แบงก์ชาติผวาหนี้สาธารณะแตะ 60% ภายใน 4-5 ปี แนะรัฐทยอยลดขาดดุลลง เผยงบปี"56 แม้ขาดดุลแค่ 3 แสนล้าน แต่ยังไม่นับรวมพ.ร.ก.เงินกู้ 3.5 แสนล้าน
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากนี้ไปรัฐบาลควรต้องหาแนวทางทยอยลดการขาดดุลงบประมาณลง เพราะหากประเทศไทยยังต้องขาดดุลงบประมาณในระดับ 3-4% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) แบบนี้ไปเรื่อยๆ อนาคตอีก 4-5 ปีข้างหน้า ตัวเลขหนี้สาธารณะของประเทศไทยอาจปรับขึ้นมาอยู่ในระดับ 60% ของจีดีพีได้
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากนี้ไปรัฐบาลควรต้องหาแนวทางทยอยลดการขาดดุลงบประมาณลง เพราะหากประเทศไทยยังต้องขาดดุลงบประมาณในระดับ 3-4% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) แบบนี้ไปเรื่อยๆ อนาคตอีก 4-5 ปีข้างหน้า ตัวเลขหนี้สาธารณะของประเทศไทยอาจปรับขึ้นมาอยู่ในระดับ 60% ของจีดีพีได้
การลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐาน ถือว่ามีความจำเป็น และต้องทำ แต่ต้องคำนึงถึงผลในระยะยาวด้วย เพราะถ้าเรายังขาดดุลงบประมาณในระดับ 3-4% ของจีดีพีไปเรื่อยๆ อีกไม่นานหนี้สาธารณะมีโอกาสสูงถึง 60% ใน 4-5 ปีข้างหน้าได้ ดังนั้นเราต้องพยายามทยอยลดการขาดดุลลง เพื่อให้ฐานะการคลังมีความยั่งยืนและมีวินัย นายไพบูลย์กล่าว
กรณีที่รัฐบาลตั้งงบประมาณขาดดุลในปีงบประมาณ 2556 ไว้จำนวน 3 แสนล้านบาทนั้น แม้เป็นตัวเลขการขาดดุลที่ดูลดลง แต่ถ้ารวมกับพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงิน 3.5 แสนล้านบาทนั้น เท่ากับว่ารัฐบาลจะมีการขาดดุลงบประมาณในปี 2556 ถึง 6.5 แสนล้านบาท
ชี้ขาดดุลเพื่อการลงทุนรับได้
ในส่วนของ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลัง กู้เงินฯ 3.5 แสนล้านบาทนั้น ต้องติดตามดูว่า จะมีการเบิกจ่ายในปี 2556 ได้จริงมากน้อยแค่ไหน ถ้าสมมติฐานว่าจะมีการเบิกจ่ายได้จริงประมาณครึ่งหนึ่ง หรือประมาณ 1.75 แสนล้านบาท ก็เท่ากับว่าในปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลจะมีการขาดดุลงบรวม 4.75 แสนล้านบาท ซึ่งถือเป็นตัวเลขการขาดดุลฯ ที่ค่อนข้างสูงเช่นกัน แต่หากเป็นการขาดดุลเพื่อการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วม ก็ไม่น่าจะมีปัญหา
หากเป็นการขาดดุล เพื่อการลงทุนที่มีประโยชน์ เช่น การเพิ่มศักยภาพให้กับประเทศ การปรับปรุงระบบโทรคมนาคมขนส่ง ปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค ระบบป้องกันน้ำท่วม พวกนี้ก็ถือเป็นเรื่องดี แต่ถ้าเราจะเพิ่มการลงทุนอะไร เราก็ควรต้องดูด้วย เพราะทรัพยากรที่มีอยู่ ไม่ได้มีแบบไร้จำกัด ดังนั้นก็ต้องตัดทอนการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป นายไพบูลย์ กล่าว
แนะรัฐเร่งหาช่องเพิ่มรายได้
ส่วนประเด็นที่รัฐบาลควรต้องเร่งทำ คือ การหาช่องทางในการเพิ่มรายได้ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นโจทย์ถาวรของประเทศไทย โดยประเทศไทยควรต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี การขยายฐานภาษี ขณะที่ช่องทางการหารายได้ของรัฐบาลที่ดูเหมือนจะลดลงไปนั้น ก็ถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลเช่นกัน เพราะในขณะที่การลงทุนและการใช้จ่ายของภาครัฐมีมากขึ้น การขยายฐานรายได้ในการจัดเก็บภาษีก็ควรต้องเพิ่มตามไปด้วย
ด้าน นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจการเงิน ธปท. กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้มีแนวโน้มว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง และมีโอกาสที่การเติบโตทางเศรษฐกิจจะสูงกว่าตัวเลขที่ ธปท. เคยประมาณการไว้ที่ 4.9% ซึ่งเป็นผลจากฐานของเศรษฐกิจปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับที่ต่ำ
สำหรับแรงหนุนเศรษฐกิจไทยในปีนี้ ปัจจัยหลักน่าจะมาจากแรงกระตุ้นภายในประเทศ ทั้งจากภาคเอกชนและภาครัฐ โดยเฉพาะการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย โรงงาน รวมถึงการลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่เพื่อมาทดแทนของเดิมที่ได้รับความเสียหายจากปัญหาอุทกภัย
ส่วนภาคการผลิต ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวได้ตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปีนี้เป็นต้นไป
การประมาณการเศรษฐกิจครั้งต่อไปในเดือนพ.ค. มีความเป็นไปได้สูงที่เราจะปรับประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยเพิ่มมากขึ้น เพราะฐานปีที่แล้วค่อนข้างต่ำ ประกอบกับปีนี้ยังมีแรงกระตุ้นเศรษฐกิจหลายด้าน ทั้งจากภาครัฐและเอกชน นายเมธี กล่าว
ยอมรับตัวเลขเงินเฟ้อไม่ลดลง
ขณะที่แนวโน้มเงินเฟ้อนั้น นายเมธี กล่าวยอมรับว่า เงินเฟ้อปีนี้อาจไม่ได้ปรับลดลงไปมากนัก เนื่องจากภาครัฐมีนโยบายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เงินเดือนข้าราชการ 15,000 บาท การเก็งภาษีสรรพสามิต การเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ประกอบกับราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้เงินเฟ้อปีนี้ไม่ได้ลดลงไปมากนัก
นายเมธี กล่าวว่า ปัจจัยที่ยังต้องติดตามในระยะต่อไป คือ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐ ที่แม้จะเริ่มดีขึ้นหลังธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณคงอัตราดอกเบี้ยไปอีกระยะหนึ่ง และสถานการณ์ในยุโรปที่แม้ว่ายุโรปจะตัดสินใจปล่อยกู้ให้กับกรีซรอบใหม่ แต่ดูเหมือนการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างยังไม่มีสัญญาณที่ดีขึ้นมากนัก
เขายังเชื่อว่าปัจจัยเหล่านี้ไม่น่าจะกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยมากนัก เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยเริ่มกระจายความเสี่ยงไปยังประเทศอื่นๆ มากขึ้น โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชีย ขณะที่ปัญหาการเมืองในประเทศ ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะถ้ามีเหตุการณ์ที่ไม่ดีเกิดขึ้นอาจทำให้เศรษฐกิจไทยไม่สามารถขยายตัวได้เต็มศักยภาพที่ประเมินไว้
ยอมรับว่าปัญหาการเมืองและภัยธรรมชาติเป็นเรื่องที่คาดการณ์ได้ยากมาก แม้ที่ผ่านมาจะเห็นว่าเหตุการณ์ทางการเมืองแม้จะเกิดเหตุรุนแรง ประเทศยังสามารถดำเนินไปได้ แต่สิ่งที่หลายคนกังวล คือ อาจส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ไม่เต็มศักยภาพเท่านั้น นายเมธีกล่าว
ส่วนเหตุการณ์ก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา คาดว่าจะไม่กระทบต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศอย่างแน่นอน เนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ขยายวงกว้าง และเป้าหมายของผู้ก่อการร้ายไม่ใช่พื้นที่สาธารณะ แต่ทั้งนี้เหตุการณ์ดังกล่าวอาจกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวในระยะสั้นได้บ้าง
ที่มา: บางกอกโพส
กรณีที่รัฐบาลตั้งงบประมาณขาดดุลในปีงบประมาณ 2556 ไว้จำนวน 3 แสนล้านบาทนั้น แม้เป็นตัวเลขการขาดดุลที่ดูลดลง แต่ถ้ารวมกับพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงิน 3.5 แสนล้านบาทนั้น เท่ากับว่ารัฐบาลจะมีการขาดดุลงบประมาณในปี 2556 ถึง 6.5 แสนล้านบาท
ชี้ขาดดุลเพื่อการลงทุนรับได้
ในส่วนของ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลัง กู้เงินฯ 3.5 แสนล้านบาทนั้น ต้องติดตามดูว่า จะมีการเบิกจ่ายในปี 2556 ได้จริงมากน้อยแค่ไหน ถ้าสมมติฐานว่าจะมีการเบิกจ่ายได้จริงประมาณครึ่งหนึ่ง หรือประมาณ 1.75 แสนล้านบาท ก็เท่ากับว่าในปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลจะมีการขาดดุลงบรวม 4.75 แสนล้านบาท ซึ่งถือเป็นตัวเลขการขาดดุลฯ ที่ค่อนข้างสูงเช่นกัน แต่หากเป็นการขาดดุลเพื่อการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วม ก็ไม่น่าจะมีปัญหา
หากเป็นการขาดดุล เพื่อการลงทุนที่มีประโยชน์ เช่น การเพิ่มศักยภาพให้กับประเทศ การปรับปรุงระบบโทรคมนาคมขนส่ง ปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค ระบบป้องกันน้ำท่วม พวกนี้ก็ถือเป็นเรื่องดี แต่ถ้าเราจะเพิ่มการลงทุนอะไร เราก็ควรต้องดูด้วย เพราะทรัพยากรที่มีอยู่ ไม่ได้มีแบบไร้จำกัด ดังนั้นก็ต้องตัดทอนการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป นายไพบูลย์ กล่าว
