การปรับค่าแรงขั้นต่ำวันละ300 บาท และอัตราเงินเดือน15,000 บาทส่งผลกระทบทั้งในด้านบวกและลบไปพร้อมๆ กัน แต่ด้านที่เป็นประเด็นที่พูดถึงมากจะเป็นประเด็นด้านลบมากกว่า เพราะหากชั่งน้ำหนักแล้วผู้ที่ได้รับผลบวกมีน้อยกว่าผู้ที่ได้รับผลลบ และผลกระทบดังกล่าวมีต่อเนื่องเป็นแบบลูกโซ่ไปยังหลายกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องในวงกว้างด้วย
ด้านธุรกิจก่อสร้าง เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ ไม่เพียงแต่ด้านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่มีผลในด้านของการขาดแคลนแรงงานด้วยซ้ำแต่หากพิจารณาในด้านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนั้น สิ่งที่สะท้อนได้ชัดเจน คงเห็นได้จากดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน (Home Construc tion Cost Index) ประจำไตรมาส 1 ปีนี้ ที่ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้เผยแพร่ออกมาพบว่ามีค่าดัชนีเท่ากับ119.0ปรับเพิ่มขึ้น1.9% เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาส 4 ปี 2554 และปรับเพิ่มขึ้น 4.1%เมื่อเทียบกับช่วง เวลาเดียวกันของปี2554ที่มีค่าเท่ากับ 114.3
ด้านธุรกิจก่อสร้าง เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ ไม่เพียงแต่ด้านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่มีผลในด้านของการขาดแคลนแรงงานด้วยซ้ำแต่หากพิจารณาในด้านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนั้น สิ่งที่สะท้อนได้ชัดเจน คงเห็นได้จากดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน (Home Construc tion Cost Index) ประจำไตรมาส 1 ปีนี้ ที่ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้เผยแพร่ออกมาพบว่ามีค่าดัชนีเท่ากับ119.0ปรับเพิ่มขึ้น1.9% เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาส 4 ปี 2554 และปรับเพิ่มขึ้น 4.1%เมื่อเทียบกับช่วง เวลาเดียวกันของปี2554ที่มีค่าเท่ากับ 114.3
หากย้อนกลับไปดูสถิติช่วงที่ผ่านมาจะพบว่าดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐานนั้นปรับเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องซึ่งช่วง3 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2552 มีค่าดัชนีเท่ากับ 111.1 จนถึงปัจจุบันนั้นมีค่าดัชนีเท่ากับ119.0 ซึ่งถือว่าสูงสุดตลอด 3 ปี ปัจจัยสำคัญคงเป็นเรื่องของต้นทุนโดยรวมของการก่อสร้างที่ปรับเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าแรงงาน ค่าขนส่ง ค่าวัสดุก่อสร้าง ซึ่งล้วนแต่มีทิศทางการเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง
ส่วนวัสดุก่อสร้างทางศูนย์ข้อมูลฯก็มีการรายงานค่าดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างออกมาควบคู่กันด้วย โดยไตรมาสแรกมีค่าดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเท่ากับ123.6 เพิ่มขึ้น0.6%เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ที่มีค่าดัชนีเท่ากับ 122.9 และเพิ่มขึ้น 4.8%เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปีที่ผ่านมา ที่มีค่าดัชนีเท่ากับ 117.9
ทั้งนี้ เชื่อว่าในปีนี้แนวโน้มดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐานและดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ยังคงเพิ่มมากขึ้นตามต้นทุนและราคาสินค้าที่จะขยับตามนับจากนี้ ส่วนจะมากน้อยแค่ไหนนั้นคงต้องวัดผลจากการปรับขึ้นของต้นทุนโดยรวม
ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 15 - 18 เม.ย. 2555
ส่วนวัสดุก่อสร้างทางศูนย์ข้อมูลฯก็มีการรายงานค่าดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างออกมาควบคู่กันด้วย โดยไตรมาสแรกมีค่าดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเท่ากับ123.6 เพิ่มขึ้น0.6%เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ที่มีค่าดัชนีเท่ากับ 122.9 และเพิ่มขึ้น 4.8%เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปีที่ผ่านมา ที่มีค่าดัชนีเท่ากับ 117.9
ทั้งนี้ เชื่อว่าในปีนี้แนวโน้มดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐานและดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ยังคงเพิ่มมากขึ้นตามต้นทุนและราคาสินค้าที่จะขยับตามนับจากนี้ ส่วนจะมากน้อยแค่ไหนนั้นคงต้องวัดผลจากการปรับขึ้นของต้นทุนโดยรวม
ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 15 - 18 เม.ย. 2555