ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ-ที่ปรึกษาการตลาด ประเมินภาวะอสังหาฯไทยปีนี้ร้อนแรง แต่ยังไม่ฟองสบู่ ชี้ ระวังปัญหาแรงงานขาดแคลน
เปิดศักราชใหม่ 2556 ภาคธุรกิจกอสังหาริมทรัพย์ เริ่มต้นด้วยการประกาศแผนลงทุนปีนี้ออกมาค่อนข้างร้อนแรง โดยเฉพาะในตลาดคอนโดมิเนียมระดับกลางลงมา เจาะกลุ่มราคา 1-2 ล้านบาท ที่จ่อคิวเปิดปีนี้อีกนับหมื่นยูนิต ทำให้หลายคนมองประเด็นความเสี่ยงเรื่อง "ภาวะฟองสบู่" กำลังจะเกิดขึ้นกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทยหรือไม่
ขณะที่ผู้ประกอบการอสังหาริทรัพย์ทุกราย ยืนยันตรงกันว่า สถานการณ์ตลาดขณะนี้ ภาคอสังหาฯของไทยแม้หลายบริษัทจะประกาศแผนลงทุนกันอย่างคึกคัก แต่มั่นใจว่าเป็นการตอบโจทย์ตลาดและยังไม่มีภาวะฟองสบู่แน่นอน สอดคล้องกับมุมมองของ ผู้ที่รวบรวมข้อมูลและตัวแทนที่ช่วยดูแลด้านการตลาด ซึ่งยืนยันตรงกันว่า ภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาฯไทยวันนี้ยังไม่มี แต่ก็ยอมรับว่ามีหลายประเด็นที่น่ากังวล
นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และนายชนะ นันทจันทูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซ็นจูรี่ 21 (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในรายการ Business Talkกรุงเทพธุรกิจทีวี ค่ำวันที่ 16 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยยืนยันว่าจากฐานข้อมูล การเปิดโครงการใหม่ ยอดขายที่เกิดขึ้น และการดูดซับของตลาด ยืนยันได้ว่าสถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ไทยขณะนี้ ยังไม่มีภาวะฟองสบู่อย่างที่หลายคนกังวล แม้จะมีการซื้ออสังหาฯในลักษณะการลงทุน ปะปนเข้ามาในยอดขายของหลายๆ โครงการก็ตาม
นายสัมมา ระบุว่า จากตัวเลขคอนโดมิเนียมเปิดตัวใหม่ในรอบ 3 ปี ตั้งแต่ปี 2553-2555 ซึ่งมีจำนวนกว่า 1.67 แสนหน่วย มาถึงขณะนี้สินค้าดังกล่าวสร้างเสร็จเข้าสู่ตลาดประมาณ 50% กว่า 8 หมื่นยูนิต โดยมีทั้งโครงการที่เปิดขายตั้งแต่ปี 2553 และก่อนหน้านั้น เนื่องจากโครงการอาคารสูงต้องใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 2 ปีจึงจะแล้วเสร็จ จดทะเบียนอาคารชุดและโอนส่งมอบให้กับลูกค้าได้ ซึ่งหากดูจากจำนวนสินค้าสร้างเสร็จเข้าสู่ตลาดขณะนี้ก็ยังไม่มีข้อน่ากังวล ต่อปัญหาฟองสบู่
แต่ขณะเดียวกัน มีประเด็นน่าห่วงเรื่อง ภาวะขาดแคลนแรงาน ซึ่งค่อนข้างรุนแรงในภาคการก่อสร้าง เนื่องจากแรงงานกลับถิ่นฐานในต่างจังหวัด เพราะค่าจ้างแรงงานปรับตัวสูงขึ้นตามการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ ทำให้ภาวะแรงงานในภาคก่อสร้าง ซึ่งเดิมตึงตัวอยู่แล้ว ยิ่งจะมีภาวะขาดแคลนมาขึ้นในปีนี้ และเนื่องจากโครงการคอนโดมิเนียม เป็นงานก่อสร้างอาคารสูงซึ่งมีความต้องการใช้แรงงานสูง อาจประสบปัญหา ทำให้งานก่อสร้างล่าช้า เสร็จไม่ทันตามกำหนด อาจเห็นหลายโครงการสร้างช้ากว่าแผนงาน 6 เดือนถึง 1 ปีหลังจากนี้
"ปีนี้ความเสี่ยงอสังหาฯ จะน้อยกว่าปีที่แล้วด้วยซ้ำไป เพราะหลายบริษัทระมัดระวัง แต่ปัจจัยเรื่องแรงงานเป็นสิ่งที่น่ากังวล" ผอ.ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ย้ำและว่า แม้จะมีข้อกังวลเรื่องปัญหาแรงงาน แต่ก็ไม่น่าห่วงในมุมของผู้ประกอบการ ซึ่งรายใหญ่มักจะมีเครือข่ายที่แข็งแรง มีอำนาจต่อรองกับผู้รับเหมาก่อสร้างได้ดี เชื่อว่าจะแก้ไขสถานการณ์ไปได้ และความเสี่ยงที่จะล้มเหมือนปี 2540 เชื่อว่าไม่เกิดขึ้นแน่นอน เพราะทุกบริษัทมีประสบการณ์ ขณะที่สถานบันการเงินเองก็มีความเข้มงวด เรื่องการอำนวยสินเชื่อมากกว่าในอดีต
ในแง่ของกำลังซื้อ นายชนะ ระบุว่า ความต้องการของตลาดยังมีต่อเนื่อง โดยเฉพาะในสินค้าประเภทคอนโดมิเนียม ซึ่งขยายไปในหลายๆ ทำเล จากถนนสุขุมวิท ช่วงต้นไปถึงส่วนต่อขยายอ่อนนุชแบริ่ง ต่อเนื่องถึงสมุทรปราการ มีโครงการเกิดใหม่จำนวนมาก ทำเลนี้เป็นจุดที่หลายคนกังวลว่าจะเกิดภาวะ โอเวอร์ซัพพลาย สินค้าเปิดใหม่เกินความต้องการของตลาด ในฐานะตัวแทนขายที่ดูภาพรวมตลาด ยืนยันว่ายังไม่พบสัญญาณที่น่ากังวลมาก แต่ก็ยอมรับว่ามีบ้างที่การขายคอนโดฯทำเลนี้ เกิดภาวะสะดุ เนื่องจากรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย ที่สร้างเสร็จกว่าจะเปิดใช้เสียเวลาไปกว่า 2 ปี ทำให้ตลาดชะลอดูความชัดเจน แต่เมื่อเปิดเดินรถ ดีมานด์คอนโดฯในทำเลนี้ ก็กลับมาดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
"ที่ผ่านมา ถ้าดูตัวเลขยอดขายคอนโดฯในภาพรวม จะพบว่า 65-70% เป็นตลาดลูกค้าซื้อเพื่อยู่เอง คือซื้อแล้วโอนกรรมสิทธิ์ตามปกติ อีก 15-20% ซื้อเพื่อลงทุนระยะยาว เป้าหมายคือปล่อยเช่า และที่เหลืออีกราว 10-15% เป็นตลาดเก็งกำไร คือซื้อโดยมีวัตถุประสงค์ จะขายต่อทำกำไร กลุ่มนี้ไม่ต้องการโอน แต่เจตนาจะขายเปลี่ยนมือก่อนโอน โดยทำกำไรจากส่วนต่างราคา" นายชนะ กล่าวและว่า สัดส่วนตลาดผู้ซื้อคอนโดฯ นับตั้งแต่ 3 ปีที่ผ่านถึงปัจจุบัน ยังคงยืนในสัดส่วนนี้ ซึ่งกล่าวได้ว่า 10% เป็นตลาดเก็งกำไรซึ่งก็ถือว่าไม่สูงจนน่ากังวล
อย่างไรก็ดี ผู้บริหารเซ็นจูรี่21 กล่าวว่า มีประเด็นน่ากังวลเล็กน้อย สำหรับภาวะการขายคอนโดฯขณะนี้ คือมีแคมเปญขายประเภท ดาวน์ต่ำ หรือผ่อนดาวน์เล็กน้อย เดือนละ 990 บาท รวมตลอดรอบการผ่อนดาวน์อาจอยู่ระหว่า 5-10% ของราคาอสังหาฯที่ซื้อ ซึ่งต่างจากอดีตที่วงเงินผ่อนดาวน์จะค่อนข้างสูงราว 25% ตัวเลขสัดส่วนเงินดาวน์ที่ต่ำลงนี้ อาจเป็นตัวแปรหนึ่ง ที่ทำให้มีความเสี่ยงว่า ลูกค้าอาจทิ้งเงินดาวน์ เมื่อเปลี่ยนใจด้วยเหตุผลต่างๆ เช่นเศรษฐกิจไม่ดี หรือให้ความสนใจโครงการอื่นที่ดีกว่า เพราะตัวเงินในการผ่อนดาวน์ไม่สูงมาก เป็นจุดที่ต้องระมัดระวัง แต่เชื่อว่าด้วยศักยภาพของผู้ประกอบการ ที่มีฐานการเงินแข็งแรง และส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโครงการในทำเลที่ดี จึงไม่น่าห่วงมาก
