นางสาวปัญญาภัสสร์ นพพันธ์ ผู้อำนวยการกองวางผังเมือง สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า กทม.จะต่ออายุผังเมืองรวมฉบับปัจจุบันออกไปอีกเป็นครั้งที่ 2 ให้มีผลบังคับใช้ไปจนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2556 จากเดิมในครั้งแรกได้ขอต่ออายุถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2555
เนื่องจากร่างการปรับปรุงผังเมืองรวมที่อยู่ระหว่างดำเนินการยังไม่เสร็จสิ้น ยังเหลือขั้นตอนอีกมากกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ ล่าสุดอยู่ในขั้นตอนเสนอให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงนามเพื่อเตรียมปิดประกาศร่างผังเมืองรวมฉบับปรับปรุงใหม่นี้ ให้ประชาชนได้รับทราบในวันที่ 8 สิงหาคมนี้
สำหรับการปรับเปลี่ยนสีและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปรับไม่มาก ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ชั้นกลางและรอบนอก อยู่ในแนวรถไฟฟ้าทั้งสายที่เปิดบริการแล้ว เช่น บีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดินและรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ และสายทางที่กำลังก่อสร้างและอยู่ในแผนแม่บท 12 สายทาง
รวมถึงโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐบาลที่มีการก่อสร้างเกิดขึ้น เช่น ศูนย์ราชการแห่งใหม่ถนนแจ้งวัฒนะ อาคารรัฐสภาแห่งใหม่บริเวณเกียกกาย สถานีมักกะสัน เป็นต้น อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงภาวะโลกร้อนอีกด้วย ซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
ประเดิมทำเลแจ้งวัฒนะ
โดยมีพื้นที่ 10 จุดใหญ่ ๆ ที่จะเปลี่ยนแปลง มีทั้งปรับความหนาแน่นเพิ่มขึ้นและมีบางบริเวณที่จะต้องปรับความหนาแน่นลดลง คือ
1."ย่านแจ้งวัฒนะ" บริเวณโดยรอบศูนย์ราชการ จากเดิมเป็นพื้นที่สีเหลือง (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) มาเป็นพื้นที่สีส้ม (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง) ให้พัฒนาที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมได้มากขึ้น
เนื่องจากมีข้าราชการเข้ามาทำงานและอยู่อาศัยจำนวนมากหลายหมื่นคน และมีที่อยู่อาศัยใหม่เกิดขึ้นมาก การสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี) และสีแดง (บางซื่อ-รังสิต)
2."มีนบุรี" จะเพิ่มพื้นที่สีแดงมากขึ้น
3.บริเวณจุดตัดถนนรามอินทรา-ถนนวงแหวนรอบนอก จากเดิมพื้นที่สีเหลืองและส้ม (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง) เป็นพื้นที่สีแดง (พาณิชยกรรม) เพื่อรับรถไฟฟ้าสายสีชมพูเช่นกัน
4."บริเวณเกียกกาย" จะเพิ่มข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบเพื่อรองรับกับอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ที่กำลังจะก่อสร้าง อาจจะกำหนดให้เป็นพื้นที่อนุรักษนิยม จากพื้นที่เดิมเป็นสีน้ำตาล (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก) อีกทั้งอาจจะต้องทำรายละเอียดการพัฒนาให้ละเอียดมากขึ้นเพื่อรองรับกับโครงข่ายถนนของสำนักการโยธาของ กทม.ที่จะสร้างมารองรับในอนาคตด้วย
เพิ่มสีโซนตะวันออก
5."บริเวณลาดกระบัง" จะขยายพื้นที่กำหนดให้เป็นศูนย์ชุมชนลาดกระบังเดิมให้ครอบคลุมมาถึงสถานีลาดกระบังของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งปัจจุบันโดยรอบสถานีถูกกำหนดเป็นพื้นที่เขียวลายขาว (อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม) ทำให้มีปัญหาการพัฒนาทางเข้า-ออก จะเปลี่ยนเป็นพื้นที่สีแดง (พาณิชยกรรม) ให้พัฒนามากขึ้น เพื่อดึงคนมาใช้บริการ
6."บริเวณหัวหมาก-ถนนพัฒนาการ" เนื่องจากอยู่ใกล้กับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ จะเพิ่มการพัฒนามากขึ้นจากเดิมเป็นพื้นที่สีเหลือง (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) จะเปิดพื้นที่เป็นสีส้ม (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง) และสีแดงตรงสถานีหัวหมาก
7."บริเวณวงเวียนใหญ่" (แนวถนนราชพฤกษ์) จะเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าทั้งสายสีเขียว (ตากสิน-บางหว้า) และสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-ท่าพระ) เนื่องจากรัฐบาลได้ยกเลิกศูนย์คมนาคมตากสินเดิมไปแล้ว
8."ย่านตลิ่งชัน" บริเวณโดยรอบสถานีตลิ่งชันใกล้กับถนนชัยพฤกษ์ในแนวรถไฟชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) จะเพิ่มความหนาแน่นของที่อยู่อาศัยเข้าไป โดยเพิ่มพื้นที่สีแดง (พ.2) ตรงสถานีและเปลี่ยนพื้นที่ฝั่งแขวงฉิมพลีจากเขียวลายขาวเป็นสีเหลือง (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) และฝั่งตลิ่งชันเปลี่ยนบางส่วนจาก สีเหลืองเป็นสีส้ม (ที่อยู่อาศัยหนาแน่น ปานกลาง) ให้พัฒนาทั้งที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมได้มากขึ้น
ลดหนาแน่นย่านบางขุนเทียน
9."ย่านชายทะเลบางขุนเทียน" แนวทางการพัฒนาจะเป็นการรองรับภาวะโลกร้อน จากเดิมเป็นพื้นที่สีเขียว (เกษตรกรรม) จะเป็นพื้นที่สีเขียวลายขาว (อนุรักษ์ชนบทหรือที่อยู่อาศัยเชิงนิเวศและเกษตรกรรม) รวมถึงพื้นที่ย่านบางแคและตลิ่งชันที่เป็นพื้นที่ติดกับเขตทวีวัฒนามีบางส่วนที่ต้องปรับเป็นที่อยู่อาศัยเชิงนิเวศเช่นกันและ
10."พื้นที่ริมคลองชักพระ" จะปรับจากเดิมเป็นพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีน้ำตาล) เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) เช่นเดียวกับบริเวณด้านใต้ของถนนสุขสวัสดิ์ เนื่องจากไม่มีรถไฟฟ้าเข้าถึง
ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ
เนื่องจากร่างการปรับปรุงผังเมืองรวมที่อยู่ระหว่างดำเนินการยังไม่เสร็จสิ้น ยังเหลือขั้นตอนอีกมากกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ ล่าสุดอยู่ในขั้นตอนเสนอให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงนามเพื่อเตรียมปิดประกาศร่างผังเมืองรวมฉบับปรับปรุงใหม่นี้ ให้ประชาชนได้รับทราบในวันที่ 8 สิงหาคมนี้
สำหรับการปรับเปลี่ยนสีและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปรับไม่มาก ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ชั้นกลางและรอบนอก อยู่ในแนวรถไฟฟ้าทั้งสายที่เปิดบริการแล้ว เช่น บีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดินและรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ และสายทางที่กำลังก่อสร้างและอยู่ในแผนแม่บท 12 สายทาง
รวมถึงโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐบาลที่มีการก่อสร้างเกิดขึ้น เช่น ศูนย์ราชการแห่งใหม่ถนนแจ้งวัฒนะ อาคารรัฐสภาแห่งใหม่บริเวณเกียกกาย สถานีมักกะสัน เป็นต้น อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงภาวะโลกร้อนอีกด้วย ซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
ประเดิมทำเลแจ้งวัฒนะ
โดยมีพื้นที่ 10 จุดใหญ่ ๆ ที่จะเปลี่ยนแปลง มีทั้งปรับความหนาแน่นเพิ่มขึ้นและมีบางบริเวณที่จะต้องปรับความหนาแน่นลดลง คือ
1."ย่านแจ้งวัฒนะ" บริเวณโดยรอบศูนย์ราชการ จากเดิมเป็นพื้นที่สีเหลือง (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) มาเป็นพื้นที่สีส้ม (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง) ให้พัฒนาที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมได้มากขึ้น
