นายวิฑูรย์ เจียสกุล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) เปิดเผยในเรื่องนี้ว่า เพื่อเป็นการปรับแนวทางการ บริหารให้เด่นชัดขึ้นกคช.จะให้ความสำคัญกับโครงการชุมชนน่าอยู่ อยู่สบายอย่างยั่งยืน หรืออีโค วิลเลจ โดยจะดำเนิน การในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และภูมิภาคก่อนจำนวน 50,000 ยูนิต
เริ่มตั้งแต่ปี2555-2561 โดยในระยะแรกจะจัดสร้างจำนวน 25 โครงการ ประมาณ 15,000 หน่วย เช่น โครงการ พาร์ควิลล์-ร่มเกล้า โครงการเคหะชุมชนศรีสะเกษ 2 (โพนข่า) โครงการเคหะชุมชนบุรีรัมย์ (อีสาน 2) และโครงการนนทบุรี (วัดพระเงิน) และจะให้ความสำคัญกับการทำระบบป้องกันน้ำท่วมตาม พื้นที่หลักที่ประสบปัญหาน้ำท่วม เช่น บางบัวทอง ปทุมธานี นครปฐม
ขณะเดียวกันก็ได้ศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยลักษณะเดียวกับบ้านเอื้ออาทร ตามนโยบายของนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) แต่จะมีการก่อสร้างเพิ่มเติมอีกกี่หน่วย หรือก่อสร้างในทำเลไหน อยู่ระหว่างการศึกษา ความเป็นไปได้และความต้องการในแต่ละทำเล ซึ่งโครงการใหม่จะไม่ใช้ชื่อ “เอื้ออาทร” อีกแล้ว และยืนยันว่า
“โครงการใหม่ๆ นับจากนี้จะดำเนิน งานด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบ ได้ จะไม่สร้างในทำเลที่ไม่มีความต้องการ เพื่อป้องกันดีมานด์เทียมเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เพราะจากประสบการณ์ 8 ปีที่ผ่านมา มีปัญหาเข้ามาให้แก้ไขหลายเรื่อง จากนี้จึงต้องทำงานด้วยความระมัดระวังมากขึ้น”
สำหรับโครงการเอื้ออาทรในปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีกประมาณ 2 หมื่นหน่วย ซึ่งกคช.จะเร่งสร้าง ส่งมอบ และปิดโครงการให้ได้ภายในปี 2556 และอาจปรับเพิ่มราคาตามต้นทุนและทำเลที่น้ำไม่ท่วม ซึ่งขณะนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จึงคาดว่าจะปรับราคาเพิ่มอีกประมาณ 10%
นอกจากนี้ มีนโยบายพัฒนาโครงการบ้านเอื้ออาทร ประหยัดพลังงาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งอยู่ระหว่างประสานความร่วมมือกับบริษัท เซลเลนเนียม (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ฮอร์สชู พอยท์ จำกัด ในการศึกษาพัฒนาบ้าน และชุมชนให้เป็นต้นแบบในการประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการใช้พลังงาน
โดยร่วมกันหาแนวทางการใช้พลังงานทดแทน โดยเฉพาะจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ในบ้าน และชุมชนอย่างยั่งยืน คาดว่าโครงการต้นแบบแห่งแรกจะเริ่มได้ในปี 2556 เช่นกัน
โดยการเคหะแห่งชาติจะดำเนินการวางผังโครงการออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน รวมทั้งประเมินผลสำเร็จในด้านการวางระบบสาธารณูปโภค และการบริหารจัดการภายในชุมชนตลอดโครงการ ตลอดจนศึกษาแนวทางการจัด หาแหล่งเงินทุนในการก่อสร้างบ้านต้นแบบ โดยใช้ระบบอุตสาหกรรมแบบ Dried Construction ร่วมกับบริษัท เซลเลนเนียม (ประเทศไทย) จำกัด ส่วนบริษัท เซลเลนเนียมฯ จะดำเนินการออกแบบและจัดทำระบบต่างๆ ของบ้านและชุมชนต้นแบบ
โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าให้มีปริมาณมากเกินกว่าการใช้ในชุมชนเพื่อจำหน่ายเข้าระบบ และจัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของโครงการ และบริษัท ฮอร์สชู พอยท์ จำกัด จะดำเนินการจัดหาที่ดินเพื่อก่อสร้างชุมชน และที่ดินทำการเกษตรอย่างยั่งยืน รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานวิจัย ทั้งสามหน่วยงานจะดำเนินการทดสอบความคิดเห็นทางวิชาการและการวิจัยตลาดร่วมกัน
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ซื้อบ้านในโครง การนี้จะมีต้นทุนเพิ่มหน่วยละ 9 หมื่น-1 แสนบาท หรือมีภาระในการผ่อนชำระเพิ่มขึ้นจากค่างวดปกติอีกเดือนละ 1,000 บาท ใน 8 ปีแรกของการผ่อนชำระ