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
ขณะที่ผู้ประกอบการอสังหาริทรัพย์ทุกราย ยืนยันตรงกันว่า สถานการณ์ตลาดขณะนี้ ภาคอสังหาฯของไทยแม้หลายบริษัทจะประกาศแผนลงทุนกันอย่างคึกคัก แต่มั่นใจว่าเป็นการตอบโจทย์ตลาดและยังไม่มีภาวะฟองสบู่แน่นอน สอดคล้องกับมุมมองของ ผู้ที่รวบรวมข้อมูลและตัวแทนที่ช่วยดูแลด้านการตลาด ซึ่งยืนยันตรงกันว่า ภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาฯไทยวันนี้ยังไม่มี แต่ก็ยอมรับว่ามีหลายประเด็นที่น่ากังวล
นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และนายชนะ นันทจันทูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซ็นจูรี่ 21 (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในรายการ Business Talkกรุงเทพธุรกิจทีวี ค่ำวันที่ 16 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยยืนยันว่าจากฐานข้อมูล การเปิดโครงการใหม่ ยอดขายที่เกิดขึ้น และการดูดซับของตลาด ยืนยันได้ว่าสถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ไทยขณะนี้ ยังไม่มีภาวะฟองสบู่อย่างที่หลายคนกังวล แม้จะมีการซื้ออสังหาฯในลักษณะการลงทุน ปะปนเข้ามาในยอดขายของหลายๆ โครงการก็ตาม
นายสัมมา ระบุว่า จากตัวเลขคอนโดมิเนียมเปิดตัวใหม่ในรอบ 3 ปี ตั้งแต่ปี 2553-2555 ซึ่งมีจำนวนกว่า 1.67 แสนหน่วย มาถึงขณะนี้สินค้าดังกล่าวสร้างเสร็จเข้าสู่ตลาดประมาณ 50% กว่า 8 หมื่นยูนิต โดยมีทั้งโครงการที่เปิดขายตั้งแต่ปี 2553 และก่อนหน้านั้น เนื่องจากโครงการอาคารสูงต้องใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 2 ปีจึงจะแล้วเสร็จ จดทะเบียนอาคารชุดและโอนส่งมอบให้กับลูกค้าได้ ซึ่งหากดูจากจำนวนสินค้าสร้างเสร็จเข้าสู่ตลาดขณะนี้ก็ยังไม่มีข้อน่ากังวล ต่อปัญหาฟองสบู่
แต่ขณะเดียวกัน มีประเด็นน่าห่วงเรื่อง ภาวะขาดแคลนแรงาน ซึ่งค่อนข้างรุนแรงในภาคการก่อสร้าง เนื่องจากแรงงานกลับถิ่นฐานในต่างจังหวัด เพราะค่าจ้างแรงงานปรับตัวสูงขึ้นตามการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ ทำให้ภาวะแรงงานในภาคก่อสร้าง ซึ่งเดิมตึงตัวอยู่แล้ว ยิ่งจะมีภาวะขาดแคลนมาขึ้นในปีนี้ และเนื่องจากโครงการคอนโดมิเนียม เป็นงานก่อสร้างอาคารสูงซึ่งมีความต้องการใช้แรงงานสูง อาจประสบปัญหา ทำให้งานก่อสร้างล่าช้า เสร็จไม่ทันตามกำหนด อาจเห็นหลายโครงการสร้างช้ากว่าแผนงาน 6 เดือนถึง 1 ปีหลังจากนี้
