สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ เตรียมบุกทำเนียบพบนายกฯต้นกรกฎาคม ยื่นหนังสือทวงถามความคืบหน้า 4 มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและพิษค่าแรง 300 บาท พร้อมเร่งผลักดันมาตรการเร่งด่วนตรวจสอบหน้างานเดือนละครั้ง ลั่นให้เวลา 1 เดือน หากไม่คืบหน้าหวั่นสมาชิกกว่า 400 บริษัท เดินขบวนเรียกร้องความเป็นธรรม
นายอังสุรัสมิ์ อารีกุล นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้ทางสมาคมได้เตรียมเข้าพบนายกรัฐมนตรี ในต้นเดือนกรกฎาคม 2555 เพื่อสอบถามความคืบหน้า 4 มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมปี 2554 และนโยบายการปรับค่าแรง 300 บาท ที่ทางสมาคมเคยยื่นกับ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไปแล้ว เมื่อเดือนเมษายน 2555 แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับหรือเห็นความเคลื่อนไหวใดๆ โดยการเข้าพบนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ นอกจากการทวงถามความคืบหน้าแล้ว ทางสมาคมยังเตรียมเสนออีก 1 มาตรการเร่งด่วนคือ การลดจำนวนครั้งเข้าตรวจสอบแรงงานต่างด้าวบริเวณหน้างานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงเหลือเดือนละ 1 ครั้ง
นายอังสุรัสมิ์ อารีกุล นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้ทางสมาคมได้เตรียมเข้าพบนายกรัฐมนตรี ในต้นเดือนกรกฎาคม 2555 เพื่อสอบถามความคืบหน้า 4 มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมปี 2554 และนโยบายการปรับค่าแรง 300 บาท ที่ทางสมาคมเคยยื่นกับ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไปแล้ว เมื่อเดือนเมษายน 2555 แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับหรือเห็นความเคลื่อนไหวใดๆ โดยการเข้าพบนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ นอกจากการทวงถามความคืบหน้าแล้ว ทางสมาคมยังเตรียมเสนออีก 1 มาตรการเร่งด่วนคือ การลดจำนวนครั้งเข้าตรวจสอบแรงงานต่างด้าวบริเวณหน้างานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงเหลือเดือนละ 1 ครั้ง
"นับตั้งแต่มีการประกาศปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างก็เข้ามาตรวจกันถี่ยิบไม่ว่าจะเป็นสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) , กระทรวงแรงงาน เป็นต้น เดือนละ 4-5 ครั้ง หากเป็นไปได้ก็อยากให้รวมตัวกันมาเดือนละครั้ง เพราะจะได้ไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของแรงงาน ซึ่งข้อนี้อยากให้เกิดเร็วที่สุด เพื่อให้ทันต่อการส่งมอบงานของผู้ประกอบการ อย่างน้อยก็ขอเป็นการชั่วคราวก็ยังดี ทั้งนี้จากเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2554 ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการอย่างมาก ซึ่งหากรัฐบาลไม่มีการยืดระยะเวลาในการส่งมอบงานออกไปอีก 6 เดือน คาดว่าความเสียหายที่เกิดจากการส่งมอบงานล่าช้าจะเกิดขึ้นกว่า 90% ของมูลค่ารวมทั้งหมด" นายอังสุรัสมิ์ กล่าว
สำหรับในส่วนของ 4 มาตรการที่ได้ทำหนังสือยื่นไปนั้นประกอบด้วย 1.เรื่องของสัญญาก่อสร้างที่มีการลงนามรับงานก่อสร้างจากภาครัฐก่อนเดือนเมษายนปี 2555 ที่มีมูลค่ารวมประมาณ 150,000 ล้านบาท ซึ่งไม่ได้มีการระบุเรื่องของค่าแรง 300 บาทเข้าไปด้วย จึงขอให้ช่วยเหลือโดยปลดล็อกค่าเค (ความผันแปรของต้นทุน) ออกจากเดิมที่ต้องมีความผันแปรสูงถึง 4% จึงจะขอชดเชยเงินจากรัฐได้ โดยต้องการภาครัฐปรับลดค่าให้อยู่ที่ 2% เพื่อสะท้อนความเป็นจริงของต้นทุน
2.สัญญาก่อสร้างที่มีการประมูลหลังเดือนเมษายน 2555 เป็นต้นมา ขอให้ภาครัฐจัดทำราคากลางใหม่ เพราะการขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาท เป็นการปรับค่าแรงของแรงงานทั่วไป ไม่ใช่แรงงานที่มีทักษะ ประกอบกับราคาวัสดุก่อสร้างก็มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ส่งผลให้ต้นทุนของผู้ประกอบการ เพิ่มขึ้นถึง 8% และยังทำให้เกิดปัญหาการย้ายถิ่นของแรงงาน ก่อให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานตามมา
3.ขอให้มุ่งเน้นพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีมาตรฐาน พร้อมออกไปรับงานก่อสร้างและยกระดับมาตรฐานฝีมือ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่นำเข้าแรงงานไร้ฝีมือ ซึ่งประเทศสมาชิกยกเว้นบรูไน ต่างเตรียมส่งแรงงานเข้ามาใน 3 ประเทศคือ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ดังนั้นแรงงานจึงต้องเร่งพัฒนาฝีมือ ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้มานานแล้ว
4.การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวให้อยู่ในรูปแบบ One Way Stop คือ การดูแลแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ ตั้งแต่การรับเข้าทำงาน การฝึกฝีมือแรงงาน และการควบคุมดูแลพฤติกรรม เพื่อป้องกันการหลบหนีของแรงงาน เพราะงานก่อสร้างจำเป็นต้องย้ายไซต์งานไปยังที่ต่างๆ หากแรงานเหล่านี้หนี ก็จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการได้
นายอังสุรัสมิ์ กล่าวเสริมว่า ข้อเสนอทั้งหมดที่กล่าวมาในเบื้องต้น ทางสมาคมได้มีการประชุมหารือกับทางสมาชิกแล้ว ซึ่งสมาชิกหลายคนก็เห็นด้วยและมีท่าทีว่า หากไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ จากรัฐบาล ภายในเดือนกรกฎาคม 2555 สมาชิกกว่า 400 บริษัท และบริษัทที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์อีกเกือบ 10,000 ราย ก็อาจจะมีการเคลื่อนไหวอะไรบางอย่าง เพราะบริษัทจำต้องแบกรับภาระต่างๆมานานแล้ว โดยมีสัญญาณบ่งบอกสำคัญคือ หลายบริษัทมีการออกแบบและซื้อแบบแล้ว แต่ไม่ร่วมประมูลเหตุเพราะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,751 24-27 มิถุนายน พ.ศ. 2555
สำหรับในส่วนของ 4 มาตรการที่ได้ทำหนังสือยื่นไปนั้นประกอบด้วย 1.เรื่องของสัญญาก่อสร้างที่มีการลงนามรับงานก่อสร้างจากภาครัฐก่อนเดือนเมษายนปี 2555 ที่มีมูลค่ารวมประมาณ 150,000 ล้านบาท ซึ่งไม่ได้มีการระบุเรื่องของค่าแรง 300 บาทเข้าไปด้วย จึงขอให้ช่วยเหลือโดยปลดล็อกค่าเค (ความผันแปรของต้นทุน) ออกจากเดิมที่ต้องมีความผันแปรสูงถึง 4% จึงจะขอชดเชยเงินจากรัฐได้ โดยต้องการภาครัฐปรับลดค่าให้อยู่ที่ 2% เพื่อสะท้อนความเป็นจริงของต้นทุน
2.สัญญาก่อสร้างที่มีการประมูลหลังเดือนเมษายน 2555 เป็นต้นมา ขอให้ภาครัฐจัดทำราคากลางใหม่ เพราะการขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาท เป็นการปรับค่าแรงของแรงงานทั่วไป ไม่ใช่แรงงานที่มีทักษะ ประกอบกับราคาวัสดุก่อสร้างก็มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ส่งผลให้ต้นทุนของผู้ประกอบการ เพิ่มขึ้นถึง 8% และยังทำให้เกิดปัญหาการย้ายถิ่นของแรงงาน ก่อให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานตามมา
3.ขอให้มุ่งเน้นพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีมาตรฐาน พร้อมออกไปรับงานก่อสร้างและยกระดับมาตรฐานฝีมือ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่นำเข้าแรงงานไร้ฝีมือ ซึ่งประเทศสมาชิกยกเว้นบรูไน ต่างเตรียมส่งแรงงานเข้ามาใน 3 ประเทศคือ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ดังนั้นแรงงานจึงต้องเร่งพัฒนาฝีมือ ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้มานานแล้ว
4.การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวให้อยู่ในรูปแบบ One Way Stop คือ การดูแลแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ ตั้งแต่การรับเข้าทำงาน การฝึกฝีมือแรงงาน และการควบคุมดูแลพฤติกรรม เพื่อป้องกันการหลบหนีของแรงงาน เพราะงานก่อสร้างจำเป็นต้องย้ายไซต์งานไปยังที่ต่างๆ หากแรงานเหล่านี้หนี ก็จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการได้
นายอังสุรัสมิ์ กล่าวเสริมว่า ข้อเสนอทั้งหมดที่กล่าวมาในเบื้องต้น ทางสมาคมได้มีการประชุมหารือกับทางสมาชิกแล้ว ซึ่งสมาชิกหลายคนก็เห็นด้วยและมีท่าทีว่า หากไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ จากรัฐบาล ภายในเดือนกรกฎาคม 2555 สมาชิกกว่า 400 บริษัท และบริษัทที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์อีกเกือบ 10,000 ราย ก็อาจจะมีการเคลื่อนไหวอะไรบางอย่าง เพราะบริษัทจำต้องแบกรับภาระต่างๆมานานแล้ว โดยมีสัญญาณบ่งบอกสำคัญคือ หลายบริษัทมีการออกแบบและซื้อแบบแล้ว แต่ไม่ร่วมประมูลเหตุเพราะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,751 24-27 มิถุนายน พ.ศ. 2555