กทพ. ทุ่มกว่าแสนล้านทะลวงแก้จราจรติดขัด ผุดทางด่วนลัดลงภาคใต้สายใหม่ ชู แนวพระราม2-แยกวังมะนาวจังหวัดเพชรบุรี 6ช่องจราจรยาว 80 กม. จ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสม
งบไม่ต่ำ 4-5 หมื่นล. เชื่อมต่อ โครงการ สายศรีรัช-ดาวคะนอง ที่จะทำเป็นทางสองชั้น เผยแผน 10 ปี เร่งผุดทางด่วนเชื่อมกทม.-ปริมณฑล 4 สาย ใช้ครบปี 2565
แหล่งข่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ" ขณะนี้กทพ.ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเป็นไปได้สำหรับโครงการก่อสร้างทางพิเศษ (ทางด่วน)สายเชื่อมต่อโครงการดาวคะนองวงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก โดยจะเชื่อม โครงการด่วน ใหม่ เข้าด้วยกันซึ่งเป็นส่วนต่อขยาย คือ โครงการดาวคะนอง-วงแหวน -วังมะนาว โดยจุดเริ่มต้นจะเชื่อมต่อกับโครงการทางด่วนดาวคะนอง -วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก บริเวณถนนพระราม2 หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข35 ตัดกับถนนเพชรเกษมหรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข4 จากนั้นจะคร่อมแนวถนนเดิม ไปบรรจบบริเวณแยกวังมะนาว ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างจังหวัดราชบุรีกับจังหวัดเพชรบุรี ขนาด 6 ช่องจราจรพร้อมด่านเก็บเงินระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร ประเมินเบื้องต้นน่าจะใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 4-5 หมื่นล้านบาท
งบไม่ต่ำ 4-5 หมื่นล. เชื่อมต่อ โครงการ สายศรีรัช-ดาวคะนอง ที่จะทำเป็นทางสองชั้น เผยแผน 10 ปี เร่งผุดทางด่วนเชื่อมกทม.-ปริมณฑล 4 สาย ใช้ครบปี 2565
แหล่งข่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ" ขณะนี้กทพ.ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเป็นไปได้สำหรับโครงการก่อสร้างทางพิเศษ (ทางด่วน)สายเชื่อมต่อโครงการดาวคะนองวงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก โดยจะเชื่อม โครงการด่วน ใหม่ เข้าด้วยกันซึ่งเป็นส่วนต่อขยาย คือ โครงการดาวคะนอง-วงแหวน -วังมะนาว โดยจุดเริ่มต้นจะเชื่อมต่อกับโครงการทางด่วนดาวคะนอง -วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก บริเวณถนนพระราม2 หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข35 ตัดกับถนนเพชรเกษมหรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข4 จากนั้นจะคร่อมแนวถนนเดิม ไปบรรจบบริเวณแยกวังมะนาว ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างจังหวัดราชบุรีกับจังหวัดเพชรบุรี ขนาด 6 ช่องจราจรพร้อมด่านเก็บเงินระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร ประเมินเบื้องต้นน่าจะใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 4-5 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้เนื่องจากถนนพระราม2 ซึ่งเป็นเส้นทางลงสู่ภาคใต้มีปริมาณจราจรคับคั่งมากส่งผลให้ต้องเร่งดำเนินการซึ่งผลกระทบจากการเวนคืนไม่น่ามากเนื่องจากส่วนใหญ่ใช้แนวถนนเดิม แต่จะมีบริเวณจุดขึ้นลงโดยเฉพาะพระราม2และแยกวังมะนาว
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า ต้องพิจารณาจุดคุ้มทุนทางเศรษฐกิจ ว่าเหมาะสมหรือไม่ กับการลงทุน หรือที่เหมาะสมอาจจะตัดแนวสายทางลงเหลือแค่ มหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร หรือ ยาวไปถึงวังมะนาว จังหวัดเพชรบุรี แต่ทั้งนี้ต้องวางแผนแก้จราจรเผื่ออนาคตด้วยเพราะนับวันปริมาณจะมากขึ้นหลายเท่าตัว
นอกจากนี้กทพ. มีแผนเร่งด่วน ระยะ 10 ปี นับจากปี 2555-2565 จะต้องก่อสร้างและเปิดใช้ทางด่วนสายใหม่ เชื่อมกทม.และปริมณฑล 4สายทาง ขนาด 6 ช่องจราจร ระยะทางรวม 74.8 กิโลเมตร ประกอบด้วย 1.โครงการก่อสร้างทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครระยะทาง 16.7 กิโลเมตร ซึ่ง ที่ผ่านมา ได้ออกพระราชกฤษฎีกา(พ.ร.ฎ.) เวนคืนที่ดิน และดำเนินการไปแล้วกว่า50% โดยการเวนคืนกว่า 200 ราย ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ตามจุดขึ้นลง เช่นบริเวณถนนกาญจนาภิเษก จุดตัดราชพฤกษ์-บรมราชชนนี จรัญสนิทวงศ์ บางซื่อ จตุจักร โดยเริ่มก่อสร้างปลายปี 2555 คาดว่าจะเปิดใช้เส้นทางได้ในปี2559
ส่วนความคืบหน้าการก่อสร้าง ขณะนี้ กทพ.ได้ลงนามในสัญญากับบีอีซีแอลหรือบริษัททางด่วนกรุงเทพฯ (มหาชน)สัมปทาน 30 ปี มูลค่า32,816 ล้านบาท ก่อสร้าง 4 ปีนับจากปี 2555 เป็นต้นไป ส่วนการเจรจาขอใช้ที่ดินร.ฟ.ท. 30ไร่ บริเวณกม.11 ไม่น่ามีปัญหาอะไร
2.โครงการก่อสร้างระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N1 N2 N3 E-W Corridor ด้านตะวันออก ระยะทาง 43.2 กิโลเมตร ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาและออกแบบรายละเอียด จากนั้นต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.)โดยใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปีเศษ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2559 และเปิดใช้เส้นทางในปี 2562 และปี2556 จะดำเนินการสำรวจออกแบบรายละเอียดและออกพ.ร.ฎ.เวนคืน โดย ส่วนใหญ่จะมีผลกระทบจากการเวนคืนไม่มากเนื่องจาก คร่อมไปตามแนวถนนเดิมที่เปิดใช้แล้ว โดยเฉพาะบริเวณถนนเกษตรฯ-นวมินทร์ ที่ผ่านมา ช่วงที่กรมทางหลวงก่อสร้างทาง กทพ.ได้ตอกตอม่อทางด่วนไปพร้อมกันกับการสร้างทางที่สำคัญเมื่อถึงแยกถนนนวมินทร์ แนวสายทางก็ซ้อนทับกับถนนช.2ของกทม. คือ เกษตรฯ-นวมินทร์(ประเสริฐมนูกิจ)- บางนา ทำให้ไม่มีผลกระทบกับการเวนคืน
แนวสายทาง N1 เริ่มจากบริเวณถนนวงแหวนด้านตะวันตกวิ่งไปตามถนนรัตนาธิเบศร์หรือ คร่อมรถไฟฟ้าสายสีม่วงผ่านแยกแครายจากนั้นวิ่งไปตามถนนงามวงศ์วานสิ้นสุดที่บริเวณแยกเกษตรศาสตร์ N2 เริ่มต้นจากบริเวณเกาะกลางถนนเกษตรฯ-นวมินทร์(ประเสริฐมนูกิจ)ที่ตอกตอม่อไว้แล้วโดยวิ่งไปสุดถนนจนถึงจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณ แยกถนนนวมินทร์ N3 จุดเริ่มต้นเริ่มจากแยกถนนนวมินทร์ตัดผ่านถนนเสรีไทยผ่านถนนรามคำแหง ทับซ้อนแนวถนนช.2ของกทม.ไปสิ้นสุดที่มอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ-ชลบุรีสายใหม่บริเวณถนนศรีนครินทร์ขณะเดียวกัน E-W Corridor ระยะทาง3.5กิโลเมตร แนวสายทางจะเชื่อมต่อกับN2บริเวณถนนนวมินทร์กับบรรจบถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก ซึ่ง ทั้ง3-4 เฟสอาจจะดำเนินการไปพร้อมๆกันเพราะไม่มีปัญหาเงินลงทุน
3.โครงการก่อสร้างทางพิเศษสายดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตกระยะทาง8.8กิโลเมตร ขั้นตอนอยู่ระหว่างศึกษาใช้เวลา 15เดือน คาดว่าปี 2556 ศึกษาจบพร้อมออกแบบสำรวจรายละเอียดโดยแนวสายทางจะอยู่บริเวณก่อนถึงช่วงทางด่วนขั้น1เฉลิมมหานครเดิม หรือต่อจากต่างระดับพระราม2 ขณะนี้ได้ศึกษาเบื้องต้นไปตาม ถนนวงแหวนกาญจนาพิเศษด้านตะวันตก ซึ่งมีปัญหาคอขวดค่อนข้างมาก 4.โครงการทางพิเศษสายศรีรัช -ดาวคะนอง ระยะทาง6.1กิโลเมตรขนาด 6 ช่องจราจร ขณะนี้ผ่านอีไอเอหรือการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว ซึ่งจะก่อสร้างเป็นทางด่วน 2 ชั้น เนื่องจากมีปัญหา ขยายเขตทางเป็นไปได้ยาก เนื่องจาก สะพานพระราม9 แออัด โดยแนวสายทาง จะเชื่อมกับ สะพานพระราม9 กับ โครงการ ด่วนดาวคะนอง -วงแหวนฯ และ ด่วนขั้น1เฉลิมมหานคร
ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,779 30 กันยายน- 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า ต้องพิจารณาจุดคุ้มทุนทางเศรษฐกิจ ว่าเหมาะสมหรือไม่ กับการลงทุน หรือที่เหมาะสมอาจจะตัดแนวสายทางลงเหลือแค่ มหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร หรือ ยาวไปถึงวังมะนาว จังหวัดเพชรบุรี แต่ทั้งนี้ต้องวางแผนแก้จราจรเผื่ออนาคตด้วยเพราะนับวันปริมาณจะมากขึ้นหลายเท่าตัว
นอกจากนี้กทพ. มีแผนเร่งด่วน ระยะ 10 ปี นับจากปี 2555-2565 จะต้องก่อสร้างและเปิดใช้ทางด่วนสายใหม่ เชื่อมกทม.และปริมณฑล 4สายทาง ขนาด 6 ช่องจราจร ระยะทางรวม 74.8 กิโลเมตร ประกอบด้วย 1.โครงการก่อสร้างทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครระยะทาง 16.7 กิโลเมตร ซึ่ง ที่ผ่านมา ได้ออกพระราชกฤษฎีกา(พ.ร.ฎ.) เวนคืนที่ดิน และดำเนินการไปแล้วกว่า50% โดยการเวนคืนกว่า 200 ราย ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ตามจุดขึ้นลง เช่นบริเวณถนนกาญจนาภิเษก จุดตัดราชพฤกษ์-บรมราชชนนี จรัญสนิทวงศ์ บางซื่อ จตุจักร โดยเริ่มก่อสร้างปลายปี 2555 คาดว่าจะเปิดใช้เส้นทางได้ในปี2559
ส่วนความคืบหน้าการก่อสร้าง ขณะนี้ กทพ.ได้ลงนามในสัญญากับบีอีซีแอลหรือบริษัททางด่วนกรุงเทพฯ (มหาชน)สัมปทาน 30 ปี มูลค่า32,816 ล้านบาท ก่อสร้าง 4 ปีนับจากปี 2555 เป็นต้นไป ส่วนการเจรจาขอใช้ที่ดินร.ฟ.ท. 30ไร่ บริเวณกม.11 ไม่น่ามีปัญหาอะไร
