บอร์ด กนง.คาดเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวได้หลังไตรมาส 2 ของปีนี้ ระบุการลดดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งที่ผ่านมาช่วยบรรเทาผลกระทบน้ำท่วมต่อภาวะเศรษฐกิจไทยได้ทั้งหมดแล้ว ส่งสัญญาณทิศทางดอกเบี้ยไม่ใช่ขาลงอีกต่อไป มั่นใจเศรษฐกิจไทยจะกลับมาดี ย้ำหากเศรษฐกิจฟื้นมีโอกาสดอกเบี้ยขาขึ้น เพื่อลดปัญหาเงินเฟ้อตามมา
นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ รองผู้ว่าการด้านบริหาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ในฐานะกรรมการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า บอร์ด กนง.มองว่าทิศทางเศรษฐกิจไทยน่าจะกลับมาดีขึ้นหลังจากไตรมาส 2 ไปแล้ว โดยในส่วนของสถานการณ์เศรษฐกิจต่างประเทศคาดว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้บ้าง ทำให้ลดผลกระทบมายังเศรษฐกิจไทยได้บ้าง
ขณะเดียวกันเศรษฐกิจไทยน่าจะแก้ไขปัญหาสินเชื่อและการฟื้นฟูประเทศจากปัญหาน้ำท่วมน่าจะดีขึ้น ซึ่งเห็นว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งที่ผ่านมาได้ครอบคลุมผลกระทบน้ำท่วมไว้ทั้งหมดแล้ว
"การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งที่ผ่านมาไม่ใช่ส่งสัญญาณว่าทิศทางดอกเบี้ยนโยบายขาลง แต่เป็นการลดโดยจังหวะที่ต้องการฟื้นฟูประเทศ ซึ่งตัวดอกเบี้ยก็เป็นต้นทุนอย่างหนึ่งที่ควรให้ต่ำ อีกทั้งสถานการณ์เศรษฐกิจต่างประเทศก็ไม่ดีนัก จึงเห็นว่าดอกเบี้ยสามารถช่วยเหลือประเทศได้ แต่ก็เป็นแค่ชั่วคราวเท่านั้น เมื่อใดก็ตามถ้าเศรษฐกิจดีขึ้น ปัญหาเงินเฟ้อตามมาก็อาจจะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ ฉะนั้น การตัดสินใจดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจในช่วงที่มีการตัดสินใจเป็นสำคัญ"
ต่อข้อซักถามที่ว่า แม้อัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลง 2 ครั้งติดต่อกัน แต่ธนาคารพาณิชย์ในระบบไม่ได้ปรับดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ตาม ซึ่งจะมีผลต่อประสิทธิภาพของนโยบายการเงิน รวมถึงมุมมองสายตาสาธารณชนในการทำหน้าที่ของ กนง.หรือไม่นั้น รองผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า การพิจารณาดอกเบี้ยของ กนง.ต้องพิจารณาปัจจัยรอบด้านให้ครบถ้วนและไม่ได้ให้น้ำหนักว่าลดดอกเบี้ยนโยบายแล้วทางธนาคารพาณิชย์ต้องปรับตาม แต่จะมองภาวะเศรษฐกิจเป็นสำคัญ สภาพการแข่งขันประเทศคู่ค้า ซึ่งดอกเบี้ยจะเป็นตัวสะท้อนอัตราแลกเปลี่ยนจากเงินทุนไหลเข้าออก ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบได้มากกว่า
ที่มา: หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการรายวัน
นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ รองผู้ว่าการด้านบริหาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ในฐานะกรรมการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า บอร์ด กนง.มองว่าทิศทางเศรษฐกิจไทยน่าจะกลับมาดีขึ้นหลังจากไตรมาส 2 ไปแล้ว โดยในส่วนของสถานการณ์เศรษฐกิจต่างประเทศคาดว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้บ้าง ทำให้ลดผลกระทบมายังเศรษฐกิจไทยได้บ้าง
ขณะเดียวกันเศรษฐกิจไทยน่าจะแก้ไขปัญหาสินเชื่อและการฟื้นฟูประเทศจากปัญหาน้ำท่วมน่าจะดีขึ้น ซึ่งเห็นว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งที่ผ่านมาได้ครอบคลุมผลกระทบน้ำท่วมไว้ทั้งหมดแล้ว
"การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งที่ผ่านมาไม่ใช่ส่งสัญญาณว่าทิศทางดอกเบี้ยนโยบายขาลง แต่เป็นการลดโดยจังหวะที่ต้องการฟื้นฟูประเทศ ซึ่งตัวดอกเบี้ยก็เป็นต้นทุนอย่างหนึ่งที่ควรให้ต่ำ อีกทั้งสถานการณ์เศรษฐกิจต่างประเทศก็ไม่ดีนัก จึงเห็นว่าดอกเบี้ยสามารถช่วยเหลือประเทศได้ แต่ก็เป็นแค่ชั่วคราวเท่านั้น เมื่อใดก็ตามถ้าเศรษฐกิจดีขึ้น ปัญหาเงินเฟ้อตามมาก็อาจจะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ ฉะนั้น การตัดสินใจดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจในช่วงที่มีการตัดสินใจเป็นสำคัญ"
ต่อข้อซักถามที่ว่า แม้อัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลง 2 ครั้งติดต่อกัน แต่ธนาคารพาณิชย์ในระบบไม่ได้ปรับดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ตาม ซึ่งจะมีผลต่อประสิทธิภาพของนโยบายการเงิน รวมถึงมุมมองสายตาสาธารณชนในการทำหน้าที่ของ กนง.หรือไม่นั้น รองผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า การพิจารณาดอกเบี้ยของ กนง.ต้องพิจารณาปัจจัยรอบด้านให้ครบถ้วนและไม่ได้ให้น้ำหนักว่าลดดอกเบี้ยนโยบายแล้วทางธนาคารพาณิชย์ต้องปรับตาม แต่จะมองภาวะเศรษฐกิจเป็นสำคัญ สภาพการแข่งขันประเทศคู่ค้า ซึ่งดอกเบี้ยจะเป็นตัวสะท้อนอัตราแลกเปลี่ยนจากเงินทุนไหลเข้าออก ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบได้มากกว่า
ที่มา: หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการรายวัน