่า ในพื้นที่โซนใต้ช่วงถนนพระราม 2 กทพ.ยังมีแผนที่จะก่อสร้างทางด่วนช่วงดาวคะนอง-บางขุนเทียน-สมุทรสาคร โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ 1.แนวสายทางเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อทางพิเศษเฉลิมมหานครบริเวณดาวคะนองไปตามถนนพระราม 2 จนถึงถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก (ถนนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 8.8 กิโลเมตร ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมว่าจ้างที่ปรึกษารอบใหม่เพื่อทบทวนความเหมาะสมภายใต้งบประมาณ 30 ล้านบาท ส่วนช่วงที่ 2 นับตั้งแต่ถนนกาญจนาภิเษกถึงจังหวัดสมุทรสาครจะอยู่ในลำดับถัดไป
นอกจากนั้นกทพ.ยังเตรียมปัดฝุ่นโครงการที่เคยศึกษาไว้มาเป็นโครงการลงทุนใหม่ เพื่อให้การเชื่อมโยงกรุงเทพฯ ไปสู่เส้นทางภาคต่างๆ มีความเป็นไปได้มากขึ้นโดยเฉพาะสร้างเส้นทางจากดาวคะนองไปสิ้นสุดเส้นทางที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ระยะทางประมาณ 28 กิโลเมตร โดยจากผลการศึกษาที่ กทพ.เคยมีการศึกษาไว้มีวงเงินลงทุนเบื้องต้น 13,700 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้าง(ไม่รวมกับเงินที่จะใช้ในการเวนคืน) 5,000 ล้านบาท ค่าออกแบบ 144 ล้านบาท และค่าควบคุมงานก่อสร้างอีก 344 ล้านบาท
นายอัยยณัฐ กล่าวต่อไปว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้กทพ.ยังนำเสนอแผนแม่บทแก่คณะทำงานโครงสร้างพื้นฐาน คมนาคม และพลังงานให้กับสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ได้เข้าพบหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษ เพื่อรองรับการคมนาคมขนส่งของประเทศ และยืนยันว่ากทพ.มีความมุ่งมั่นและความพยายามที่จะอำนวยความสะดวกและแก้ไขปัญหาการเจรจาให้กับประชาชนทั่วประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ
โดยนำเสนอแผนการดำเนินงานโครงการทางพิเศษในอนาคตจำนวน 2 แผนแม่บท คือ แผนแม่บททางพิเศษในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และแผนแม่บททางพิเศษระหว่างจังหวัด โดยแผนแม่บททางพิเศษในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล นั้นมีระยะเวลาดำเนินการในช่วงปี 2553-2563 จำนวน 4 โครงการ คือ 1.โครงการทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันตก 2.โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N1+N2+N3, E-W Corridor ด้านตะวันออก 3.โครงการทางพิเศษสายดาวคะนองวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันตก และ 4.โครงการทางพิเศษสายศรีรัช-ดาวคะนอง
สำหรับแผนแม่บททางพิเศษระหว่างจังหวัดมีทั้งสิ้น 5 โครงการ คือ 1.โครงการทางพิเศษสายบูรพาวิถี-พัทยา 2. โครงการทางพิเศษสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันออก-สระบุรี 3.โครงการทางพิเศษสายบางปะอิน-ป่าโมก-นครสวรรค์ 4.โครงการทางพิเศษสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันตก-นครปฐม และ 5.โครงการทางพิเศษสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันตก-ปราณบุรี-ประจวบคีรีขันธ์
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,713 12-15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555