อุทกภัยครั้งใหญ่ในจังหวัดพื้นที่ภาคกลางและกรุงเทพ มหานครที่เกิดขึ้น ณ ขณะนี้คงยังชี้ชัดไม่ได้ว่าความเสียหายจะมากเพียงใด แต่บางสำนักได้ระบุความเสียหายทางเศรษฐกิจ ของประเทศไทยในปีนี้และต่อเนื่องปีหน้าว่า มูลค่าทางเศรษฐกิจ จะเสียหายทะลุล้านล้านบาท ซึ่งก็คงจะต้องมีการประเมินกันอีก ครั้งหลังวิกฤติน้ำท่วมผ่านพ้นไป
ในส่วนของธุรกิจรับสร้างบ้าน นายสิทธิพร สุวรรณสุต นายกสมาคมไทยรับสร้างบ้าน (THCA)กล่าวว่า วิกฤตการณ์น้ำท่วมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ครั้งนี้ ภาพที่ปรากฏดูมีความละม้ายคล้าย คลึงกับเมื่อครั้งน้ำท่วมปี 2538 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบหนัก ทั้งงานก่อสร้างบ้านหยุดชะงัก รายได้ทรุด สาเหตุหลักๆ มาจากเส้นทางคมนาคมถูกน้ำท่วมจนส่งวัสดุและช่างเข้าไปก่อสร้างต่อไม่ได้ รวมถึงโรงงานผลิตวัสดุบางแห่งโดนน้ำท่วมทำให้วัสดุขาดแคลน ฯลฯ ทั้งหลายทั้งปวงได้ส่งผลกระทบต่อรายได้และ สภาพคล่องของผู้ประกอบการ นอกจากนี้ยอดขายบ้านหรือกำลังซื้อก็ลดวูบลงเช่นกัน
สมาคมฯ ได้มีการสำรวจบริษัทผู้ประกอบการรับสร้างบ้านที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งนี้ โดยโฟกัสที่จำนวนสมาชิก 2 สมาคมรับสร้างบ้าน พบว่ามีจำนวนรวมกัน 64 ราย โดยอยู่ในสังกัด ส.ธุรกิจรับสร้างบ้านจำนวน 44 ราย มีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และได้รับผลกระทบน้ำท่วมจำนวน 43 รายหรือคิดเป็น 98% (สมาชิกที่อยู่ในต่างจังหวัด และอยู่นอกพื้นที่น้ำท่วม มีเพียง 1 ราย) ซึ่งถือว่าน่าเป็นห่วงเพราะส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบ ในขณะที่สมาชิก ส.ไทยรับสร้างบ้าน (THCA) จำนวน 20ราย มีสำนักงานตั้งอยู่ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ซึ่งได้รับผลกระทบน้ำท่วมเพียงแค่ 5 รายหรือ 1 ใน4 คิดเป็น 25% ของสมาชิกทั้งหมด นอกนั้นอยู่นอกพื้นที่น้ำท่วมและไม่ได้รับผลกระทบจำนวน 15 รายหรือคิดเป็น 75% ซึ่งจะเห็นว่าสมาชิกในกลุ่ม ส.ไทยรับสร้าง บ้านได้รับผลกระทบน้อยกว่า โอกาสที่จะรอดวิกฤติน้ำท่วมได้เป็นส่วนใหญ่จึงมีอยู่สูง
“เมื่อมองภาพรวมธุรกิจรับสร้างบ้านและความต้องการสร้างบ้านใหม่ ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลจะหดตัว รุนแรงไม่น้อยกว่า 6-12 เดือนข้างหน้า” นายสิทธิพร กล่าว
ตลอดระยะเวลาเกือบ 2 เดือนที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วมครั้งนี้ สมาคมฯ ได้พยายามประสานความร่วมมือ ระหว่างสมาชิกกลุ่มรับสร้างบ้านและวัสดุก่อสร้าง เพื่อหาทางแก้ไขสถานการณ์ และปัญหาต่างๆ และเพื่อจะทำให้งานก่อสร้างบ้านไม่หยุดชะงักลง มีการจัดสรร วัสดุบางอย่างที่ขาดแคลนแต่จำเป็นเร่งด่วน โดยแบ่งกันนำไปใช้ให้เพียงพอต่อการใช้งานที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ส่งผลให้งานสร้างบ้านของสมาชิกที่มีอยู่ประมาณ 200 หลัง ส่วนใหญ่ยังคงเดินหน้าก่อสร้าง ได้เกือบเป็นปกติ
นอกจากนี้ สมาคมฯ ได้มีการสำรวจ ออนไลน์เกี่ยวกับความเห็นของผู้ที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วม กรณีที่จะต้องมีแผนสำรองสำหรับบ้านหรือที่อยู่อาศัยในอนาคตมีแนวโน้มอย่างไร ผลสำรวจพบว่าความนิยมอันดับแรก ต้องการสร้างบ้าน หลังที่ 2 สำรองไว้ในตจว. 64% อันดับที่ 2 ซื้อคอนโดมิเนียมในกทม.สำรองไว้ 18% และอันดับถัดมา ซื้อบ้านจัดสรรในตจว. 9% และซื้อคอนโดมิเนียมในตจว. 9% ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคเลือกจะมีบ้านหรือที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 อยู่ ในพื้นที่ต่างจังหวัดมากกว่าอยู่ในเขตกทม. โดยเฉพาะจังหวัดที่น้ำท่วมไม่ถึงและอยู่ไม่ไกลจากกทม.มากนัก เช่น ชลบุรี ระยอง ราชบุรี เพชรบุรี สระบุรี นครราชสีมา ฯลฯ เป็นต้น
