การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 13% สะท้อนจากการนำเข้าสินค้าทุน โดยมีการนำเข้าเครื่องจักร
สศค.ชี้เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้วในเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา หลังเครื่องชี้เศรษฐกิจเดือน ธ.ค.ที่ผ่านเริ่มส่งสัญญาณดีขึ้น ทั้งการบริโภค การลงทุน และการส่งออก เชื่อทั้งปีจีดีพีขยายตัวได้เฉลี่ย 5%
สศค.ชี้เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้วในเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา หลังเครื่องชี้เศรษฐกิจเดือน ธ.ค.ที่ผ่านเริ่มส่งสัญญาณดีขึ้น ทั้งการบริโภค การลงทุน และการส่งออก เชื่อทั้งปีจีดีพีขยายตัวได้เฉลี่ย 5%
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ยืนยันว่า เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้วเมื่อเดือน พ.ย. หรือลบ 5% ในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว หลังรับผลกระทบจากวิกฤติน้ำท่วมปลายปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่เดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา เห็นสัญญาณการฟื้นตัวจากเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจหลายด้าน ทำให้คาดเศรษฐกิจจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ต่อเนื่องจาก 2% ในไตรมาสแรก และสูงสุด 7% ในไตรมาส 4 หรือขยายตัวเฉลี่ยทั้งปี 5% จากปีนี้คาดขยายตัวได้เพียง 1.1%
ตัวเลขเศรษฐกิจเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา ไม่ว่าตัวเลขด้านการบริโภค การลงทุน การส่งออก ปรับตัวดีขึ้นจากเดือน พ.ย.ฉะนั้น จึงยืนยันได้ว่า เศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว และนับตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไป เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัว ซึ่งเราประเมินว่า จีดีพีปีนี้จะโตเฉลี่ยได้ที่ 5% เขากล่าว
การบริโภคเพิ่มขึ้นสะท้อนจากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.8% และปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัว 1% ส่งผลให้ไตรมาส 4 ยอดภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัว 6.6% ชะลอจากเดือนก่อนที่ขยายตัว 10.6% สอดคล้องกับปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคที่ขยายตัว 16.7% เร่งจากเดือนก่อนที่ขยายตัว 3.9% การบริโภคสินค้าคงทนยังขยายตัวได้ดี จากยอดจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถจักรยานยนต์ยังหดตัว จากรายได้เกษตรที่ลดลง
ด้านการลงทุนภาคเอกชน ก็มีสัญญาณฟื้นตัวเช่นกัน โดยเฉพาะการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณนำเข้าสินค้าทุนเดือน ธ.ค.ขยายตัว 13% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่หดตัว 4.1% ส่วนเครื่องชี้การลงทุนหมวดก่อสร้างวัดจากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัว 4.3% เทียบกับปีก่อนจากเดือนที่หดตัว 14.4% ส่วนการส่งออกปรับตัวดีขึ้น โดยมูลค่าส่งออกหดตัว 2% เมื่อเทียบกับที่หดตัว 14.4% ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงความสามารถการผลิตเพื่อการส่งออกเริ่มปรับตัวดีขึ้น ท่ามกลางความไม่แน่นอนจากเศรษฐกิจโลกจากวิกฤติหนี้สาธารณะของยุโรป
ส่วนเครื่องชี้วัดจากการผลิต พบว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมฟื้นตัวดีขึ้นจากช่วง 2 เดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นช่วงที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงวิกฤติอุทกภัย โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน ธ.ค.หดตัว 25.8% เทียบกับที่หดตัว 47.2% ในเดือนก่อนหน้า เป็นการหดตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมการเกษตรโดยเฉพาะยางพารา และภาคบริการที่สะท้อนจากนักท่องเที่ยวต่างชาติต่างปรับตัวดีขึ้นเดือน ธ.ค.2554 เช่นกัน
ยอดนักท่องเที่ยวเดือน ธ.ค.หดตัว 2.47% ลดลงจากเดือน พ.ย.ที่หดตัว 17.9% และเป็นครั้งแรกที่จำนวนนักท่องเที่ยวของไทยติดลบ 4.4% ในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว
นายสมชัย กล่าวด้วยว่า ระยะต่อไปต้องติดตามความคืบหน้าการแก้ไขวิกฤติหนี้สาธารณะของสหภาพยุโรปใกล้ชิด เพราะจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นและภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวม ซึ่งก็จะมีผลต่อการส่งออกและความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุน ซึ่งการประมาณการเศรษฐกิจทั้งปีคำนวณความเสี่ยงจากปัญหานี้แล้ว แต่หากความรุนแรงของปัญหามีเพิ่มขึ้น อาจส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจทั้งปี ซึ่งต้องประเมินในระยะต่อไป
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ตัวเลขเศรษฐกิจเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา ไม่ว่าตัวเลขด้านการบริโภค การลงทุน การส่งออก ปรับตัวดีขึ้นจากเดือน พ.ย.ฉะนั้น จึงยืนยันได้ว่า เศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว และนับตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไป เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัว ซึ่งเราประเมินว่า จีดีพีปีนี้จะโตเฉลี่ยได้ที่ 5% เขากล่าว
การบริโภคเพิ่มขึ้นสะท้อนจากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.8% และปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัว 1% ส่งผลให้ไตรมาส 4 ยอดภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัว 6.6% ชะลอจากเดือนก่อนที่ขยายตัว 10.6% สอดคล้องกับปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคที่ขยายตัว 16.7% เร่งจากเดือนก่อนที่ขยายตัว 3.9% การบริโภคสินค้าคงทนยังขยายตัวได้ดี จากยอดจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถจักรยานยนต์ยังหดตัว จากรายได้เกษตรที่ลดลง
ด้านการลงทุนภาคเอกชน ก็มีสัญญาณฟื้นตัวเช่นกัน โดยเฉพาะการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณนำเข้าสินค้าทุนเดือน ธ.ค.ขยายตัว 13% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่หดตัว 4.1% ส่วนเครื่องชี้การลงทุนหมวดก่อสร้างวัดจากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัว 4.3% เทียบกับปีก่อนจากเดือนที่หดตัว 14.4% ส่วนการส่งออกปรับตัวดีขึ้น โดยมูลค่าส่งออกหดตัว 2% เมื่อเทียบกับที่หดตัว 14.4% ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงความสามารถการผลิตเพื่อการส่งออกเริ่มปรับตัวดีขึ้น ท่ามกลางความไม่แน่นอนจากเศรษฐกิจโลกจากวิกฤติหนี้สาธารณะของยุโรป
ส่วนเครื่องชี้วัดจากการผลิต พบว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมฟื้นตัวดีขึ้นจากช่วง 2 เดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นช่วงที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงวิกฤติอุทกภัย โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน ธ.ค.หดตัว 25.8% เทียบกับที่หดตัว 47.2% ในเดือนก่อนหน้า เป็นการหดตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมการเกษตรโดยเฉพาะยางพารา และภาคบริการที่สะท้อนจากนักท่องเที่ยวต่างชาติต่างปรับตัวดีขึ้นเดือน ธ.ค.2554 เช่นกัน
ยอดนักท่องเที่ยวเดือน ธ.ค.หดตัว 2.47% ลดลงจากเดือน พ.ย.ที่หดตัว 17.9% และเป็นครั้งแรกที่จำนวนนักท่องเที่ยวของไทยติดลบ 4.4% ในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว
นายสมชัย กล่าวด้วยว่า ระยะต่อไปต้องติดตามความคืบหน้าการแก้ไขวิกฤติหนี้สาธารณะของสหภาพยุโรปใกล้ชิด เพราะจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นและภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวม ซึ่งก็จะมีผลต่อการส่งออกและความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุน ซึ่งการประมาณการเศรษฐกิจทั้งปีคำนวณความเสี่ยงจากปัญหานี้แล้ว แต่หากความรุนแรงของปัญหามีเพิ่มขึ้น อาจส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจทั้งปี ซึ่งต้องประเมินในระยะต่อไป
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