"หุ้น KMC เป็นหุ้นที่ตายก็ไม่ตายโตก็ไม่โต หนี้ก็มาก แต่ไม่ตาย ปัจจุบันใช้หนี้หมดแล้ว และกำลังเริ่มโต ซึ่งมีคนมองว่าหุ้นกฤษดาเหมือนแมว 9 ชีวิต ทั้งนี้เข้าสู่ยุคปัจจุบันซึ่งมีการแข่งขันสูง ดังนั้นจะต้องบริหารอย่างมืออาชีพและโปร่งใส"
หากพูดถึงแบรนด์ "กฤษดามหานคร" หรือ KMC หลายคนคงคุ้นหูและคุ้นตากับแบรนด์คุณภาพระดับไฮเอนด์ ที่แวดล้อมด้วยธรรมชาติ หลากหลายเกินจินตนาการ และมีทะเลสาบส่วนตัว โดยหลังบ้านแวดล้อมไปด้วยสวนสาธารณะใหญ่ อีกทั้งมีสนามกอล์ฟ ที่เหมาะสำหรับครอบครัวขนาดกลางและขนาดใหญ่ ที่ไม่เพียงแต่ต้องการคุณภาพแต่ยังต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน
ดังนั้นการกลับมาครั้งนี้ภายใต้การบริหารแบบมืออาชีพ โดยมี "วิรัตน์ เอี้ยวอักษร"กรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัทกฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน) หรือ KMC มือปืนรับจ้างมือหนึ่งของวงการอสังหาริมทรัพย์ที่จะมาปลุกแบรนด์ KMC ให้กลับมาเทิร์นอะราวนด์อีกครั้งอย่างมีคุณภาพ และพร้อมเติบโตอย่างมั่นคงปีละ 20% ซึ่งหมายความว่าการกลับมาครั้งนี้"วิรัตน์" การันตีว่าหุ้น KMC จะต้อง Growth แน่นอน และพร้อมพิสูจน์ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นด้วยใจเกินร้อย
หากพูดถึงแบรนด์ "กฤษดามหานคร" หรือ KMC หลายคนคงคุ้นหูและคุ้นตากับแบรนด์คุณภาพระดับไฮเอนด์ ที่แวดล้อมด้วยธรรมชาติ หลากหลายเกินจินตนาการ และมีทะเลสาบส่วนตัว โดยหลังบ้านแวดล้อมไปด้วยสวนสาธารณะใหญ่ อีกทั้งมีสนามกอล์ฟ ที่เหมาะสำหรับครอบครัวขนาดกลางและขนาดใหญ่ ที่ไม่เพียงแต่ต้องการคุณภาพแต่ยังต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน
ดังนั้นการกลับมาครั้งนี้ภายใต้การบริหารแบบมืออาชีพ โดยมี "วิรัตน์ เอี้ยวอักษร"กรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัทกฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน) หรือ KMC มือปืนรับจ้างมือหนึ่งของวงการอสังหาริมทรัพย์ที่จะมาปลุกแบรนด์ KMC ให้กลับมาเทิร์นอะราวนด์อีกครั้งอย่างมีคุณภาพ และพร้อมเติบโตอย่างมั่นคงปีละ 20% ซึ่งหมายความว่าการกลับมาครั้งนี้"วิรัตน์" การันตีว่าหุ้น KMC จะต้อง Growth แน่นอน และพร้อมพิสูจน์ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นด้วยใจเกินร้อย
เปิดใจ
วิรัตน์ เอี้ยวอักษร ย้อนความให้ฟังว่า บริษัทก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2525 โดยใช้ชื่อเมื่อเริ่มจัดตั้งว่า บริษัท เครดิตกฤษดาการลงทุน จำกัด และได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท กฤษดามหานคร จำกัด ในเดือนมกราคม 2527 โดยมีทุนจดทะเบียนเมื่อเริ่มจัดตั้ง 1 ล้านบาท และบริษัทได้เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2534 และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท กฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน) ในวันที่ 14 มิถุนายน 2536
