การเสวนา เจาะลึก 6 มาตรการเร่งดวนบริหารจัดการน้ำ นายโสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตทแอฟแฟร์ส จำกัด กล่าวว่า ยังเชื่อว่าราคาที่ดินและราคาอสังหาริมทรัพย์จะยังไม่ตกต่ำแม้จะอยู่ในพื้นที่เสี่ยงจากน้ำท่วมก็ตาม เนื่องจากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ เช่น แนวการก่อสร้างรถไฟฟ้า โดยยกตัวอย่าง ในพื้นที่เขตบางบัวทองซึ่งมีแนวของรถไฟฟ้าสายสีม่วง และมีแนวโน้มราคาเพิ่มขึ้นปีละ 10% และยังมั่นใจว่าประชาชนระดับที่มีบ้านขนาดกลาง คือ ต่ำกว่า 10 ล้านบาท จะไม่ย้ายที่อยู่อาศัยแน่นอนซึ่งหากผู้ประกอบการต้องการขายบ้านในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมอาจต้องมีการปรับราคาให้ต่ำกว่าราตลาดด้วย เช่น บ้านราคา 10 ล้าน อาจต้องปรับลงมาเหลือ 6 ล้าน
สำหรับพื้นที่ในเขตเมืองที่มีการป้องกันน้ำท่วมอย่างสูงรัฐควรมีมาตรการทางภาษี เช่น เก็บภาษีเพิ่มจากผู้ที่ไม่ถูกน้ำท่วมเพื่อนำไปชดเชยให้กลุ่มที่ต้องรองรับน้ำแทน
ด้านนายมังกร ธนสารศิลป์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สายงานการลงทุนและตลาดทุน ระบุว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่างหามาตรการเพื่อป้องกันน้ำในพื้นที่ของตนเองในขณะเดียวกันรัฐต้องแสดงความมั่นใจให้ผู้ประกอบการเชื่อมั่นในแผนรองรับน้ำด้วย แต่ยอมรับว่ามีความกังวลอยู่บ้างว่าน้ำจะมามากน้อยเท่าใดและจะต้องเตรียมตัวรับมือเช่นใด
ขณะที่นายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำปีที่แล้วต้องยอมรับว่าปริมาณน้ำทั้งจากฝนและพายุ 5 ลูกส่งผลให้น้ำในเขื่อนใหญ่ไม่สามารถรับได้ จึงต้องมีการปล่อยน้ำลงมาจำนวนมหาศาลในขณะที่การบริหารจัดการน้ำในส่วนองเครื่องมือ รัฐสามารถรับมือได้เพียง 40% ซึ่งส่งผลกระทบต่อพื้นที่ 80 ล้านไร่ และการรับมือเป็นเพียงการกั้นน้ำแต่ไม่มีการระบายน้ำออก ดังนั้น การจัดการในภาพรวมจริงๆ
นายรอยล แนะนำว่า การป้องกันน้ำต้องมองไปถึงการระบายน้ำด้วย โดยใช้พื้นที่ทางการเกษตรส่วนหนึ่ง เช่น พื้นที่แก้มลิงทุ่งรังสิต มีพืิ้นที่ร่องสวนที่สามารถผันน้ำเข้าออกได้
นอกจากนี้ สามารถแบ่งหน้าที่การบริหารจัดการน้ำ โดย พื้นที่ 154 ล้านไร่ เป็นพื้นที่การเกษตร ขณะที่พื้นที่ ชลประทาน 27 ล้านไร่ และ 80% ของการแก้ปัญหาน้ำต้องแก้ไขนอกพื้นที่ชลประทาน และการบริหารที่ดีคือการใช้เงินจำนวนน้อยแต่ความประณีตในคุณภาพมีมาก" นายรอยลกล่าวพร้อมกันนี้
นายชูลิต วัชรสินธุ์ กรรมการบริหาร บริษัท ปัญญาคอนซัลแตนท์ จำกัด เปิดเผยว่า ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ขวางทางน้ำยังมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งรัฐต้องมีวิธีการจัดการ ขณะที่การขางงบประมาณจำนวนมากไม่อยากให้เน้นที่การสร้างแต่ขาดการบำรุงรักษา ซึ่งการแก้ปัญหาภัยพิบัติไม่ควรมีการเมืองแทรกแซงไม่เป็นภาระงบประมาณและให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุดเพราะเข้าใจพื้นที่มากที่สุด