2.โครงการก่อสร้างระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N1 N2 N3 E-W Corridor ด้านตะวันออก ระยะทาง 43.2 กิโลเมตร ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาและออกแบบรายละเอียด จากนั้นต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.)โดยใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปีเศษ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2559 และเปิดใช้เส้นทางในปี 2562 และปี2556 จะดำเนินการสำรวจออกแบบรายละเอียดและออกพ.ร.ฎ.เวนคืน โดย ส่วนใหญ่จะมีผลกระทบจากการเวนคืนไม่มากเนื่องจาก คร่อมไปตามแนวถนนเดิมที่เปิดใช้แล้ว โดยเฉพาะบริเวณถนนเกษตรฯ-นวมินทร์ ที่ผ่านมา ช่วงที่กรมทางหลวงก่อสร้างทาง กทพ.ได้ตอกตอม่อทางด่วนไปพร้อมกันกับการสร้างทางที่สำคัญเมื่อถึงแยกถนนนวมินทร์ แนวสายทางก็ซ้อนทับกับถนนช.2ของกทม. คือ เกษตรฯ-นวมินทร์(ประเสริฐมนูกิจ)- บางนา ทำให้ไม่มีผลกระทบกับการเวนคืน
แนวสายทาง N1 เริ่มจากบริเวณถนนวงแหวนด้านตะวันตกวิ่งไปตามถนนรัตนาธิเบศร์หรือ คร่อมรถไฟฟ้าสายสีม่วงผ่านแยกแครายจากนั้นวิ่งไปตามถนนงามวงศ์วานสิ้นสุดที่บริเวณแยกเกษตรศาสตร์ N2 เริ่มต้นจากบริเวณเกาะกลางถนนเกษตรฯ-นวมินทร์(ประเสริฐมนูกิจ)ที่ตอกตอม่อไว้แล้วโดยวิ่งไปสุดถนนจนถึงจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณ แยกถนนนวมินทร์ N3 จุดเริ่มต้นเริ่มจากแยกถนนนวมินทร์ตัดผ่านถนนเสรีไทยผ่านถนนรามคำแหง ทับซ้อนแนวถนนช.2ของกทม.ไปสิ้นสุดที่มอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ-ชลบุรีสายใหม่บริเวณถนนศรีนครินทร์ขณะเดียวกัน E-W Corridor ระยะทาง3.5กิโลเมตร แนวสายทางจะเชื่อมต่อกับN2บริเวณถนนนวมินทร์กับบรรจบถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก ซึ่ง ทั้ง3-4 เฟสอาจจะดำเนินการไปพร้อมๆกันเพราะไม่มีปัญหาเงินลงทุน
3.โครงการก่อสร้างทางพิเศษสายดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตกระยะทาง8.8กิโลเมตร ขั้นตอนอยู่ระหว่างศึกษาใช้เวลา 15เดือน คาดว่าปี 2556 ศึกษาจบพร้อมออกแบบสำรวจรายละเอียดโดยแนวสายทางจะอยู่บริเวณก่อนถึงช่วงทางด่วนขั้น1เฉลิมมหานครเดิม หรือต่อจากต่างระดับพระราม2 ขณะนี้ได้ศึกษาเบื้องต้นไปตาม ถนนวงแหวนกาญจนาพิเศษด้านตะวันตก ซึ่งมีปัญหาคอขวดค่อนข้างมาก 4.โครงการทางพิเศษสายศรีรัช -ดาวคะนอง ระยะทาง6.1กิโลเมตรขนาด 6 ช่องจราจร ขณะนี้ผ่านอีไอเอหรือการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว ซึ่งจะก่อสร้างเป็นทางด่วน 2 ชั้น เนื่องจากมีปัญหา ขยายเขตทางเป็นไปได้ยาก เนื่องจาก สะพานพระราม9 แออัด โดยแนวสายทาง จะเชื่อมกับ สะพานพระราม9 กับ โครงการ ด่วนดาวคะนอง -วงแหวนฯ และ ด่วนขั้น1เฉลิมมหานคร
ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,779 30 กันยายน- 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555