นายนริศ ชัยสูตร อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมธนารักษ์ได้จัดทำบัญชีราคาประเมินที่ดินใหม่ทั่วประเทศเสร็จแล้ว และพร้อมที่จะประกาศใช้ในวันที่ 1 ม.ค.2555-31 ธ.ค.2558 ซึ่งจากการประเมินราคาที่ดินทั่วประเทศ 29.3 ล้านแปลง หรือคิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 321 ล้านไร่ พบว่าปรับสูงขึ้นเฉลี่ย 21.34% โดยที่ดินในต่างจังหวัดปรับขึ้น 21.40%ส่วนในกทม.ปรับขึ้น 17.13%
สำหรับบริเวณที่มีราคาประเมินแพงที่สุดของประเทศยังอยู่ที่ถนนสีลม กทม. ตั้งแต่แยกศาลาแดงไปจนถึงแยกนราธิวาสราชนครินทร์ ตารางวา (ตร.ว.) ละ 8.5 แสนบาท จากเดิมอยู่ที่6.5 แสนบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 31% รองลงมาคือถนนราชดำริ จากแยกราชประสงค์ ถึงคลองแสนแสบ ถนนพระรามที่ 1 จากแยกปทุมวันถึงแยกราชประสงค์ และถนนเพลินจิตตลอดสาย ตร.ว.ละ 8 แสนบาท จากเดิมอยู่ที่ 3.5-4.3 แสนบาท อันดับ 3 แถวถนนราชดำริ จากช่วงศาลาแดงถึงแยกราชประสงค์ และถนนเยาวราชตลอดสาย ตร.ว.ละ 7 แสนบาท จากเดิมอยู่ที่ 3.5 แสนบาท และ 5.5 แสนบาทตามลำดับ
ส่วนบริเวณที่ราคาประเมินที่ดินมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือ พื้นที่เขตวัฒนา คลองเตย พระโขนง และบางนา ปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ย 39.20% โดยได้รับอิทธิพลจากการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส รองลงมาเป็นเขตบางกอกน้อย บางพลัดตลิ่งชัน และทวีวัฒนา เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 33.06% และเขตบางขุนเทียน จอมทอง บางบอน เฉลี่ย 29% ตามลำดับ ขณะที่ราคาที่ดินในเขตกทม.ที่มีราคาต่ำสุด อยู่ที่เขตบางขุนเทียนตร.ว.ละ 500 บาท ซึ่งเป็นที่ตาบอด
ทั้งนี้พื้นที่ที่คิดว่าน่าจะมีราคาเพิ่มขึ้นแต่หลังจากลงพื้นที่สำรวจจริง ราคาประเมินที่ดินกลับเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด ได้แก่ เขตจตุจักร เพิ่มขึ้น 0.6% ลาดพร้าว 0.7% และประเวศ 1.5%เนื่องจากกรมธนารักษ์ได้ปรับราคาประเมินไปแล้วในระหว่างรอบบัญชีราคาประเมินใกล้เคียงกับราคาตลาดอยู่แล้ว
สำหรับส่วนภูมิภาคพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาประเมินที่ดินเพิ่มขึ้นสูงที่สุดอย่างน่าสนใจเมื่อเปรียบเทียบพื้นที่ในต่างจังหวัดทั่วประเทศ คือ จ.นราธิวาส เพิ่มขึ้นถึง 141.09%เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในพื้นที่ค่อนข้างดี รองลงมาเป็นจ.บุรีรัมย์81.27% และตราด 74.42% ทั้งนี้ ในต่างจังหวัดที่มีราคาที่ดินสูงสุดอยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา ตร.ว.ละ 4 แสนบาท ยังคงเป็นราคาเดิม ส่วนราคาที่ดินต่ำสุด เพียงตร.ว.ละ 10 บาท อยู่อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี และเชียงใหม่ในอ.ดอยหล่อ แม่แจ่ม และกัลยาณิวัฒนา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมไม่มีทางเข้าออก
สำหรับที่ดินที่ถูกน้ำท่วมทั้งในเขตกทม.และต่างจังหวัดจะยังไม่มีการประกาศราคาประเมินใหม่ ขณะนี้กรมกำลังสำรวจข้อมูลอย่างละเอียด คาดว่าจะประกาศราคาอย่างเป็นทางการอีกครั้งในช่วงเดือนม.ค.2555 ซึ่งตามกฎหมายสามารถคงราคาประเมินเดิมได้ถึง 1 ปี คาดว่าการปรับราคาประเมินที่ดินใหม่จะทำให้รายได้ในการจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมเพิ่มขึ้น1.2 หมื่นล้านบาท รวมเป็น 8 หมื่นล้านบาท จากปีที่ผ่านมาเก็บได้ประมาณ
ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด
สำหรับบริเวณที่มีราคาประเมินแพงที่สุดของประเทศยังอยู่ที่ถนนสีลม กทม. ตั้งแต่แยกศาลาแดงไปจนถึงแยกนราธิวาสราชนครินทร์ ตารางวา (ตร.ว.) ละ 8.5 แสนบาท จากเดิมอยู่ที่6.5 แสนบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 31% รองลงมาคือถนนราชดำริ จากแยกราชประสงค์ ถึงคลองแสนแสบ ถนนพระรามที่ 1 จากแยกปทุมวันถึงแยกราชประสงค์ และถนนเพลินจิตตลอดสาย ตร.ว.ละ 8 แสนบาท จากเดิมอยู่ที่ 3.5-4.3 แสนบาท อันดับ 3 แถวถนนราชดำริ จากช่วงศาลาแดงถึงแยกราชประสงค์ และถนนเยาวราชตลอดสาย ตร.ว.ละ 7 แสนบาท จากเดิมอยู่ที่ 3.5 แสนบาท และ 5.5 แสนบาทตามลำดับ
ส่วนบริเวณที่ราคาประเมินที่ดินมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือ พื้นที่เขตวัฒนา คลองเตย พระโขนง และบางนา ปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ย 39.20% โดยได้รับอิทธิพลจากการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส รองลงมาเป็นเขตบางกอกน้อย บางพลัดตลิ่งชัน และทวีวัฒนา เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 33.06% และเขตบางขุนเทียน จอมทอง บางบอน เฉลี่ย 29% ตามลำดับ ขณะที่ราคาที่ดินในเขตกทม.ที่มีราคาต่ำสุด อยู่ที่เขตบางขุนเทียนตร.ว.ละ 500 บาท ซึ่งเป็นที่ตาบอด
ทั้งนี้พื้นที่ที่คิดว่าน่าจะมีราคาเพิ่มขึ้นแต่หลังจากลงพื้นที่สำรวจจริง ราคาประเมินที่ดินกลับเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด ได้แก่ เขตจตุจักร เพิ่มขึ้น 0.6% ลาดพร้าว 0.7% และประเวศ 1.5%เนื่องจากกรมธนารักษ์ได้ปรับราคาประเมินไปแล้วในระหว่างรอบบัญชีราคาประเมินใกล้เคียงกับราคาตลาดอยู่แล้ว
สำหรับส่วนภูมิภาคพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาประเมินที่ดินเพิ่มขึ้นสูงที่สุดอย่างน่าสนใจเมื่อเปรียบเทียบพื้นที่ในต่างจังหวัดทั่วประเทศ คือ จ.นราธิวาส เพิ่มขึ้นถึง 141.09%เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในพื้นที่ค่อนข้างดี รองลงมาเป็นจ.บุรีรัมย์81.27% และตราด 74.42% ทั้งนี้ ในต่างจังหวัดที่มีราคาที่ดินสูงสุดอยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา ตร.ว.ละ 4 แสนบาท ยังคงเป็นราคาเดิม ส่วนราคาที่ดินต่ำสุด เพียงตร.ว.ละ 10 บาท อยู่อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี และเชียงใหม่ในอ.ดอยหล่อ แม่แจ่ม และกัลยาณิวัฒนา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมไม่มีทางเข้าออก
สำหรับที่ดินที่ถูกน้ำท่วมทั้งในเขตกทม.และต่างจังหวัดจะยังไม่มีการประกาศราคาประเมินใหม่ ขณะนี้กรมกำลังสำรวจข้อมูลอย่างละเอียด คาดว่าจะประกาศราคาอย่างเป็นทางการอีกครั้งในช่วงเดือนม.ค.2555 ซึ่งตามกฎหมายสามารถคงราคาประเมินเดิมได้ถึง 1 ปี คาดว่าการปรับราคาประเมินที่ดินใหม่จะทำให้รายได้ในการจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมเพิ่มขึ้น1.2 หมื่นล้านบาท รวมเป็น 8 หมื่นล้านบาท จากปีที่ผ่านมาเก็บได้ประมาณ
ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด