ภายหลังที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการปรับตัวของภาคเอกชนและหน่วยงานรัฐบาลเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเปิดประชาคมเศราฐกิจอาเซี่ยน (AEC) ให้เป็นวาระแห่งชาติ ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวของภาคเอกชนและรัฐบาลในการปรับตัวรับมือกับการเปิด AEC ที่กำลังจะเริ่มขึ้นในปี 2558 ที่จะมาถึงนี้ โดยเฉพาะในส่วนของภาคเอกชนที่ประกอบธุรกิจก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และวัสดุก่อสร้าง ซึ่งมีการปรับตัวในรอบด้านเพื่อรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปรับโครงสร้างองค์กร การเพิ่มมูลค่าสินค้า การลดต้นทุนการผลิต และการเตรียมความพร้อมด้านแรงงาน ฯลฯ
ล่าสุด ASTV ผู้จัดการมีโอกาสได้ พูดคุยกับผู้บริหารบริษัทวัสดุก่อสร้างกลุ่มกระเบื้องปูพื้น บุผนัง “โสสุโก้” บริษัทในเครือปูนซิมเม็นต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG พบว่าเป็นอีกบริษัทขนาดใหญ่ที่มีการเตรียมความพร้อมในหลายๆด้าน โดยเฉพาะในด้านการลดต้นทุนและการปรับตัวรองรับการทำงานร่วมกันของบุคคลากรในองกรค์ที่จะเข้ามร่วมงานกันภายหลังการเปิด AEC โดยนายกิตติชัย ไกรก่อกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โสสุโก้ แอนด์ กรุ๊ป (2008)จำกัด กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมรับมือในด้านการเพิ่มคุณภาพตัวสินค้าและการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้านั้น บริษัทได้มีการปรับตัวมาระยะหนึ่งแล้วทำให้สินค้าของบริษัทเป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภคในกลุ่มประเทศอาเซี่ยน ทั้งในด้านรูปแบบ, ดีไซน์,คุณภาพ และราคาขาย
ส่วนในด้านการแข่งขันของตลาดในประเทศและต่างประเทศนั้น เชื่อว่าการแข่งขันในด้านราคานั้นจะเกิดขึ้นบ้าง แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อสินค้าของบริษัท เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบคุณภาพและมาตรฐานสินค้าแล้วผู้บริโภคในกลุ่มประเทศอาเซี่ยนให้ความสำคัญกับเรื่องของคุณภาพและดีไซน์มากกว่าราคา เนื่องจากเทคโนโลยีในการผลิตต่างๆ นั้นปัจจุบันหากเปรียบเทียบกันระหว่างผู้ผลิตจำหน่าย ในประเทศและต่างประเทศไม่ทิ้งห่างกันมากนัก ดังนั้นความสำคัญในเรื่องของการคุมต้นทุนเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ เพื่อรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นหลังปี 2558 บริษัทมีแผนจะใช้งบประมาณ1,400 ล้านบาทในการลงทุนปรับปรุงคุณภาพเครื่องจักรและการผลิต เพื่อช่วยลดต้นทุนด้านการใช้พลังงานให่ต่ำลง เนื่องจากแนวโน้มต้นทุนด้านพลังงานนั้นมีการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในส่วนนี้จะทำให้เกิดผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตในอนาคตได้ นอกจากนี้ยังมีแผนการเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับการขยายการส่งออกของบริษัทภายหลังปี2557 ด้วยโดยจะใช้งบประมาณ200-300ล้านบาทในการขยายโรงงานแพิ่มกำลังการผลิตสินค้า เพื่อให้มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 52ล้านตารางเมตร(ตร.ม.)ต่อปี จากปัจจุบันมีกำลังการผลิตที่ 48 ล้าน ตร.ม