อย่างไรก็ตาม นายวิเชียร ชวลิตร กรรมการและเลขาธิการคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารทรัพยากรน้ำในฐานะตัวแทนรัฐบาลกล่าวว่า รัฐบาลกำลังเร่งดำเนินการแผนระยะเร่งด่วนอย่างเต็มที่ เพื่อรองรับสถานการณ์ให้ทันฤดูฝนปีนี้ และในวันพรุ่งนี้ (26 ม.ค.) นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรี จะเรียกประชุมส่วนราชการ กทม. ผู้ว่าฯจังหวัดเขตปริมณฑล เพื่อวางแผนลงซ่อมแซมประตูระบายน้ำขุดลอกคูคลอง ส่วนแผนเผชิญเหตุและแผนเยียวยาพื้นที่รับน้ำนองจะเสร็จสิ้นช่วงเดือนมีนาคม นอกจากนี้ แผนการบริหารน้ำประจำปี อยู่ในขั้นตอนของกรมชลประทานกำลังทำข้อมูลอยู่ ขณะที่ระยะยาวจะต้องเพิ่มปริมาณอ่างเก็บน้ำเพื่อรองรับน้ำจากทางเหนือโดยเฉพาะแม่น้ำยม
ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ด้านนายมังกร ธนสารศิลป์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สายงานการลงทุนและตลาดทุน ระบุว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่างหามาตรการเพื่อป้องกันน้ำในพื้นที่ของตนเองในขณะเดียวกันรัฐต้องแสดงความมั่นใจให้ผู้ประกอบการเชื่อมั่นในแผนรองรับน้ำด้วย แต่ยอมรับว่ามีความกังวลอยู่บ้างว่าน้ำจะมามากน้อยเท่าใดและจะต้องเตรียมตัวรับมือเช่นใด
ขณะที่นายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำปีที่แล้วต้องยอมรับว่าปริมาณน้ำทั้งจากฝนและพายุ 5 ลูกส่งผลให้น้ำในเขื่อนใหญ่ไม่สามารถรับได้ จึงต้องมีการปล่อยน้ำลงมาจำนวนมหาศาลในขณะที่การบริหารจัดการน้ำในส่วนองเครื่องมือ รัฐสามารถรับมือได้เพียง 40% ซึ่งส่งผลกระทบต่อพื้นที่ 80 ล้านไร่ และการรับมือเป็นเพียงการกั้นน้ำแต่ไม่มีการระบายน้ำออก ดังนั้น การจัดการในภาพรวมจริงๆ
นายรอยล แนะนำว่า การป้องกันน้ำต้องมองไปถึงการระบายน้ำด้วย โดยใช้พื้นที่ทางการเกษตรส่วนหนึ่ง เช่น พื้นที่แก้มลิงทุ่งรังสิต มีพืิ้นที่ร่องสวนที่สามารถผันน้ำเข้าออกได้
นอกจากนี้ สามารถแบ่งหน้าที่การบริหารจัดการน้ำ โดย พื้นที่ 154 ล้านไร่ เป็นพื้นที่การเกษตร ขณะที่พื้นที่ ชลประทาน 27 ล้านไร่ และ 80% ของการแก้ปัญหาน้ำต้องแก้ไขนอกพื้นที่ชลประทาน และการบริหารที่ดีคือการใช้เงินจำนวนน้อยแต่ความประณีตในคุณภาพมีมาก" นายรอยลกล่าวพร้อมกันนี้
นายชูลิต วัชรสินธุ์ กรรมการบริหาร บริษัท ปัญญาคอนซัลแตนท์ จำกัด เปิดเผยว่า ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ขวางทางน้ำยังมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งรัฐต้องมีวิธีการจัดการ ขณะที่การขางงบประมาณจำนวนมากไม่อยากให้เน้นที่การสร้างแต่ขาดการบำรุงรักษา ซึ่งการแก้ปัญหาภัยพิบัติไม่ควรมีการเมืองแทรกแซงไม่เป็นภาระงบประมาณและให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุดเพราะเข้าใจพื้นที่มากที่สุด
อย่างไรก็ตาม นายวิเชียร ชวลิตร กรรมการและเลขาธิการคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารทรัพยากรน้ำในฐานะตัวแทนรัฐบาลกล่าวว่า รัฐบาลกำลังเร่งดำเนินการแผนระยะเร่งด่วนอย่างเต็มที่ เพื่อรองรับสถานการณ์ให้ทันฤดูฝนปีนี้ และในวันพรุ่งนี้ (26 ม.ค.) นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรี จะเรียกประชุมส่วนราชการ กทม. ผู้ว่าฯจังหวัดเขตปริมณฑล เพื่อวางแผนลงซ่อมแซมประตูระบายน้ำขุดลอกคูคลอง ส่วนแผนเผชิญเหตุและแผนเยียวยาพื้นที่รับน้ำนองจะเสร็จสิ้นช่วงเดือนมีนาคม นอกจากนี้ แผนการบริหารน้ำประจำปี อยู่ในขั้นตอนของกรมชลประทานกำลังทำข้อมูลอยู่ ขณะที่ระยะยาวจะต้องเพิ่มปริมาณอ่างเก็บน้ำเพื่อรองรับน้ำจากทางเหนือโดยเฉพาะแม่น้ำยม
ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