กลยุทธ์การตลาด
สำหรับกลยุทธ์ที่สำคัญจะต้องพัฒนารูปแบบของโครงการ และที่อยู่อาศัยภายในโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค โดยการทำการวิจัยและศึกษาถึงแนวโน้มและความต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนทำการวิเคราะห์ทำเล ที่ตั้ง ที่มีศักยภาพ ก่อนที่จะมีการลงทุนอย่างสมบูรณ์แบบเพื่อพัฒนาโครงการต่อไปในอนาคต
กลุ่มเป้าหมาย
ดังนั้นกลุ่มเป้าหมายของบริษัทจึงเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ตั้งแต่ระดับกลางไปจนถึงระดับบนโดยมีสัดส่วนของลูกค้าระดับบนร้อยละ 40 และระดับกลางร้อยละ 60 เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้ออย่างต่อเนื่อง
จุดขาย-ปลุกแคมเปญ
ส่วนจุดขายของกฤษดาในอนาคตจะต้องสู้กันที่ความหลากหลาย โดยจะต้องจับกลุ่มลูกค้าให้หลากหลายมากขึ้น ซึ่งหากจับตลาดไฮเอนด์อย่างเดียวจะต้องใช้ทุนมาก โดยตลาดบนในปัจจุบันแทบจะหาช่องแทรกลำบาก เนื่องจากมีคู่แข่งเข้ามาทำกันมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะทิ้งแต่จะต้องหาช่องว่าง เพื่อให้เกิดประโยชน์และเข้าไปแชร์ส่วนแบ่งนั้นให้ได้ และด้วยจุดเด่นของทำเลที่ตั้งโครงการ และการออกแบบสินค้าให้ดูโดดเด่นสวยงาม และคุณภาพสินค้ารวมถึงการบริการหลังการขายอย่างต่อเนื่อง ทำให้โครงการของกฤษดาประสบความสำเร็จทั้งในด้านยอดขายการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า จนเป็นผู้ประกอบการระดับแถวหน้า ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง และการบุกตลาดอสังหาครั้งนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรุกการตลาดให้มากขึ้นด้วย "แคมเปญ" เข้ามาเป็นตัวช่วย แต่ขณะเดียวกันต้องมีสินค้าที่หลากหลายและคุ้มกับการที่จะทำ "แคมเปญ" โดยธุรกิจอสังหาขึ้นอยู่กับอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศเป็นหลัก
เจาะไลฟ์สไตล์
ในส่วนของตลาดอสังหาเติบโตทุกปี โดยขึ้นอยู่กับอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งหากเศรษฐกิจดี คอนโดจะขายดี โดยคนที่มีคอนโด กลุ่มอายุประมาณ 28-35 ปี แต่เมื่อเริ่มมีครอบครัวไลฟ์ไตล์จะเปลี่ยนโดยอยากมีบ้านเดี่ยว เปรียบเหมือนวัฎจักรแต่ถ้าไม่มีสิ่งใดมากระทบกระเทือนตลาดอสังหาจะโตทุกปี เฉลี่ยโตปีละ 10%
วิรัตน์ฉายภาพตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี2556 ว่า ตลาดจะกลับมาเติบโตอีกครั้ง เนื่องจากคนช็อก เรื่องน้ำท่วม ซึ่งหากปีนี้น้ำไม่ท่วม จะทำให้ปี 2556 แนวราบจะกลับมาบูมอีกครั้ง และคอนโดจะเป็นจุดเปลี่ยนที่คนยุคใหม่จะซื้อเพิ่มขึ้นทั้งนี้ จุดที่จะขายได้ดีจะเป็นแถบรถไฟฟ้า
ฉายอนาคต