ที่มา : หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ
ในส่วนของธุรกิจรับสร้างบ้าน นายสิทธิพร สุวรรณสุต นายกสมาคมไทยรับสร้างบ้าน (THCA)กล่าวว่า วิกฤตการณ์น้ำท่วมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ครั้งนี้ ภาพที่ปรากฏดูมีความละม้ายคล้าย คลึงกับเมื่อครั้งน้ำท่วมปี 2538 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบหนัก ทั้งงานก่อสร้างบ้านหยุดชะงัก รายได้ทรุด สาเหตุหลักๆ มาจากเส้นทางคมนาคมถูกน้ำท่วมจนส่งวัสดุและช่างเข้าไปก่อสร้างต่อไม่ได้ รวมถึงโรงงานผลิตวัสดุบางแห่งโดนน้ำท่วมทำให้วัสดุขาดแคลน ฯลฯ ทั้งหลายทั้งปวงได้ส่งผลกระทบต่อรายได้และ สภาพคล่องของผู้ประกอบการ นอกจากนี้ยอดขายบ้านหรือกำลังซื้อก็ลดวูบลงเช่นกัน
สมาคมฯ ได้มีการสำรวจบริษัทผู้ประกอบการรับสร้างบ้านที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งนี้ โดยโฟกัสที่จำนวนสมาชิก 2 สมาคมรับสร้างบ้าน พบว่ามีจำนวนรวมกัน 64 ราย โดยอยู่ในสังกัด ส.ธุรกิจรับสร้างบ้านจำนวน 44 ราย มีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และได้รับผลกระทบน้ำท่วมจำนวน 43 รายหรือคิดเป็น 98% (สมาชิกที่อยู่ในต่างจังหวัด และอยู่นอกพื้นที่น้ำท่วม มีเพียง 1 ราย) ซึ่งถือว่าน่าเป็นห่วงเพราะส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบ ในขณะที่สมาชิก ส.ไทยรับสร้างบ้าน (THCA) จำนวน 20ราย มีสำนักงานตั้งอยู่ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ซึ่งได้รับผลกระทบน้ำท่วมเพียงแค่ 5 รายหรือ 1 ใน4 คิดเป็น 25% ของสมาชิกทั้งหมด นอกนั้นอยู่นอกพื้นที่น้ำท่วมและไม่ได้รับผลกระทบจำนวน 15 รายหรือคิดเป็น 75% ซึ่งจะเห็นว่าสมาชิกในกลุ่ม ส.ไทยรับสร้าง บ้านได้รับผลกระทบน้อยกว่า โอกาสที่จะรอดวิกฤติน้ำท่วมได้เป็นส่วนใหญ่จึงมีอยู่สูง
“เมื่อมองภาพรวมธุรกิจรับสร้างบ้านและความต้องการสร้างบ้านใหม่ ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลจะหดตัว รุนแรงไม่น้อยกว่า 6-12 เดือนข้างหน้า” นายสิทธิพร กล่าว
ตลอดระยะเวลาเกือบ 2 เดือนที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วมครั้งนี้ สมาคมฯ ได้พยายามประสานความร่วมมือ ระหว่างสมาชิกกลุ่มรับสร้างบ้านและวัสดุก่อสร้าง เพื่อหาทางแก้ไขสถานการณ์ และปัญหาต่างๆ และเพื่อจะทำให้งานก่อสร้างบ้านไม่หยุดชะงักลง มีการจัดสรร วัสดุบางอย่างที่ขาดแคลนแต่จำเป็นเร่งด่วน โดยแบ่งกันนำไปใช้ให้เพียงพอต่อการใช้งานที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ส่งผลให้งานสร้างบ้านของสมาชิกที่มีอยู่ประมาณ 200 หลัง ส่วนใหญ่ยังคงเดินหน้าก่อสร้าง ได้เกือบเป็นปกติ
นอกจากนี้ สมาคมฯ ได้มีการสำรวจ ออนไลน์เกี่ยวกับความเห็นของผู้ที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วม กรณีที่จะต้องมีแผนสำรองสำหรับบ้านหรือที่อยู่อาศัยในอนาคตมีแนวโน้มอย่างไร ผลสำรวจพบว่าความนิยมอันดับแรก ต้องการสร้างบ้าน หลังที่ 2 สำรองไว้ในตจว. 64% อันดับที่ 2 ซื้อคอนโดมิเนียมในกทม.สำรองไว้ 18% และอันดับถัดมา ซื้อบ้านจัดสรรในตจว. 9% และซื้อคอนโดมิเนียมในตจว. 9% ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคเลือกจะมีบ้านหรือที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 อยู่ ในพื้นที่ต่างจังหวัดมากกว่าอยู่ในเขตกทม. โดยเฉพาะจังหวัดที่น้ำท่วมไม่ถึงและอยู่ไม่ไกลจากกทม.มากนัก เช่น ชลบุรี ระยอง ราชบุรี เพชรบุรี สระบุรี นครราชสีมา ฯลฯ เป็นต้น
ที่มา : หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