บอร์ดกทพ.เร่งชงคมนาคมสนับสนุน 2 เมกะโปรเจ็กต์ปี 2555 ไฮไลต์อยู่ที่การสร้างทางด่วนเชื่อมโยงเส้นทางเดิมออกสู่จังหวัดใกล้เคียงกทม. 4 มุมเมือง 5 เส้นทางรวมกว่า 500 กิโลเมตร หวังกระจายความเจริญของเมืองและเพิ่มโครงข่ายการเดินทางให้มากขึ้น และแผนการพัฒนาเชิงพาณิชย์ในที่ดินใต้เขตทางเพิ่มรายได้เสริม เพื่อแก้ปัญหาภาระหนี้กทพ.ให้หมดไปโดยเร็ว
แหล่งข่าวระดับสูงจากคณะกรรมการ(บอร์ด)การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ในการประชุมคณะกรรมการ การทางพิเศษแห่งประเทศไทยครั้งต่อไป จะมีการเสนอเรื่องสำคัญๆจำนวน 2 เรื่องเข้าสู่การพิจารณา คือ 1.จะเร่งสรุปให้มีการนำเสนอโครงการก่อสร้างทางด่วนเชื่อมโยงจากเส้นทางที่มีอยู่เดิมออกไปสู่จังหวัดต่างๆ เพื่อเพิ่มระยะทางหรือโครงข่ายทางด่วนมากขึ้นครอบคลุม 4 มุมเมือง และ 2. เรื่องแผนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ใต้เขตทาง นอกเหนือจาก 5 แห่งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำเสนอ ซึ่งในปีนี้จะต้องเห็นผลเป็นรูปธรรมทั้งหมด โดยจะต้องนำเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาให้การสนับสนุนและเร่งผลักดันต่อไป
สำหรับโครงการก่อสร้างทางด่วนเพิ่มเติมจากเส้นทางที่มีอยู่เดิมนั้น ประกอบด้วย 1.โครงการทางพิเศษสายบูรพาวิถี-พัทยา ที่ต่อเชื่อมจากเดิมสิ้นสุดด่านชลบุรีมุ่งไปทางทิศใต้ตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3(สุขุมวิท)ไปสิ้นสุดที่พัทยา ระยะทางประมาณ 57 กิโลเมตร 2.โครงการทางพิเศษสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันออก-สระบุรี โดยต่อเชื่อมจากทางพิเศษฉลองรัช ช่วงด่านจตุโชติมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือผ่านถนนรังสิต-นครนายก อำเภอหนองแค อำเภอวิหารแดง ไปสิ้นสุดที่จังหวัดสระบุรี ระยะทางประมาณ 63 กิโลเมตร 3.โครงการทางพิเศษสายบางปะอิน-ป่าโมก-นครสวรรค์ เชื่อมโยงไปทางภาคเหนือเริ่มจากทางพิเศษสายอุดรรัถยาที่บริเวณด่านบางปะอิน ผ่านอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสิงห์บุรี ไปสิ้นสุดที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ระยะทางประมาณ 183 กิโลเมตร
4.โครงการทางพิเศษสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตก-นครปฐม เริ่มจากทางพิเศษสายยกระดับบนถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตกที่บริเวณจุดตัดกับทางรถไฟสายใต้ มุ่งไปทางทิศตะวันตกตามแนวทางรถไฟสายใต้ ไปสิ้นสุดที่ทางหลวงหมายเลข 321 (ถนนมาลัยแมน) อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร และ 5.โครงการทางพิเศษสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตกปราณบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ เชื่อมโยงไปสู่ภาคใต้เชื่อมจากทางพิเศษกาญจนาภิเษก(บางพลี-สุขสวัสดิ์)ที่บริเวณทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน มุ่งไปตามแนวทางหลวงหมายเลข 35(ธนบุรี-ปากท่อ)ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดเพชรบุรี ไปสิ้นสุดที่อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระยะทางประมาณ 256 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้ง 5 เส้นทาง 586 กิโลเมตร
"เส้นทางเดิมรัฐลงทุนเองทั้งหมด แต่เส้นทางเชื่อมโยงใหม่นี้ แนวคิดด้านการลงทุนของนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ต้องการให้ภาคเอกชนร่วมลงทุน ซึ่งคงจะต้องมีการเจรจากันต่อไปภายใต้การพิจารณาของคณะกรรมการตามมาตรา 13 ปัจจุบันระยะทางรวมของเส้นทางเดิมที่มีอยู่ประมาณ 207.9 กิโลเมตร หากเพิ่มอีก 5 เส้นทางใหม่ก็จะได้เกือบ 800 กิโลเมตร จึงสามารถเพิ่มโครงข่ายคมนาคมด้านการขนส่งและโลจิสติกส์สู่พื้นที่จังหวัดต่างๆได้อีกทางหนึ่งด้วย"
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ส่วนอีกหนึ่งโครงการที่จะเร่งดำเนินการในปี 2555 คือ การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ใต้ทางด่วน ที่ต้องเร่งดำเนินการให้ได้มากที่สุด นอกเหนือจากจำนวน 5 แห่งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ศึกษาไว้ โดยจุดใต้ทางด่วนสุขุมวิทได้พัฒนานำร่องไปแล้วคาดว่าจะมีรายได้เข้ามาสู่กทพ.ได้อีกในปีนี้ ส่วนที่เหลือก็คงต้องเร่งนำเสนอ เพื่อให้ครบทั้งหมดตามแผนต่อไป โดยรายได้ส่วนหนึ่งยังสามารถนำมาช่วยในการปรับลดภาระหนี้ของ กทพ.ได้อีกด้วย
"คอนเซ็ปต์ให้เป็นทั้งลานกีฬา สวนสุขภาพ ร้านอาหาร ศูนย์พยาบาลที่ทันสมัย ครบวงจร เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงสามารถเข้าถึงการบริการอย่างสะดวกสบาย รวดเร็ว เพื่อให้เป็นสถานที่พักผ่อนเพื่อการผ่อนคลายด้วยการจัดระเบียบให้สวยงามเป็นสัดส่วน คาดว่าเมื่อพัฒนาได้ครบทั้งหมดน่าจะสร้างรายได้ให้กทพ.ไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท งบประมาณส่วนหนึ่งต้องนำกลับคืนไปพัฒนาบำรุงรักษาดูแลสถานที่นั้นๆอีกด้วย"
สำหรับทำเลเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั้ง 5 แห่งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศึกษาเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ 1.บริเวณถนนสุขุมวิท 2.บริเวณถนนสีลม 3.บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิถึงซอยศาสนา 4.บริเวณถนนประดิษฐมนูธรรม และ 5. บริเวณทางเข้าด่านเก็บค่าผ่านทางจตุโชติ โดยขณะนี้กทพ.ได้มอบพื้นที่ใต้ทางพิเศษสุขุมวิทให้กับกระทรวงสาธารณสุขไปดำเนินการสร้างศูนย์ชุมชนสร้างสรรค์และการจำหน่ายสินค้าโอท็อป ลานสนามเด็กเล่นและลานกีฬาให้บริการประชาชนเรียบร้อยแล้ว
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,714 16-18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
แหล่งข่าวระดับสูงจากคณะกรรมการ(บอร์ด)การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ในการประชุมคณะกรรมการ การทางพิเศษแห่งประเทศไทยครั้งต่อไป จะมีการเสนอเรื่องสำคัญๆจำนวน 2 เรื่องเข้าสู่การพิจารณา คือ 1.จะเร่งสรุปให้มีการนำเสนอโครงการก่อสร้างทางด่วนเชื่อมโยงจากเส้นทางที่มีอยู่เดิมออกไปสู่จังหวัดต่างๆ เพื่อเพิ่มระยะทางหรือโครงข่ายทางด่วนมากขึ้นครอบคลุม 4 มุมเมือง และ 2. เรื่องแผนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ใต้เขตทาง นอกเหนือจาก 5 แห่งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำเสนอ ซึ่งในปีนี้จะต้องเห็นผลเป็นรูปธรรมทั้งหมด โดยจะต้องนำเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาให้การสนับสนุนและเร่งผลักดันต่อไป
สำหรับโครงการก่อสร้างทางด่วนเพิ่มเติมจากเส้นทางที่มีอยู่เดิมนั้น ประกอบด้วย 1.โครงการทางพิเศษสายบูรพาวิถี-พัทยา ที่ต่อเชื่อมจากเดิมสิ้นสุดด่านชลบุรีมุ่งไปทางทิศใต้ตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3(สุขุมวิท)ไปสิ้นสุดที่พัทยา ระยะทางประมาณ 57 กิโลเมตร 2.โครงการทางพิเศษสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันออก-สระบุรี โดยต่อเชื่อมจากทางพิเศษฉลองรัช ช่วงด่านจตุโชติมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือผ่านถนนรังสิต-นครนายก อำเภอหนองแค อำเภอวิหารแดง ไปสิ้นสุดที่จังหวัดสระบุรี ระยะทางประมาณ 63 กิโลเมตร 3.โครงการทางพิเศษสายบางปะอิน-ป่าโมก-นครสวรรค์ เชื่อมโยงไปทางภาคเหนือเริ่มจากทางพิเศษสายอุดรรัถยาที่บริเวณด่านบางปะอิน ผ่านอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสิงห์บุรี ไปสิ้นสุดที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ระยะทางประมาณ 183 กิโลเมตร
4.โครงการทางพิเศษสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตก-นครปฐม เริ่มจากทางพิเศษสายยกระดับบนถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตกที่บริเวณจุดตัดกับทางรถไฟสายใต้ มุ่งไปทางทิศตะวันตกตามแนวทางรถไฟสายใต้ ไปสิ้นสุดที่ทางหลวงหมายเลข 321 (ถนนมาลัยแมน) อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร และ 5.โครงการทางพิเศษสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตกปราณบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ เชื่อมโยงไปสู่ภาคใต้เชื่อมจากทางพิเศษกาญจนาภิเษก(บางพลี-สุขสวัสดิ์)ที่บริเวณทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน มุ่งไปตามแนวทางหลวงหมายเลข 35(ธนบุรี-ปากท่อ)ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดเพชรบุรี ไปสิ้นสุดที่อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระยะทางประมาณ 256 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้ง 5 เส้นทาง 586 กิโลเมตร
"เส้นทางเดิมรัฐลงทุนเองทั้งหมด แต่เส้นทางเชื่อมโยงใหม่นี้ แนวคิดด้านการลงทุนของนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ต้องการให้ภาคเอกชนร่วมลงทุน ซึ่งคงจะต้องมีการเจรจากันต่อไปภายใต้การพิจารณาของคณะกรรมการตามมาตรา 13 ปัจจุบันระยะทางรวมของเส้นทางเดิมที่มีอยู่ประมาณ 207.9 กิโลเมตร หากเพิ่มอีก 5 เส้นทางใหม่ก็จะได้เกือบ 800 กิโลเมตร จึงสามารถเพิ่มโครงข่ายคมนาคมด้านการขนส่งและโลจิสติกส์สู่พื้นที่จังหวัดต่างๆได้อีกทางหนึ่งด้วย"
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ส่วนอีกหนึ่งโครงการที่จะเร่งดำเนินการในปี 2555 คือ การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ใต้ทางด่วน ที่ต้องเร่งดำเนินการให้ได้มากที่สุด นอกเหนือจากจำนวน 5 แห่งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ศึกษาไว้ โดยจุดใต้ทางด่วนสุขุมวิทได้พัฒนานำร่องไปแล้วคาดว่าจะมีรายได้เข้ามาสู่กทพ.ได้อีกในปีนี้ ส่วนที่เหลือก็คงต้องเร่งนำเสนอ เพื่อให้ครบทั้งหมดตามแผนต่อไป โดยรายได้ส่วนหนึ่งยังสามารถนำมาช่วยในการปรับลดภาระหนี้ของ กทพ.ได้อีกด้วย
"คอนเซ็ปต์ให้เป็นทั้งลานกีฬา สวนสุขภาพ ร้านอาหาร ศูนย์พยาบาลที่ทันสมัย ครบวงจร เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงสามารถเข้าถึงการบริการอย่างสะดวกสบาย รวดเร็ว เพื่อให้เป็นสถานที่พักผ่อนเพื่อการผ่อนคลายด้วยการจัดระเบียบให้สวยงามเป็นสัดส่วน คาดว่าเมื่อพัฒนาได้ครบทั้งหมดน่าจะสร้างรายได้ให้กทพ.ไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท งบประมาณส่วนหนึ่งต้องนำกลับคืนไปพัฒนาบำรุงรักษาดูแลสถานที่นั้นๆอีกด้วย"
สำหรับทำเลเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั้ง 5 แห่งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศึกษาเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ 1.บริเวณถนนสุขุมวิท 2.บริเวณถนนสีลม 3.บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิถึงซอยศาสนา 4.บริเวณถนนประดิษฐมนูธรรม และ 5. บริเวณทางเข้าด่านเก็บค่าผ่านทางจตุโชติ โดยขณะนี้กทพ.ได้มอบพื้นที่ใต้ทางพิเศษสุขุมวิทให้กับกระทรวงสาธารณสุขไปดำเนินการสร้างศูนย์ชุมชนสร้างสรรค์และการจำหน่ายสินค้าโอท็อป ลานสนามเด็กเล่นและลานกีฬาให้บริการประชาชนเรียบร้อยแล้ว
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,714 16-18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555