ดังนั้นในปี 2555 บริษัทคาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 600-700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ที่มีรายได้ 400 กว่าล้านบาท เนื่องจากบริษัทจะเปิดขายโครงการคอนโดมิเนียมที่ซอยรัชดาภิเษก 17 อีกจำนวน 2 อาคาร มูลค่าขายรวม 800 ล้านบาท ภายในไตรมาส 3/2555 และปัจจุบันยังเปิดขายอยู่ 2 อาคาร รวมทั้งยังมีโครงการแนวราบที่ยังเปิดขายอยู่ 3 โครงการ ซึ่งส่วนใหญ่ยังก่อสร้างไม่เสร็จเพราะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม
"ทั้งนี้คาดว่าในปี 2556 บริษัทจะเริ่มกลับมามีกำไร และจะเห็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในปี 2557 เนื่องจากบริษัทมีแผนเปิดโครงการใหม่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม แบบ Low Rise ซึ่งบริษัทตั้งเป้ารายได้ในปี 2556-2557 จะทำได้เฉลี่ยปีละประมาณ 1 พันล้านบาท โดยจะมีสัดส่วนรายได้จากการขายคอนโดมิเนียมจะเพิ่มเป็น 70% และโครงการแนวราบ 30%จากปีนี้ที่คาดว่าจะมีสัดส่วน 50%"
ไต่อันดับ TOP 5
วิรัตน์บอกอีกว่า ในอีก 3-5 ปี จากนี้ไป KMC จะก้าวขึ้น TOP 5 ดังนั้นเราต้องแข่งกับตัวเองก่อน โดยตั้งยอดขายในปี 2556-57 จะต้องก้าวกระโดด 100% โดยปี 2557 จะต้องเติบโตเพิ่มจากปี 56 อีก 100% แต่สุดท้ายแล้วควรจะต้อง Growth แบบยั่งยืนไม่ต่ำกว่า 20% เนื่องจากหากไม่คิดโต 20% นั่นแสดงว่าเราโตพร้อมตลาดเพราะตลาดอสังหาปีหนึ่งจะโตประมาณ 10% ดังนั้นก่อนอื่นจะต้องเข้าไปให้สามารถทำยอดขายประมาณ 3,000 ล้านบาทขึ้นไป แล้วเราจะโตปีละ 20%ถึงตรงนั้นตัวเลขเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดทิศทางว่าใครอยู่อันดับใด
"แต่หากเราฝันว่าภายใน 3 ปี ต้องอยู่ที่ 1 ใน 5 อันดับ นั่นแสดงว่าจะต้องใช้ทุนมหาศาลเป็นหมื่นล้านบาท เนื่องจากยอดขายจะขายได้ต้องขายไม่ต่ำก่วา 20,000 ล้านบาท จึงจะเป็น 1 ในTOP 5 ซึ่งหากขายได้ประมาณ 30,000 ล้านบาทจะต้องมีเงินกองทุนประมาณ 10,000 ล้านบาท"
สภาพคล่อง KMC
ในส่วนของสภาพคล่องหุ้น KMC วิรัตน์บอกว่ามีหุ้นฟรีโฟลตมากในตลาด เนื่องจากสรุปแล้วไม่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือแม้แต่การเพิ่มทุนที่ผ่านมาก็ไม่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งผู้ถือหุ้นรายเดิมที่ให้ความไว้วางใจ ทำให้วันที่ประชุมครั้งแรกเกิดความไม่เข้าใจกัน แต่หลังจากที่ชี้แจงแล้วผู้ถือหุ้นเข้าใจทำให้จำนวนหุ้นที่เพิ่ม 2,020 ล้านหุ้น ยอดที่จองทั้งหมดกว่า 2,600 ล้านหุ้น จนกระทั่งต้องคืนเงินและนั่นแสดงว่ารายย่อยมั่นใจในตัวกฤษดา
แมว 9 ชีวิต
"หุ้น KMC เป็นหุ้นที่ตายก็ไม่ตาย โตก็ไม่โตหนี้ก็มากแต่ไม่ตาย ปัจจุบันใช้หนี้หมดแล้ว และกำลังเริ่มโต โดยมีคนมองว่าหุ้นกฤษดาเหมือนแมว 9 ชีวิต ทั้งนี้เข้าสู่ยุคปัจจุบันซึ่งมีการแข่งขันสูง ดังนั้นจะต้องบริหารอย่างมืออาชีพ และโปร่งใส ไม่เช่นนั้นจะไปขอผู้ถือหุ้นมาช่วยหรือลงทุนคงไม่ได้ ทั้งนี้เราจะต้องมีผลงานให้เห็น"
เทิร์นอะราวนด์
และการเพิ่มทุนครั้งนี้ KMC จะต้องพยายาม"เทิร์นอะราวนด์"ให้ได้ และต้องเติบโตปีละ 20% ดังนั้นการใช้หนี้หมดและปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นในอดีตการกู้สถาบันการเงินไม่ได้เนื่องจากตกอยู่ในภาพของกลุ่มกฤษดา โดยปัจจุบันหากเราสามารถพิสูจน์ให้เห็นว่าเราเป็นผู้บริหารกลุ่มใหม่เป็นผู้บริหารมืออาชีพ ดังนั้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาพิสูจน์
