
บีทีเอสประกาศตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเจ้าแรกมูลค่าร่วม 6 หมื่นล้าน มุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง เตรียมพร้อมเข้าลงทุนในโครงการรถไฟฟ้า 10 สายของรัฐบาล คาดมีกำไรพิเศษทะลักเข้าบริษัทหลังตั้งกองทุนนับหมื่นล้าน
นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหารของ บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอสจี) เปิดเผยว่า คณะกรรมการของบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอสจี) ได้อนุมัติแนวทางการระดมทุน โดยการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะลงทุนในรายได้ค่าโดยสารสุทธิในอนาคตที่จะได้รับจากการดำเนินงานระบบรถไฟฟ้าสายสีเขียวหลักเป็นระยะทาง 23.5 กิโลเมตร ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอสซี) “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานนี้ เบื้องต้นจะมีขนาดหรือมูลค่าประมาณ 50,000-60,000 ล้านบาท โดยกองทุนนี้จะมีรายได้มาจากรายได้สุทธิจากค่าโดยสารรถไฟสายสีเขียวเข้ม หรือรถไฟฟ้าบีทีเอสที่วิ่งอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีระยะเวลาสัมปทานคงเหลืออีก 17 ปี โดยมีรายได้จากค่าโดยสารเฉลี่ยปีละประมาณ 4,000-5,000 ล้านบาท แต่ละปีรายได้ค่าโดยสารจะโตประมาณ 14% โดยปัจจุบันมีผู้โดยสารเฉลี่ย 500,000 คนต่อวัน และช่วงสูงสุดอยู่ที่ 700,000 คน”
นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหารของ บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอสจี) เปิดเผยว่า คณะกรรมการของบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอสจี) ได้อนุมัติแนวทางการระดมทุน โดยการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะลงทุนในรายได้ค่าโดยสารสุทธิในอนาคตที่จะได้รับจากการดำเนินงานระบบรถไฟฟ้าสายสีเขียวหลักเป็นระยะทาง 23.5 กิโลเมตร ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอสซี) “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานนี้ เบื้องต้นจะมีขนาดหรือมูลค่าประมาณ 50,000-60,000 ล้านบาท โดยกองทุนนี้จะมีรายได้มาจากรายได้สุทธิจากค่าโดยสารรถไฟสายสีเขียวเข้ม หรือรถไฟฟ้าบีทีเอสที่วิ่งอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีระยะเวลาสัมปทานคงเหลืออีก 17 ปี โดยมีรายได้จากค่าโดยสารเฉลี่ยปีละประมาณ 4,000-5,000 ล้านบาท แต่ละปีรายได้ค่าโดยสารจะโตประมาณ 14% โดยปัจจุบันมีผู้โดยสารเฉลี่ย 500,000 คนต่อวัน และช่วงสูงสุดอยู่ที่ 700,000 คน”
นายคีรี กล่าวว่า โดยกองทุนนี้จะเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนทั่วไป ภายหลังการขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานนี้ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ในการลงทุนพัฒนาและขยายเครือข่ายระบบขนส่งมวลชนต่างๆ ในกรุงเทพฯ และพื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งนโยบายของตลาดหลักทรัพย์ และคณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน “ภายในวันที่ 12 ธ.ค.นี้จะยื่นข้อมูลไฟล์ลิ่งขออนุญาติระดมทุนจาก ก.ล.ต. และคาดว่าภายในเดือน ก.พ.ปีหน้า จะเริ่มขายหน่วยลงทุนให้นักลงทุน
ทั้งในและต่างประเทศได้ โดยให้ บลจ.บัวหลวงเป็นผู้จัดจำหน่ายหน่วยลงทุน และจะนำกองทุนเข้าซื้อขายในตลาดหุ้น สำหรับผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับจากการลงทุนถือหน่วยลงทุนในกองทุนนี้ คาดว่าจะได้รับผลตอบแทนจากเงินปันผลเฉลี่ย 6-7% โดยเงินปันผลที่ได้รับจากการลงทุนในกองทุนโครงสร้างพื้นฐานนี้ จะได้รับการยกเว้นภาษีเป็นเวลา 10 ปี เนื่องจากรัฐบาลต้องการสนับสนุน”
นายคีรี กล่าวต่อว่า เป้าหมายหลักในการตั้งกองทุนครั้งนี้เพื่อระดมเงินทุน ให้บริษัทเตรียมพร้อมรองรับโครงการลงทุนของรัฐบาลที่จะลงทุนระบบขนส่งมวลชนทางราง 10 เส้นทาง โดยเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน ซึ่งบริษัทมีแผนที่จะเข้าลงทุน ในเส้นทางต่างๆ ซึ่งรวมถึงส่วนต่อขยายสายสีเขียวจากหมอชิตไปสะพานใหม่ และจากแบริ่งไปสมุทรปราการ สายสีชมพูจากแครายไปมีนบุรี และรถไฟฟ้าขนาดเบา (Light Rail Transit) จากบางนาไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกกับเส้นทางที่เชื่อมต่อโดยตรงกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวหลัก ซึ่งจะทำให้การเดินทางโดยรถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นเครือข่ายที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งหากรัฐบาลเห็นว่าบีทีเอสมีความพร้อมเรื่องเงินทุนและประสบการณ์ในการเดินรถไฟฟ้าหรือระบบขนส่งมวลชนมาก่อน ก็เป็นโอกาสที่ดีและเป็นการสนับสนุนให้การลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐเกิดขึ้นได้
สำหรับประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นที่จะได้รับจากการจัดตั้งกองทุนนี้เบื้องต้น คือ กำไรพิเศษจากการขายสินทรัพย์เข้ากองทุน ประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งจะรับรู้ปีหน้าและหลังขายสินทรัพย์เข้ากองทุนแล้ว บริษัทก็จะยังถือหุ้นในกองทุน 33.33% ซึ่งในอนาคตก็จะได้รับเงินปันผลจากกองทุนด้วย “แม้รายได้จากค่าโดยสารจะถูกนำไปจัดตั้งกองทุนแต่บีทีเอสก็ยังถือหุ้นอยู่ 33.33% และยังมีรายได้จากเงินลงทุน รายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลจากธุรกิจอื่นๆ ในเครือ จึงยังเป็นธุรกิจที่เติบโตดี
“ธุรกิจขนส่งมวลชนจะยังคงเป็นธุรกิจหลักของบริษัท บีทีเอสจี เห็นว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ และเชื่อมั่นว่าธุรกรรมนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น เนื่องจากบีทีเอสจีจะได้รับเงินสดจากการระดมทุน ทำให้มีความพร้อมที่จะลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานใหม่ๆ เพื่อสร้างเสริมรายได้ภายหลังจากสิ้นสุดสัมปทาน ซึ่งบีทีเอสจีมีข้อได้เปรียบจากประสบการณ์และความชำนาญในการบริหารระบบรถไฟฟ้าลอยฟ้า และการมีระบบซึ่งเชื่อมต่อกับส่วนขยายใหม่หลายๆ สาย ดังนั้น การที่มีความพร้อมทางด้านการเงินจะช่วยให้สามารถลงทุนได้รวดเร็วยิ่งขึ้นหากได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลให้เข้าไปลงทุน และมีส่วนช่วยในการผลักดันให้การพัฒนาส่วนต่อขยายและเส้นทางใหม่ภายใต้แผนแม่บทของรัฐบาลให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว”
ที่มา: http://www.thairath.co.th
ทั้งในและต่างประเทศได้ โดยให้ บลจ.บัวหลวงเป็นผู้จัดจำหน่ายหน่วยลงทุน และจะนำกองทุนเข้าซื้อขายในตลาดหุ้น สำหรับผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับจากการลงทุนถือหน่วยลงทุนในกองทุนนี้ คาดว่าจะได้รับผลตอบแทนจากเงินปันผลเฉลี่ย 6-7% โดยเงินปันผลที่ได้รับจากการลงทุนในกองทุนโครงสร้างพื้นฐานนี้ จะได้รับการยกเว้นภาษีเป็นเวลา 10 ปี เนื่องจากรัฐบาลต้องการสนับสนุน”
นายคีรี กล่าวต่อว่า เป้าหมายหลักในการตั้งกองทุนครั้งนี้เพื่อระดมเงินทุน ให้บริษัทเตรียมพร้อมรองรับโครงการลงทุนของรัฐบาลที่จะลงทุนระบบขนส่งมวลชนทางราง 10 เส้นทาง โดยเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน ซึ่งบริษัทมีแผนที่จะเข้าลงทุน ในเส้นทางต่างๆ ซึ่งรวมถึงส่วนต่อขยายสายสีเขียวจากหมอชิตไปสะพานใหม่ และจากแบริ่งไปสมุทรปราการ สายสีชมพูจากแครายไปมีนบุรี และรถไฟฟ้าขนาดเบา (Light Rail Transit) จากบางนาไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกกับเส้นทางที่เชื่อมต่อโดยตรงกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวหลัก ซึ่งจะทำให้การเดินทางโดยรถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นเครือข่ายที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งหากรัฐบาลเห็นว่าบีทีเอสมีความพร้อมเรื่องเงินทุนและประสบการณ์ในการเดินรถไฟฟ้าหรือระบบขนส่งมวลชนมาก่อน ก็เป็นโอกาสที่ดีและเป็นการสนับสนุนให้การลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐเกิดขึ้นได้
สำหรับประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นที่จะได้รับจากการจัดตั้งกองทุนนี้เบื้องต้น คือ กำไรพิเศษจากการขายสินทรัพย์เข้ากองทุน ประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งจะรับรู้ปีหน้าและหลังขายสินทรัพย์เข้ากองทุนแล้ว บริษัทก็จะยังถือหุ้นในกองทุน 33.33% ซึ่งในอนาคตก็จะได้รับเงินปันผลจากกองทุนด้วย “แม้รายได้จากค่าโดยสารจะถูกนำไปจัดตั้งกองทุนแต่บีทีเอสก็ยังถือหุ้นอยู่ 33.33% และยังมีรายได้จากเงินลงทุน รายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลจากธุรกิจอื่นๆ ในเครือ จึงยังเป็นธุรกิจที่เติบโตดี
“ธุรกิจขนส่งมวลชนจะยังคงเป็นธุรกิจหลักของบริษัท บีทีเอสจี เห็นว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ และเชื่อมั่นว่าธุรกรรมนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น เนื่องจากบีทีเอสจีจะได้รับเงินสดจากการระดมทุน ทำให้มีความพร้อมที่จะลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานใหม่ๆ เพื่อสร้างเสริมรายได้ภายหลังจากสิ้นสุดสัมปทาน ซึ่งบีทีเอสจีมีข้อได้เปรียบจากประสบการณ์และความชำนาญในการบริหารระบบรถไฟฟ้าลอยฟ้า และการมีระบบซึ่งเชื่อมต่อกับส่วนขยายใหม่หลายๆ สาย ดังนั้น การที่มีความพร้อมทางด้านการเงินจะช่วยให้สามารถลงทุนได้รวดเร็วยิ่งขึ้นหากได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลให้เข้าไปลงทุน และมีส่วนช่วยในการผลักดันให้การพัฒนาส่วนต่อขยายและเส้นทางใหม่ภายใต้แผนแม่บทของรัฐบาลให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว”
ที่มา: http://www.thairath.co.th