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ต้องมีการปรับตัวรองรับ การเปิด AEC คือ การหลอมรวมวัฒนะธรรมในการทำงานร่วมกันของบุคคลากรในองค์กรในอานคต เนื่องจากจะมีการไหลเข้าออกและการทำงานร่วมกันของแรงงานฝีมือ และบุคคลกรมากขึ้น และเพื่อเป็นการสร้างการเติบโตในตลาดต่างประเทศมากขึ้น บริษัทได้ จับมือกับพันธมิตรทางการค้าโดยให้บริษัท สุริยาสยาม เคอร์รามิค ทำให้ที่ดูแลด้านการตลาดในประเทศอินโดนีเซีย และบริษัท บาลิวาซา เป็นตัวแทนดูแลดารขายในประเทศฟิลิบปินส์ นอกจากนี้ในอนาคตยังมีแผนจะขยายตลาดด้วยการควบรวมบริษัทต่างชาติในการขยายตลาดด้วย
นายสัญชัย เนื่องสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บิวเดอสมาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ BSM หนึ่งในผู้นำบริษัทผู้ดำเนินธุรกิจและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ก่อสร้างและตกแต่งภายในคุณภาพสูงแบบครบวงจร เปิดเผยว่า ในอีก 3 ปีข้างหน้า AEC เปิดเรามองว่าถ้าประเทศทีมีความความแข็งแกร่งมีศักยภาพด้านไหนจะได้รับผลประโยชน์มาก เช่นเดียวกับในประเทศไทยเองที่เรามีความแข็งแกร่งในด้านวัสดุก่อสร้างเราก็จะได้เปรียบ เนื่องจากเรามีโนฮาวด์ และโรงงานในการผลิต ซึ่งมันก็จะเป็นการตอบโจทย์ที่ดีได้ของบริษัทฯ เรา เนื่องจากเรามีฐานการผลิตเอง
โดยสินค้าที่จะนำไปยิปซัมจะเป็นคอมมอนิตี้มอโปรดักซ์ที่เราจะส่งออกไปยังประเทศ ๆ แต่อย่างไรก็ตามเราต้องยอมรับว่าในส่วนของผู้รับเหมาเราคงต้องใช้ในต่างประเทศในการติดตั้ง ขณะที่เฟสเชอร์เรามีดีไซด์ที่ดีและขนส่งง่าย ทั้งนี้ในอนาคตกลยุทธที่จะใช้กับ AEC เราจะรุกหาพาร์ทเนอร์ในแต่ละประเทศ ซึ่งขณะนี้มีติดต่อเข้ามาหลายรายแล้ว โดยพาร์ทเนอร์ที่จะเข้ามาจะต้องได้รับการอบรมจากบริษัทเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับการติดตั้ง โดยเราจะเป็นฐานการผลิตในประเทศไทย
ด้านนายสิทธิพร สุวรรณสุต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีดีเฮ้าส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ พีดีเฮ้าส์ กล่าวว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ มีการปรับตัวเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปิดเAECที่จะถึงนี้ จากเดิมดำเนินธุรกิจรับสร้างบ้านโดย ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอปบริษัทเดียว แต่ปัจจุบันมีการแตกตัวออกเป็น 11 บริษัท ดำเนินกิจการ 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ 1.ธุรกิจรับสร้างบ้าน 2.ธุรกิจบริหารสิทธิ์แฟรนไชส์ และ 3.ธุรกิจตัวแทนจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง
โดยในช่วงที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้มีการปรับโครงสร้างการบริหารงานและแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง พร้อมมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบและบริหารงานทั้ง 11 บริษัท + 20 แฟรนไชส์ โดยมีเป้าหมายที่จะมุ่งดำเนินธุรกิจไปในทิศทางเดียวกัน แบ่งออกเป็น 5 สายงานหลัก ประกอบด้วย สายงานธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise Business) สายงานการตลาด (Marketing) สายงานทรัพยากรและบุคคล (Human & Resource) สายงานออกแบบและวิศวกรรม (Engineer & Design) และสายงานมาตรฐานแฟรนไชส์ (Franchise Standard Controller)
นายพิศาล ธรรมวิเศษ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวว่า อยากชี้ให้เห็นว่าการปรับตัวของผู้ประกอบการนั้น ไม่ใช่เพียงแค่การพูดคุยหรือจัดเวทีสัมมนากันเท่านั้น หากแต่ผู้ประกอบการจะต้องมีการขับเคลื่อนจากแผนงานไปสู่การปฏิบัติจริงแล้ว โดยเฉพาะบริษัทรับสร้างบ้านรายกลางและรายเล็ก เพราะหากยังไม่มีทิศทางการปรับตัวเองที่ชัดเจน เมื่อเปิดสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีเต็มรูปแบบจะเสียเปรียบรายใหญ่มาก หรืออาจไม่มีที่ยืนบนเวทีธุรกิจรับสร้างบ้านอีกต่อไป เพราะบนเวทีการแข่งขันใหม่ภายใต้กรอบเออีซี กติกาจะเอื้อเฉพาะรายใหญ่หรือรายที่เข้มแข็งกว่าเท่านั้น บริษัทรับสร้างบ้านรายกลางรายเล็ก จึงควรเร่งปรับตัวในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ 2 ปี 6 เดือนโดยเร็ว เพื่อสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางการค้าที่จะเกิดขึ้นได้ทัน
ที่มา : ASTV ผู้จัดการออนไลน์
ส่วนในด้านการแข่งขันของตลาดในประเทศและต่างประเทศนั้น เชื่อว่าการแข่งขันในด้านราคานั้นจะเกิดขึ้นบ้าง แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อสินค้าของบริษัท เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบคุณภาพและมาตรฐานสินค้าแล้วผู้บริโภคในกลุ่มประเทศอาเซี่ยนให้ความสำคัญกับเรื่องของคุณภาพและดีไซน์มากกว่าราคา เนื่องจากเทคโนโลยีในการผลิตต่างๆ นั้นปัจจุบันหากเปรียบเทียบกันระหว่างผู้ผลิตจำหน่าย ในประเทศและต่างประเทศไม่ทิ้งห่างกันมากนัก ดังนั้นความสำคัญในเรื่องของการคุมต้นทุนเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ เพื่อรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นหลังปี 2558 บริษัทมีแผนจะใช้งบประมาณ1,400 ล้านบาทในการลงทุนปรับปรุงคุณภาพเครื่องจักรและการผลิต เพื่อช่วยลดต้นทุนด้านการใช้พลังงานให่ต่ำลง เนื่องจากแนวโน้มต้นทุนด้านพลังงานนั้นมีการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในส่วนนี้จะทำให้เกิดผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตในอนาคตได้ นอกจากนี้ยังมีแผนการเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับการขยายการส่งออกของบริษัทภายหลังปี2557 ด้วยโดยจะใช้งบประมาณ200-300ล้านบาทในการขยายโรงงานแพิ่มกำลังการผลิตสินค้า เพื่อให้มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 52ล้านตารางเมตร(ตร.ม.)ต่อปี จากปัจจุบันมีกำลังการผลิตที่ 48 ล้าน ตร.ม
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ต้องมีการปรับตัวรองรับ การเปิด AEC คือ การหลอมรวมวัฒนะธรรมในการทำงานร่วมกันของบุคคลากรในองค์กรในอานคต เนื่องจากจะมีการไหลเข้าออกและการทำงานร่วมกันของแรงงานฝีมือ และบุคคลกรมากขึ้น และเพื่อเป็นการสร้างการเติบโตในตลาดต่างประเทศมากขึ้น บริษัทได้ จับมือกับพันธมิตรทางการค้าโดยให้บริษัท สุริยาสยาม เคอร์รามิค ทำให้ที่ดูแลด้านการตลาดในประเทศอินโดนีเซีย และบริษัท บาลิวาซา เป็นตัวแทนดูแลดารขายในประเทศฟิลิบปินส์ นอกจากนี้ในอนาคตยังมีแผนจะขยายตลาดด้วยการควบรวมบริษัทต่างชาติในการขยายตลาดด้วย
นายสัญชัย เนื่องสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บิวเดอสมาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ BSM หนึ่งในผู้นำบริษัทผู้ดำเนินธุรกิจและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ก่อสร้างและตกแต่งภายในคุณภาพสูงแบบครบวงจร เปิดเผยว่า ในอีก 3 ปีข้างหน้า AEC เปิดเรามองว่าถ้าประเทศทีมีความความแข็งแกร่งมีศักยภาพด้านไหนจะได้รับผลประโยชน์มาก เช่นเดียวกับในประเทศไทยเองที่เรามีความแข็งแกร่งในด้านวัสดุก่อสร้างเราก็จะได้เปรียบ เนื่องจากเรามีโนฮาวด์ และโรงงานในการผลิต ซึ่งมันก็จะเป็นการตอบโจทย์ที่ดีได้ของบริษัทฯ เรา เนื่องจากเรามีฐานการผลิตเอง
โดยสินค้าที่จะนำไปยิปซัมจะเป็นคอมมอนิตี้มอโปรดักซ์ที่เราจะส่งออกไปยังประเทศ ๆ แต่อย่างไรก็ตามเราต้องยอมรับว่าในส่วนของผู้รับเหมาเราคงต้องใช้ในต่างประเทศในการติดตั้ง ขณะที่เฟสเชอร์เรามีดีไซด์ที่ดีและขนส่งง่าย ทั้งนี้ในอนาคตกลยุทธที่จะใช้กับ AEC เราจะรุกหาพาร์ทเนอร์ในแต่ละประเทศ ซึ่งขณะนี้มีติดต่อเข้ามาหลายรายแล้ว โดยพาร์ทเนอร์ที่จะเข้ามาจะต้องได้รับการอบรมจากบริษัทเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับการติดตั้ง โดยเราจะเป็นฐานการผลิตในประเทศไทย
ด้านนายสิทธิพร สุวรรณสุต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีดีเฮ้าส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ พีดีเฮ้าส์ กล่าวว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ มีการปรับตัวเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปิดเAECที่จะถึงนี้ จากเดิมดำเนินธุรกิจรับสร้างบ้านโดย ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอปบริษัทเดียว แต่ปัจจุบันมีการแตกตัวออกเป็น 11 บริษัท ดำเนินกิจการ 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ 1.ธุรกิจรับสร้างบ้าน 2.ธุรกิจบริหารสิทธิ์แฟรนไชส์ และ 3.ธุรกิจตัวแทนจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง
โดยในช่วงที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้มีการปรับโครงสร้างการบริหารงานและแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง พร้อมมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบและบริหารงานทั้ง 11 บริษัท + 20 แฟรนไชส์ โดยมีเป้าหมายที่จะมุ่งดำเนินธุรกิจไปในทิศทางเดียวกัน แบ่งออกเป็น 5 สายงานหลัก ประกอบด้วย สายงานธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise Business) สายงานการตลาด (Marketing) สายงานทรัพยากรและบุคคล (Human & Resource) สายงานออกแบบและวิศวกรรม (Engineer & Design) และสายงานมาตรฐานแฟรนไชส์ (Franchise Standard Controller)
นายพิศาล ธรรมวิเศษ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวว่า อยากชี้ให้เห็นว่าการปรับตัวของผู้ประกอบการนั้น ไม่ใช่เพียงแค่การพูดคุยหรือจัดเวทีสัมมนากันเท่านั้น หากแต่ผู้ประกอบการจะต้องมีการขับเคลื่อนจากแผนงานไปสู่การปฏิบัติจริงแล้ว โดยเฉพาะบริษัทรับสร้างบ้านรายกลางและรายเล็ก เพราะหากยังไม่มีทิศทางการปรับตัวเองที่ชัดเจน เมื่อเปิดสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีเต็มรูปแบบจะเสียเปรียบรายใหญ่มาก หรืออาจไม่มีที่ยืนบนเวทีธุรกิจรับสร้างบ้านอีกต่อไป เพราะบนเวทีการแข่งขันใหม่ภายใต้กรอบเออีซี กติกาจะเอื้อเฉพาะรายใหญ่หรือรายที่เข้มแข็งกว่าเท่านั้น บริษัทรับสร้างบ้านรายกลางรายเล็ก จึงควรเร่งปรับตัวในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ 2 ปี 6 เดือนโดยเร็ว เพื่อสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางการค้าที่จะเกิดขึ้นได้ทัน
ที่มา : ASTV ผู้จัดการออนไลน์