ที่มา : หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจฉบับวันที่ 1 - 3 ก.พ. 2555
เริ่มตั้งแต่ปี2555-2561 โดยในระยะแรกจะจัดสร้างจำนวน 25 โครงการ ประมาณ 15,000 หน่วย เช่น โครงการ พาร์ควิลล์-ร่มเกล้า โครงการเคหะชุมชนศรีสะเกษ 2 (โพนข่า) โครงการเคหะชุมชนบุรีรัมย์ (อีสาน 2) และโครงการนนทบุรี (วัดพระเงิน) และจะให้ความสำคัญกับการทำระบบป้องกันน้ำท่วมตาม พื้นที่หลักที่ประสบปัญหาน้ำท่วม เช่น บางบัวทอง ปทุมธานี นครปฐม
ขณะเดียวกันก็ได้ศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยลักษณะเดียวกับบ้านเอื้ออาทร ตามนโยบายของนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) แต่จะมีการก่อสร้างเพิ่มเติมอีกกี่หน่วย หรือก่อสร้างในทำเลไหน อยู่ระหว่างการศึกษา ความเป็นไปได้และความต้องการในแต่ละทำเล ซึ่งโครงการใหม่จะไม่ใช้ชื่อ “เอื้ออาทร” อีกแล้ว และยืนยันว่า
“โครงการใหม่ๆ นับจากนี้จะดำเนิน งานด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบ ได้ จะไม่สร้างในทำเลที่ไม่มีความต้องการ เพื่อป้องกันดีมานด์เทียมเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เพราะจากประสบการณ์ 8 ปีที่ผ่านมา มีปัญหาเข้ามาให้แก้ไขหลายเรื่อง จากนี้จึงต้องทำงานด้วยความระมัดระวังมากขึ้น”
สำหรับโครงการเอื้ออาทรในปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีกประมาณ 2 หมื่นหน่วย ซึ่งกคช.จะเร่งสร้าง ส่งมอบ และปิดโครงการให้ได้ภายในปี 2556 และอาจปรับเพิ่มราคาตามต้นทุนและทำเลที่น้ำไม่ท่วม ซึ่งขณะนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จึงคาดว่าจะปรับราคาเพิ่มอีกประมาณ 10%
นอกจากนี้ มีนโยบายพัฒนาโครงการบ้านเอื้ออาทร ประหยัดพลังงาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งอยู่ระหว่างประสานความร่วมมือกับบริษัท เซลเลนเนียม (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ฮอร์สชู พอยท์ จำกัด ในการศึกษาพัฒนาบ้าน และชุมชนให้เป็นต้นแบบในการประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการใช้พลังงาน
โดยร่วมกันหาแนวทางการใช้พลังงานทดแทน โดยเฉพาะจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ในบ้าน และชุมชนอย่างยั่งยืน คาดว่าโครงการต้นแบบแห่งแรกจะเริ่มได้ในปี 2556 เช่นกัน
โดยการเคหะแห่งชาติจะดำเนินการวางผังโครงการออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน รวมทั้งประเมินผลสำเร็จในด้านการวางระบบสาธารณูปโภค และการบริหารจัดการภายในชุมชนตลอดโครงการ ตลอดจนศึกษาแนวทางการจัด หาแหล่งเงินทุนในการก่อสร้างบ้านต้นแบบ โดยใช้ระบบอุตสาหกรรมแบบ Dried Construction ร่วมกับบริษัท เซลเลนเนียม (ประเทศไทย) จำกัด ส่วนบริษัท เซลเลนเนียมฯ จะดำเนินการออกแบบและจัดทำระบบต่างๆ ของบ้านและชุมชนต้นแบบ
โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าให้มีปริมาณมากเกินกว่าการใช้ในชุมชนเพื่อจำหน่ายเข้าระบบ และจัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของโครงการ และบริษัท ฮอร์สชู พอยท์ จำกัด จะดำเนินการจัดหาที่ดินเพื่อก่อสร้างชุมชน และที่ดินทำการเกษตรอย่างยั่งยืน รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานวิจัย ทั้งสามหน่วยงานจะดำเนินการทดสอบความคิดเห็นทางวิชาการและการวิจัยตลาดร่วมกัน
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ซื้อบ้านในโครง การนี้จะมีต้นทุนเพิ่มหน่วยละ 9 หมื่น-1 แสนบาท หรือมีภาระในการผ่อนชำระเพิ่มขึ้นจากค่างวดปกติอีกเดือนละ 1,000 บาท ใน 8 ปีแรกของการผ่อนชำระ
ที่มา : หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจฉบับวันที่ 1 - 3 ก.พ. 2555