"ปีนี้ความเสี่ยงอสังหาฯ จะน้อยกว่าปีที่แล้วด้วยซ้ำไป เพราะหลายบริษัทระมัดระวัง แต่ปัจจัยเรื่องแรงงานเป็นสิ่งที่น่ากังวล" ผอ.ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ย้ำและว่า แม้จะมีข้อกังวลเรื่องปัญหาแรงงาน แต่ก็ไม่น่าห่วงในมุมของผู้ประกอบการ ซึ่งรายใหญ่มักจะมีเครือข่ายที่แข็งแรง มีอำนาจต่อรองกับผู้รับเหมาก่อสร้างได้ดี เชื่อว่าจะแก้ไขสถานการณ์ไปได้ และความเสี่ยงที่จะล้มเหมือนปี 2540 เชื่อว่าไม่เกิดขึ้นแน่นอน เพราะทุกบริษัทมีประสบการณ์ ขณะที่สถานบันการเงินเองก็มีความเข้มงวด เรื่องการอำนวยสินเชื่อมากกว่าในอดีต
ในแง่ของกำลังซื้อ นายชนะ ระบุว่า ความต้องการของตลาดยังมีต่อเนื่อง โดยเฉพาะในสินค้าประเภทคอนโดมิเนียม ซึ่งขยายไปในหลายๆ ทำเล จากถนนสุขุมวิท ช่วงต้นไปถึงส่วนต่อขยายอ่อนนุชแบริ่ง ต่อเนื่องถึงสมุทรปราการ มีโครงการเกิดใหม่จำนวนมาก ทำเลนี้เป็นจุดที่หลายคนกังวลว่าจะเกิดภาวะ โอเวอร์ซัพพลาย สินค้าเปิดใหม่เกินความต้องการของตลาด ในฐานะตัวแทนขายที่ดูภาพรวมตลาด ยืนยันว่ายังไม่พบสัญญาณที่น่ากังวลมาก แต่ก็ยอมรับว่ามีบ้างที่การขายคอนโดฯทำเลนี้ เกิดภาวะสะดุ เนื่องจากรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย ที่สร้างเสร็จกว่าจะเปิดใช้เสียเวลาไปกว่า 2 ปี ทำให้ตลาดชะลอดูความชัดเจน แต่เมื่อเปิดเดินรถ ดีมานด์คอนโดฯในทำเลนี้ ก็กลับมาดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
"ที่ผ่านมา ถ้าดูตัวเลขยอดขายคอนโดฯในภาพรวม จะพบว่า 65-70% เป็นตลาดลูกค้าซื้อเพื่อยู่เอง คือซื้อแล้วโอนกรรมสิทธิ์ตามปกติ อีก 15-20% ซื้อเพื่อลงทุนระยะยาว เป้าหมายคือปล่อยเช่า และที่เหลืออีกราว 10-15% เป็นตลาดเก็งกำไร คือซื้อโดยมีวัตถุประสงค์ จะขายต่อทำกำไร กลุ่มนี้ไม่ต้องการโอน แต่เจตนาจะขายเปลี่ยนมือก่อนโอน โดยทำกำไรจากส่วนต่างราคา" นายชนะ กล่าวและว่า สัดส่วนตลาดผู้ซื้อคอนโดฯ นับตั้งแต่ 3 ปีที่ผ่านถึงปัจจุบัน ยังคงยืนในสัดส่วนนี้ ซึ่งกล่าวได้ว่า 10% เป็นตลาดเก็งกำไรซึ่งก็ถือว่าไม่สูงจนน่ากังวล
อย่างไรก็ดี ผู้บริหารเซ็นจูรี่21 กล่าวว่า มีประเด็นน่ากังวลเล็กน้อย สำหรับภาวะการขายคอนโดฯขณะนี้ คือมีแคมเปญขายประเภท ดาวน์ต่ำ หรือผ่อนดาวน์เล็กน้อย เดือนละ 990 บาท รวมตลอดรอบการผ่อนดาวน์อาจอยู่ระหว่า 5-10% ของราคาอสังหาฯที่ซื้อ ซึ่งต่างจากอดีตที่วงเงินผ่อนดาวน์จะค่อนข้างสูงราว 25% ตัวเลขสัดส่วนเงินดาวน์ที่ต่ำลงนี้ อาจเป็นตัวแปรหนึ่ง ที่ทำให้มีความเสี่ยงว่า ลูกค้าอาจทิ้งเงินดาวน์ เมื่อเปลี่ยนใจด้วยเหตุผลต่างๆ เช่นเศรษฐกิจไม่ดี หรือให้ความสนใจโครงการอื่นที่ดีกว่า เพราะตัวเงินในการผ่อนดาวน์ไม่สูงมาก เป็นจุดที่ต้องระมัดระวัง แต่เชื่อว่าด้วยศักยภาพของผู้ประกอบการ ที่มีฐานการเงินแข็งแรง และส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโครงการในทำเลที่ดี จึงไม่น่าห่วงมาก
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