แนะรัฐเร่งหาช่องเพิ่มรายได้
ส่วนประเด็นที่รัฐบาลควรต้องเร่งทำ คือ การหาช่องทางในการเพิ่มรายได้ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นโจทย์ถาวรของประเทศไทย โดยประเทศไทยควรต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี การขยายฐานภาษี ขณะที่ช่องทางการหารายได้ของรัฐบาลที่ดูเหมือนจะลดลงไปนั้น ก็ถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลเช่นกัน เพราะในขณะที่การลงทุนและการใช้จ่ายของภาครัฐมีมากขึ้น การขยายฐานรายได้ในการจัดเก็บภาษีก็ควรต้องเพิ่มตามไปด้วย
ด้าน นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจการเงิน ธปท. กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้มีแนวโน้มว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง และมีโอกาสที่การเติบโตทางเศรษฐกิจจะสูงกว่าตัวเลขที่ ธปท. เคยประมาณการไว้ที่ 4.9% ซึ่งเป็นผลจากฐานของเศรษฐกิจปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับที่ต่ำ
สำหรับแรงหนุนเศรษฐกิจไทยในปีนี้ ปัจจัยหลักน่าจะมาจากแรงกระตุ้นภายในประเทศ ทั้งจากภาคเอกชนและภาครัฐ โดยเฉพาะการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย โรงงาน รวมถึงการลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่เพื่อมาทดแทนของเดิมที่ได้รับความเสียหายจากปัญหาอุทกภัย
ส่วนภาคการผลิต ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวได้ตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปีนี้เป็นต้นไป
การประมาณการเศรษฐกิจครั้งต่อไปในเดือนพ.ค. มีความเป็นไปได้สูงที่เราจะปรับประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยเพิ่มมากขึ้น เพราะฐานปีที่แล้วค่อนข้างต่ำ ประกอบกับปีนี้ยังมีแรงกระตุ้นเศรษฐกิจหลายด้าน ทั้งจากภาครัฐและเอกชน นายเมธี กล่าว
ยอมรับตัวเลขเงินเฟ้อไม่ลดลง
ขณะที่แนวโน้มเงินเฟ้อนั้น นายเมธี กล่าวยอมรับว่า เงินเฟ้อปีนี้อาจไม่ได้ปรับลดลงไปมากนัก เนื่องจากภาครัฐมีนโยบายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เงินเดือนข้าราชการ 15,000 บาท การเก็งภาษีสรรพสามิต การเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ประกอบกับราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้เงินเฟ้อปีนี้ไม่ได้ลดลงไปมากนัก
นายเมธี กล่าวว่า ปัจจัยที่ยังต้องติดตามในระยะต่อไป คือ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐ ที่แม้จะเริ่มดีขึ้นหลังธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณคงอัตราดอกเบี้ยไปอีกระยะหนึ่ง และสถานการณ์ในยุโรปที่แม้ว่ายุโรปจะตัดสินใจปล่อยกู้ให้กับกรีซรอบใหม่ แต่ดูเหมือนการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างยังไม่มีสัญญาณที่ดีขึ้นมากนัก
เขายังเชื่อว่าปัจจัยเหล่านี้ไม่น่าจะกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยมากนัก เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยเริ่มกระจายความเสี่ยงไปยังประเทศอื่นๆ มากขึ้น โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชีย ขณะที่ปัญหาการเมืองในประเทศ ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะถ้ามีเหตุการณ์ที่ไม่ดีเกิดขึ้นอาจทำให้เศรษฐกิจไทยไม่สามารถขยายตัวได้เต็มศักยภาพที่ประเมินไว้
ยอมรับว่าปัญหาการเมืองและภัยธรรมชาติเป็นเรื่องที่คาดการณ์ได้ยากมาก แม้ที่ผ่านมาจะเห็นว่าเหตุการณ์ทางการเมืองแม้จะเกิดเหตุรุนแรง ประเทศยังสามารถดำเนินไปได้ แต่สิ่งที่หลายคนกังวล คือ อาจส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ไม่เต็มศักยภาพเท่านั้น นายเมธีกล่าว
ส่วนเหตุการณ์ก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา คาดว่าจะไม่กระทบต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศอย่างแน่นอน เนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ขยายวงกว้าง และเป้าหมายของผู้ก่อการร้ายไม่ใช่พื้นที่สาธารณะ แต่ทั้งนี้เหตุการณ์ดังกล่าวอาจกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวในระยะสั้นได้บ้าง
ที่มา: บางกอกโพส