ดังนั้นภายใต้การบริหาร วิรัตน์บอกว่าจุดเปลี่ยนในอนาคตควรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งอย่างพร้อมกัน โดยจะต้องเปลี่ยนจากข้างในองค์กรเป็นอันดับแรก นั่นคือ การบริหารทุกอย่างต้องเป็นลักษณะ "มืออาชีพ" มากขึ้นและโปร่งใสมากยิ่งขึ้นเช่นกัน และหากถามว่าศักยภาพของคนกฤษดามีหรือไม่ ต้องตอบว่ามีเนื่องจากเราทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มา 30 ปีโดยพนักงานเก่าๆ มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญสูง เพียงแต่ต้องปรับสภาพการทำงาน ปรับวิธีคิดใหม่ จึงจะสามารถเดินต่อไปได้อย่างมั่นคง ซึ่งคงต้องใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน จึงจะสามารถลงตัว ดังนั้นจึงอยากปรับจากข้างในองค์กรก่อนแล้วจึงจะมาเปลี่ยนข้างนอก
Growth แน่นอน
วิรัตน์บอกว่าการเทิร์นอะราวนด์ครั้งนี้ของ KMC แม้จะไม่กล้าคิดเรื่องมาร์เก็ตแชร์ แต่ในอนาคตซึ่งหมายถึงหลังจากปี 2556 จะได้เห็นมาร์เก็ตแชร์ที่ 5-6% ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าจะสมเหตุสมผลสำหรับกฤษดา ทั้งนี้ KMC จะต้องGrowth แน่นอน
พร้อมโตปีละ 20%
"ดังนั้นภารกิจจากนี้ไปคงต้องมีการปรับเปลี่ยนให้พร้อมที่จะก้าวอย่างมั่นคง และปรับในด้านรูปแบบรวมทั้งโปรดักต์ต่างๆ ให้ตรงกับความต้องการของตลาด ส่วนการปรับในเรื่องของการทำงานและการบริหาร เนื่องจากเราเงียบไปนาน ดังนั้นจำเป็นจะต้องดึงจุดแข็งของโปรดักต์ของเรา และจุดแข็งขององค์กรออกมาให้เห็น ซึ่งต้องสร้างความแตกต่างให้เห็นอย่างชัดเจน"
ปัจจัยเสี่ยง
สำหรับปัจจัยเสี่ยงของอนาคต เป็นความเสี่ยงด้านธุรกิจ เนื่องจากความเสี่ยงในด้านการบริหารหรือความเสี่ยงของโครงสร้างภายในองค์กรหมดไปแล้ว ดังนั้นในอนาคตจะเป็นความเสี่ยงทางด้านการตลาด การลงทุน ซึ่งเมื่อมีเงินลงทุนน้อยสิ่งหนึ่งที่จะต้องมองคือ"ทำเล" ทั้งนี้การซื้อที่ดินมาแล้วรอการเติบโตคงไม่ได้ ดังนั้นอาจจะต้องซื้อของแพง แต่จะต้องขายออกให้เร็ว
ชูคุณภาพ-ใจเกินร้อย
วิรัตน์ทิ้งท้ายถึงภารกิจกลับมาเทิร์นอะราวนด์ครั้งนี้ว่า มาด้วยใจที่จะต่อสู้ โดยพกความมั่นใจมาเกินร้อยว่าทำได้แน่นอน และที่ผ่านมาแม้จะล้มลุกคลุกคลานแต่กฤษดายังไม่ตาย ดังนั้นการกลับมาครั้งนี้จึงขอเป็น "ขุนศึก" โดยอยากรบให้เห็นก่อน และพร้อมพิสูจน์ให้เห็นถึงฝีมือและความมุ่งมั่นโดยมีแบรนด์"กฤษดามหานคร"เป็นเครื่องการันตีคุณภาพ
ที่มา: หนังสือพิมพ์ทันหุ้น
วิรัตน์ เอี้ยวอักษร ย้อนความให้ฟังว่า บริษัทก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2525 โดยใช้ชื่อเมื่อเริ่มจัดตั้งว่า บริษัท เครดิตกฤษดาการลงทุน จำกัด และได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท กฤษดามหานคร จำกัด ในเดือนมกราคม 2527 โดยมีทุนจดทะเบียนเมื่อเริ่มจัดตั้ง 1 ล้านบาท และบริษัทได้เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2534 และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท กฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน) ในวันที่ 14 มิถุนายน 2536
กลยุทธ์การตลาด
สำหรับกลยุทธ์ที่สำคัญจะต้องพัฒนารูปแบบของโครงการ และที่อยู่อาศัยภายในโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค โดยการทำการวิจัยและศึกษาถึงแนวโน้มและความต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนทำการวิเคราะห์ทำเล ที่ตั้ง ที่มีศักยภาพ ก่อนที่จะมีการลงทุนอย่างสมบูรณ์แบบเพื่อพัฒนาโครงการต่อไปในอนาคต
กลุ่มเป้าหมาย
ดังนั้นกลุ่มเป้าหมายของบริษัทจึงเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ตั้งแต่ระดับกลางไปจนถึงระดับบนโดยมีสัดส่วนของลูกค้าระดับบนร้อยละ 40 และระดับกลางร้อยละ 60 เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้ออย่างต่อเนื่อง
จุดขาย-ปลุกแคมเปญ
ส่วนจุดขายของกฤษดาในอนาคตจะต้องสู้กันที่ความหลากหลาย โดยจะต้องจับกลุ่มลูกค้าให้หลากหลายมากขึ้น ซึ่งหากจับตลาดไฮเอนด์อย่างเดียวจะต้องใช้ทุนมาก โดยตลาดบนในปัจจุบันแทบจะหาช่องแทรกลำบาก เนื่องจากมีคู่แข่งเข้ามาทำกันมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะทิ้งแต่จะต้องหาช่องว่าง เพื่อให้เกิดประโยชน์และเข้าไปแชร์ส่วนแบ่งนั้นให้ได้ และด้วยจุดเด่นของทำเลที่ตั้งโครงการ และการออกแบบสินค้าให้ดูโดดเด่นสวยงาม และคุณภาพสินค้ารวมถึงการบริการหลังการขายอย่างต่อเนื่อง ทำให้โครงการของกฤษดาประสบความสำเร็จทั้งในด้านยอดขายการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า จนเป็นผู้ประกอบการระดับแถวหน้า ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง และการบุกตลาดอสังหาครั้งนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรุกการตลาดให้มากขึ้นด้วย "แคมเปญ" เข้ามาเป็นตัวช่วย แต่ขณะเดียวกันต้องมีสินค้าที่หลากหลายและคุ้มกับการที่จะทำ "แคมเปญ" โดยธุรกิจอสังหาขึ้นอยู่กับอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศเป็นหลัก
เจาะไลฟ์สไตล์
ในส่วนของตลาดอสังหาเติบโตทุกปี โดยขึ้นอยู่กับอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งหากเศรษฐกิจดี คอนโดจะขายดี โดยคนที่มีคอนโด กลุ่มอายุประมาณ 28-35 ปี แต่เมื่อเริ่มมีครอบครัวไลฟ์ไตล์จะเปลี่ยนโดยอยากมีบ้านเดี่ยว เปรียบเหมือนวัฎจักรแต่ถ้าไม่มีสิ่งใดมากระทบกระเทือนตลาดอสังหาจะโตทุกปี เฉลี่ยโตปีละ 10%
วิรัตน์ฉายภาพตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี2556 ว่า ตลาดจะกลับมาเติบโตอีกครั้ง เนื่องจากคนช็อก เรื่องน้ำท่วม ซึ่งหากปีนี้น้ำไม่ท่วม จะทำให้ปี 2556 แนวราบจะกลับมาบูมอีกครั้ง และคอนโดจะเป็นจุดเปลี่ยนที่คนยุคใหม่จะซื้อเพิ่มขึ้นทั้งนี้ จุดที่จะขายได้ดีจะเป็นแถบรถไฟฟ้า
ฉายอนาคต
ดังนั้นในปี 2555 บริษัทคาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 600-700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ที่มีรายได้ 400 กว่าล้านบาท เนื่องจากบริษัทจะเปิดขายโครงการคอนโดมิเนียมที่ซอยรัชดาภิเษก 17 อีกจำนวน 2 อาคาร มูลค่าขายรวม 800 ล้านบาท ภายในไตรมาส 3/2555 และปัจจุบันยังเปิดขายอยู่ 2 อาคาร รวมทั้งยังมีโครงการแนวราบที่ยังเปิดขายอยู่ 3 โครงการ ซึ่งส่วนใหญ่ยังก่อสร้างไม่เสร็จเพราะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม
"ทั้งนี้คาดว่าในปี 2556 บริษัทจะเริ่มกลับมามีกำไร และจะเห็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในปี 2557 เนื่องจากบริษัทมีแผนเปิดโครงการใหม่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม แบบ Low Rise ซึ่งบริษัทตั้งเป้ารายได้ในปี 2556-2557 จะทำได้เฉลี่ยปีละประมาณ 1 พันล้านบาท โดยจะมีสัดส่วนรายได้จากการขายคอนโดมิเนียมจะเพิ่มเป็น 70% และโครงการแนวราบ 30%จากปีนี้ที่คาดว่าจะมีสัดส่วน 50%"
ไต่อันดับ TOP 5
วิรัตน์บอกอีกว่า ในอีก 3-5 ปี จากนี้ไป KMC จะก้าวขึ้น TOP 5 ดังนั้นเราต้องแข่งกับตัวเองก่อน โดยตั้งยอดขายในปี 2556-57 จะต้องก้าวกระโดด 100% โดยปี 2557 จะต้องเติบโตเพิ่มจากปี 56 อีก 100% แต่สุดท้ายแล้วควรจะต้อง Growth แบบยั่งยืนไม่ต่ำกว่า 20% เนื่องจากหากไม่คิดโต 20% นั่นแสดงว่าเราโตพร้อมตลาดเพราะตลาดอสังหาปีหนึ่งจะโตประมาณ 10% ดังนั้นก่อนอื่นจะต้องเข้าไปให้สามารถทำยอดขายประมาณ 3,000 ล้านบาทขึ้นไป แล้วเราจะโตปีละ 20%ถึงตรงนั้นตัวเลขเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดทิศทางว่าใครอยู่อันดับใด
"แต่หากเราฝันว่าภายใน 3 ปี ต้องอยู่ที่ 1 ใน 5 อันดับ นั่นแสดงว่าจะต้องใช้ทุนมหาศาลเป็นหมื่นล้านบาท เนื่องจากยอดขายจะขายได้ต้องขายไม่ต่ำก่วา 20,000 ล้านบาท จึงจะเป็น 1 ในTOP 5 ซึ่งหากขายได้ประมาณ 30,000 ล้านบาทจะต้องมีเงินกองทุนประมาณ 10,000 ล้านบาท"
สภาพคล่อง KMC
ในส่วนของสภาพคล่องหุ้น KMC วิรัตน์บอกว่ามีหุ้นฟรีโฟลตมากในตลาด เนื่องจากสรุปแล้วไม่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือแม้แต่การเพิ่มทุนที่ผ่านมาก็ไม่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งผู้ถือหุ้นรายเดิมที่ให้ความไว้วางใจ ทำให้วันที่ประชุมครั้งแรกเกิดความไม่เข้าใจกัน แต่หลังจากที่ชี้แจงแล้วผู้ถือหุ้นเข้าใจทำให้จำนวนหุ้นที่เพิ่ม 2,020 ล้านหุ้น ยอดที่จองทั้งหมดกว่า 2,600 ล้านหุ้น จนกระทั่งต้องคืนเงินและนั่นแสดงว่ารายย่อยมั่นใจในตัวกฤษดา
แมว 9 ชีวิต
"หุ้น KMC เป็นหุ้นที่ตายก็ไม่ตาย โตก็ไม่โตหนี้ก็มากแต่ไม่ตาย ปัจจุบันใช้หนี้หมดแล้ว และกำลังเริ่มโต โดยมีคนมองว่าหุ้นกฤษดาเหมือนแมว 9 ชีวิต ทั้งนี้เข้าสู่ยุคปัจจุบันซึ่งมีการแข่งขันสูง ดังนั้นจะต้องบริหารอย่างมืออาชีพ และโปร่งใส ไม่เช่นนั้นจะไปขอผู้ถือหุ้นมาช่วยหรือลงทุนคงไม่ได้ ทั้งนี้เราจะต้องมีผลงานให้เห็น"
เทิร์นอะราวนด์
และการเพิ่มทุนครั้งนี้ KMC จะต้องพยายาม"เทิร์นอะราวนด์"ให้ได้ และต้องเติบโตปีละ 20% ดังนั้นการใช้หนี้หมดและปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นในอดีตการกู้สถาบันการเงินไม่ได้เนื่องจากตกอยู่ในภาพของกลุ่มกฤษดา โดยปัจจุบันหากเราสามารถพิสูจน์ให้เห็นว่าเราเป็นผู้บริหารกลุ่มใหม่เป็นผู้บริหารมืออาชีพ ดังนั้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาพิสูจน์
ดังนั้นภายใต้การบริหาร วิรัตน์บอกว่าจุดเปลี่ยนในอนาคตควรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งอย่างพร้อมกัน โดยจะต้องเปลี่ยนจากข้างในองค์กรเป็นอันดับแรก นั่นคือ การบริหารทุกอย่างต้องเป็นลักษณะ "มืออาชีพ" มากขึ้นและโปร่งใสมากยิ่งขึ้นเช่นกัน และหากถามว่าศักยภาพของคนกฤษดามีหรือไม่ ต้องตอบว่ามีเนื่องจากเราทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มา 30 ปีโดยพนักงานเก่าๆ มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญสูง เพียงแต่ต้องปรับสภาพการทำงาน ปรับวิธีคิดใหม่ จึงจะสามารถเดินต่อไปได้อย่างมั่นคง ซึ่งคงต้องใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน จึงจะสามารถลงตัว ดังนั้นจึงอยากปรับจากข้างในองค์กรก่อนแล้วจึงจะมาเปลี่ยนข้างนอก
Growth แน่นอน
วิรัตน์บอกว่าการเทิร์นอะราวนด์ครั้งนี้ของ KMC แม้จะไม่กล้าคิดเรื่องมาร์เก็ตแชร์ แต่ในอนาคตซึ่งหมายถึงหลังจากปี 2556 จะได้เห็นมาร์เก็ตแชร์ที่ 5-6% ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าจะสมเหตุสมผลสำหรับกฤษดา ทั้งนี้ KMC จะต้องGrowth แน่นอน
พร้อมโตปีละ 20%
"ดังนั้นภารกิจจากนี้ไปคงต้องมีการปรับเปลี่ยนให้พร้อมที่จะก้าวอย่างมั่นคง และปรับในด้านรูปแบบรวมทั้งโปรดักต์ต่างๆ ให้ตรงกับความต้องการของตลาด ส่วนการปรับในเรื่องของการทำงานและการบริหาร เนื่องจากเราเงียบไปนาน ดังนั้นจำเป็นจะต้องดึงจุดแข็งของโปรดักต์ของเรา และจุดแข็งขององค์กรออกมาให้เห็น ซึ่งต้องสร้างความแตกต่างให้เห็นอย่างชัดเจน"
ปัจจัยเสี่ยง
สำหรับปัจจัยเสี่ยงของอนาคต เป็นความเสี่ยงด้านธุรกิจ เนื่องจากความเสี่ยงในด้านการบริหารหรือความเสี่ยงของโครงสร้างภายในองค์กรหมดไปแล้ว ดังนั้นในอนาคตจะเป็นความเสี่ยงทางด้านการตลาด การลงทุน ซึ่งเมื่อมีเงินลงทุนน้อยสิ่งหนึ่งที่จะต้องมองคือ"ทำเล" ทั้งนี้การซื้อที่ดินมาแล้วรอการเติบโตคงไม่ได้ ดังนั้นอาจจะต้องซื้อของแพง แต่จะต้องขายออกให้เร็ว
ชูคุณภาพ-ใจเกินร้อย
วิรัตน์ทิ้งท้ายถึงภารกิจกลับมาเทิร์นอะราวนด์ครั้งนี้ว่า มาด้วยใจที่จะต่อสู้ โดยพกความมั่นใจมาเกินร้อยว่าทำได้แน่นอน และที่ผ่านมาแม้จะล้มลุกคลุกคลานแต่กฤษดายังไม่ตาย ดังนั้นการกลับมาครั้งนี้จึงขอเป็น "ขุนศึก" โดยอยากรบให้เห็นก่อน และพร้อมพิสูจน์ให้เห็นถึงฝีมือและความมุ่งมั่นโดยมีแบรนด์"กฤษดามหานคร"เป็นเครื่องการันตีคุณภาพ
ที่มา: หนังสือพิมพ์ทันหุ้น