เนื่องจากมีข้าราชการเข้ามาทำงานและอยู่อาศัยจำนวนมากหลายหมื่นคน และมีที่อยู่อาศัยใหม่เกิดขึ้นมาก การสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี) และสีแดง (บางซื่อ-รังสิต)
2."มีนบุรี" จะเพิ่มพื้นที่สีแดงมากขึ้น
3.บริเวณจุดตัดถนนรามอินทรา-ถนนวงแหวนรอบนอก จากเดิมพื้นที่สีเหลืองและส้ม (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง) เป็นพื้นที่สีแดง (พาณิชยกรรม) เพื่อรับรถไฟฟ้าสายสีชมพูเช่นกัน
4."บริเวณเกียกกาย" จะเพิ่มข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบเพื่อรองรับกับอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ที่กำลังจะก่อสร้าง อาจจะกำหนดให้เป็นพื้นที่อนุรักษนิยม จากพื้นที่เดิมเป็นสีน้ำตาล (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก) อีกทั้งอาจจะต้องทำรายละเอียดการพัฒนาให้ละเอียดมากขึ้นเพื่อรองรับกับโครงข่ายถนนของสำนักการโยธาของ กทม.ที่จะสร้างมารองรับในอนาคตด้วย
เพิ่มสีโซนตะวันออก
5."บริเวณลาดกระบัง" จะขยายพื้นที่กำหนดให้เป็นศูนย์ชุมชนลาดกระบังเดิมให้ครอบคลุมมาถึงสถานีลาดกระบังของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งปัจจุบันโดยรอบสถานีถูกกำหนดเป็นพื้นที่เขียวลายขาว (อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม) ทำให้มีปัญหาการพัฒนาทางเข้า-ออก จะเปลี่ยนเป็นพื้นที่สีแดง (พาณิชยกรรม) ให้พัฒนามากขึ้น เพื่อดึงคนมาใช้บริการ
6."บริเวณหัวหมาก-ถนนพัฒนาการ" เนื่องจากอยู่ใกล้กับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ จะเพิ่มการพัฒนามากขึ้นจากเดิมเป็นพื้นที่สีเหลือง (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) จะเปิดพื้นที่เป็นสีส้ม (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง) และสีแดงตรงสถานีหัวหมาก
7."บริเวณวงเวียนใหญ่" (แนวถนนราชพฤกษ์) จะเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าทั้งสายสีเขียว (ตากสิน-บางหว้า) และสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-ท่าพระ) เนื่องจากรัฐบาลได้ยกเลิกศูนย์คมนาคมตากสินเดิมไปแล้ว
8."ย่านตลิ่งชัน" บริเวณโดยรอบสถานีตลิ่งชันใกล้กับถนนชัยพฤกษ์ในแนวรถไฟชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) จะเพิ่มความหนาแน่นของที่อยู่อาศัยเข้าไป โดยเพิ่มพื้นที่สีแดง (พ.2) ตรงสถานีและเปลี่ยนพื้นที่ฝั่งแขวงฉิมพลีจากเขียวลายขาวเป็นสีเหลือง (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) และฝั่งตลิ่งชันเปลี่ยนบางส่วนจาก สีเหลืองเป็นสีส้ม (ที่อยู่อาศัยหนาแน่น ปานกลาง) ให้พัฒนาทั้งที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมได้มากขึ้น
ลดหนาแน่นย่านบางขุนเทียน
9."ย่านชายทะเลบางขุนเทียน" แนวทางการพัฒนาจะเป็นการรองรับภาวะโลกร้อน จากเดิมเป็นพื้นที่สีเขียว (เกษตรกรรม) จะเป็นพื้นที่สีเขียวลายขาว (อนุรักษ์ชนบทหรือที่อยู่อาศัยเชิงนิเวศและเกษตรกรรม) รวมถึงพื้นที่ย่านบางแคและตลิ่งชันที่เป็นพื้นที่ติดกับเขตทวีวัฒนามีบางส่วนที่ต้องปรับเป็นที่อยู่อาศัยเชิงนิเวศเช่นกันและ
10."พื้นที่ริมคลองชักพระ" จะปรับจากเดิมเป็นพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีน้ำตาล) เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) เช่นเดียวกับบริเวณด้านใต้ของถนนสุขสวัสดิ์ เนื่องจากไม่มีรถไฟฟ้าเข้าถึง
ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