นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ แถลงว่า ในการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย ไตรมาส 3 ปี 2555 มีผู้ประกอบการตอบแบบสอบถามจำนวน 166 บริษัท เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 30 บริษัท และบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 136 บริษัท ในการคำนวณดัชนีรวมจะให้น้ำหนักบริษัทจดทะเบียนและบริษัทไม่จดทะเบียน 50:50 เท่ากัน
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยมีค่ากลางของดัชนีเท่ากับ 50 ดังนั้น หากค่าดัชนีสูงกว่าค่ากลาง มีนัยว่าผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นภาวะที่ดี และหากดัชนีมีค่าสูงกว่าเดิม มีนัยว่าผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นภาวะที่ดีขึ้นจากเดิม ในทางตรงข้าม หากค่าดัชนีต่ำกว่าค่ากลาง มีนัยว่าผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นภาวะที่ไม่ดี และหากดัชนีมีค่าต่ำกว่าเดิม มีนัยว่าผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นภาวะที่แย่ลงจากเดิม
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยมีค่ากลางของดัชนีเท่ากับ 50 ดังนั้น หากค่าดัชนีสูงกว่าค่ากลาง มีนัยว่าผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นภาวะที่ดี และหากดัชนีมีค่าสูงกว่าเดิม มีนัยว่าผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นภาวะที่ดีขึ้นจากเดิม ในทางตรงข้าม หากค่าดัชนีต่ำกว่าค่ากลาง มีนัยว่าผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นภาวะที่ไม่ดี และหากดัชนีมีค่าต่ำกว่าเดิม มีนัยว่าผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นภาวะที่แย่ลงจากเดิม
ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย ประจำไตรมาส 3 ปี 2555 พบว่าค่าดัชนีความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบัน (Current Situation Index) มีค่าเท่ากับ 51.3 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่แล้ว (2/2555) ซึ่งดัชนีมีค่าเท่ากับ 55.8 และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (ไตรมาส 3/2554) ซึ่งดัชนีมีค่าเท่ากับ 56.2 เช่นกัน เมื่อแยกประเภทผู้ประกอบการ พบว่าสำหรับ ผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Listed) มีค่าความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบันเท่ากับ 54.9 ลดลงจากไตรมาสที่แล้ว ซึ่งมีค่าดัชนี 62.8สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่ใช่บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Non-Listed) มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบันเท่ากับ 47.8 ปรับลดลงจากไตรมาสที่แล้ว ซึ่งมีค่าดัชนี 48.8
ค่าดัชนีในไตรมาสนี้แม้จะปรับลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ยังมีค่าสูงกว่าค่ากลาง หมายความว่าผู้ประกอบการยังมีความเชื่อมั่นในเชิงบวกอยู่แต่มองสถานการณ์ไม่สดใสเท่าเมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ที่มีฝนตกชุกในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล และข่าวอุทกภัยในจังหวัดภูมิภาคอื่นๆ
สำหรับดัชนีความคาดหวังในอีก 6 เดือนข้างหน้า (Expectations Index) ประจำไตรมาส 3/2555 มีค่าเท่ากับ 69.6 ปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว ซึ่งมีค่าเท่ากับ 67.9 และเพิ่มจากไตรมาสเดียวกันของปี 2554 ซึ่งดัชนีมีค่าเท่ากับ 68.6โดยในส่วนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มีค่าดัชนีความคาดหวังในอีก 6 เดือนข้างหน้า เท่ากับ 75.0 ปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 73.5
ส่วนบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มีค่าดัชนีความคาดหวังในอีก 6 เดือนข้างหน้า มีค่าดัชนีเท่ากับ 64.1 ปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 62.3
ค่าดัชนีความคาดหวังใน 6 เดือนข้างหน้า (มองยาวไปถึงเดือนมีนาคม 2556 เปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2555 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำรวจความเชื่อมั่น) ปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการมีความคาดหวังที่ดีขึ้นต่ออนาคตในช่วงไตรมาสแรกปี 2556 ว่าจะมีกำลังซื้อกลับเข้ามาจากรายได้เงินเดือนและโบนัสที่ผู้บริโภคได้รับในช่วงต้นปี และสถานการณ์เศรษฐกิจที่อาจดีขึ้นกว่าในปี 2555
ที่มา: http://www.thanonline.com
ค่าดัชนีในไตรมาสนี้แม้จะปรับลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ยังมีค่าสูงกว่าค่ากลาง หมายความว่าผู้ประกอบการยังมีความเชื่อมั่นในเชิงบวกอยู่แต่มองสถานการณ์ไม่สดใสเท่าเมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ที่มีฝนตกชุกในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล และข่าวอุทกภัยในจังหวัดภูมิภาคอื่นๆ
สำหรับดัชนีความคาดหวังในอีก 6 เดือนข้างหน้า (Expectations Index) ประจำไตรมาส 3/2555 มีค่าเท่ากับ 69.6 ปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว ซึ่งมีค่าเท่ากับ 67.9 และเพิ่มจากไตรมาสเดียวกันของปี 2554 ซึ่งดัชนีมีค่าเท่ากับ 68.6โดยในส่วนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มีค่าดัชนีความคาดหวังในอีก 6 เดือนข้างหน้า เท่ากับ 75.0 ปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 73.5
ส่วนบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มีค่าดัชนีความคาดหวังในอีก 6 เดือนข้างหน้า มีค่าดัชนีเท่ากับ 64.1 ปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 62.3
ค่าดัชนีความคาดหวังใน 6 เดือนข้างหน้า (มองยาวไปถึงเดือนมีนาคม 2556 เปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2555 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำรวจความเชื่อมั่น) ปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการมีความคาดหวังที่ดีขึ้นต่ออนาคตในช่วงไตรมาสแรกปี 2556 ว่าจะมีกำลังซื้อกลับเข้ามาจากรายได้เงินเดือนและโบนัสที่ผู้บริโภคได้รับในช่วงต้นปี และสถานการณ์เศรษฐกิจที่อาจดีขึ้นกว่าในปี 2555
ที่มา: http://www.thanonline.com