นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า แนวโน้มอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/2555 จะอยู่ที่ 1% โดยมีการฟื้นตัวจากการขับเคลื่อนของภาคเศรษฐกิจในประเทศ และมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญจากนโยบายเศรษฐกิจเชิงกระตุ้นของรัฐบาล รวมทั้งการฟื้นฟูประเทศและการ ลงทุนที่ต่อเนื่องจากอุทกภัย แต่ปัญหาเศรษฐกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะปัญหาหนี้ในยูโรโซนจะมีผลกระทบทางตรงต่อการส่งออกและการท่องเที่ยว จะทำให้ในไตรมาส 1/55 การส่งออกอาจจะหดตัวลงถึง 7.8% ซึ่งสินค้าที่มีโอกาสได้รับผลกระทบมากที่สุดได้แก่ สินค้าแปรรูป เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2555 ในกรณีพื้นฐาน จีดีพีจะขยายตัว 4.3% หรือภายในกรอบประมาณการ 3.5-4.8% การบริโภคของประชาชนขยายตัว 2.8% หรือในกรอบที่ 2.4-3.3% การลงทุนขยายตัว 5.5% หรือในกรอบ 4.5-6% การส่งออกขยายตัว 5% หรือในกรอบ 2-8% ส่วนอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3% หรือในกรอบ 2.6-3.6%
อย่างไรก็ตาม ในกรณีวิกฤติที่ปัญหายุโรป เลวร้ายที่สุดและส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโลกอาจมีผลทำให้จีดีพีไทยในปี 55 ขยายตัวได้ที่ 1% การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเหลือ 1.3% การลงทุนขยายตัว 1.5% การส่งออกติดลบ 8% เงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 1.5%
นางวิวรรณ กล่าวด้วยว่า ในปี 2555 แนว โน้มธุรกิจไทยจะยังคงมีความหลากหลายของปัจจัยที่มากระทบ ซึ่งบางกลุ่มธุรกิจอาจได้รับประโยชน์จากนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเพิ่มรายได้ รวมทั้งการบูรณะฟื้นฟูความเสียหายจากอุทกภัยและโครงการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ อย่างไรก็ตาม ต้นทุนของธุรกิจยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นเช่นกันตามทิศทางราคาพลังงานในประเทศที่อาจสูงขึ้น ซึ่งคงต้อง มีการทยอยปรับขึ้น
สำหรับแนวโน้มเงินเฟ้อยังคงมีระดับที่ จะสูงขึ้น ซึ่งภาคครัวเรือนจะมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นจากปัญหาอุทกภัย ซึ่งอาจกระทบกำลังซื้อ ของผู้บริโภค ขณะที่แนวโน้มเงินทุนเคลื่อนย้ายเชื่อว่าจะยังคงเข้าสู่ภูมิภาคเอเชีย ซึ่งอาจทำให้อัตราแลกเปลี่ยนในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งค่าเงินบาทยังคงมีทิศทางที่แข็งค่าขึ้น
สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ของไทยในปี 55 อาจยังไม่ใช่ทิศทางขาลงอย่าง ชัดเจนและคาดว่าจะมีการปรับลดอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายลงอีกเล็กน้อยอีกประมาณ 0.25%
ด้านสภาพคล่องมีแนวโน้มตึงตัวขึ้น จากกิจกรรมการระดมเงินของหลายภาคส่วน โดยรัฐบาลมีความต้องการใช้เงินมากขึ้น เพื่อ ใช้ในการลงทุนระบบโครงสร้างต่างๆ ภาคเอกชนมีโอกาสการออกหุ้นกู้ใหม่เพื่อชดเชยรุ่นที่ครบกำหนดและมีแนวโน้มว่ามูลค่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เพื่อใช้เป็นสภาพคล่องของธุรกิจ ขณะที่ภาคธนาคารพาณิชย์ สินเชื่อจะยังคงเติบโตได้ค่อนข้างดีแม้จะมีความระมัดระวังมากขึ้น ทั้งนี้แหล่งที่มาของสภาพ คล่องต่างๆ อาจลดลง แต่เชื่อว่าธปท. จะยัง มีเครื่องมือบริหารจัดการสภาพคล่องในตลาด การเงินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้
ที่มา:
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2555 ในกรณีพื้นฐาน จีดีพีจะขยายตัว 4.3% หรือภายในกรอบประมาณการ 3.5-4.8% การบริโภคของประชาชนขยายตัว 2.8% หรือในกรอบที่ 2.4-3.3% การลงทุนขยายตัว 5.5% หรือในกรอบ 4.5-6% การส่งออกขยายตัว 5% หรือในกรอบ 2-8% ส่วนอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3% หรือในกรอบ 2.6-3.6%
อย่างไรก็ตาม ในกรณีวิกฤติที่ปัญหายุโรป เลวร้ายที่สุดและส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโลกอาจมีผลทำให้จีดีพีไทยในปี 55 ขยายตัวได้ที่ 1% การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเหลือ 1.3% การลงทุนขยายตัว 1.5% การส่งออกติดลบ 8% เงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 1.5%
นางวิวรรณ กล่าวด้วยว่า ในปี 2555 แนว โน้มธุรกิจไทยจะยังคงมีความหลากหลายของปัจจัยที่มากระทบ ซึ่งบางกลุ่มธุรกิจอาจได้รับประโยชน์จากนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเพิ่มรายได้ รวมทั้งการบูรณะฟื้นฟูความเสียหายจากอุทกภัยและโครงการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ อย่างไรก็ตาม ต้นทุนของธุรกิจยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นเช่นกันตามทิศทางราคาพลังงานในประเทศที่อาจสูงขึ้น ซึ่งคงต้อง มีการทยอยปรับขึ้น
สำหรับแนวโน้มเงินเฟ้อยังคงมีระดับที่ จะสูงขึ้น ซึ่งภาคครัวเรือนจะมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นจากปัญหาอุทกภัย ซึ่งอาจกระทบกำลังซื้อ ของผู้บริโภค ขณะที่แนวโน้มเงินทุนเคลื่อนย้ายเชื่อว่าจะยังคงเข้าสู่ภูมิภาคเอเชีย ซึ่งอาจทำให้อัตราแลกเปลี่ยนในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งค่าเงินบาทยังคงมีทิศทางที่แข็งค่าขึ้น
สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ของไทยในปี 55 อาจยังไม่ใช่ทิศทางขาลงอย่าง ชัดเจนและคาดว่าจะมีการปรับลดอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายลงอีกเล็กน้อยอีกประมาณ 0.25%
ด้านสภาพคล่องมีแนวโน้มตึงตัวขึ้น จากกิจกรรมการระดมเงินของหลายภาคส่วน โดยรัฐบาลมีความต้องการใช้เงินมากขึ้น เพื่อ ใช้ในการลงทุนระบบโครงสร้างต่างๆ ภาคเอกชนมีโอกาสการออกหุ้นกู้ใหม่เพื่อชดเชยรุ่นที่ครบกำหนดและมีแนวโน้มว่ามูลค่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เพื่อใช้เป็นสภาพคล่องของธุรกิจ ขณะที่ภาคธนาคารพาณิชย์ สินเชื่อจะยังคงเติบโตได้ค่อนข้างดีแม้จะมีความระมัดระวังมากขึ้น ทั้งนี้แหล่งที่มาของสภาพ คล่องต่างๆ อาจลดลง แต่เชื่อว่าธปท. จะยัง มีเครื่องมือบริหารจัดการสภาพคล่องในตลาด การเงินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้
ที่มา: