ผังเมืองใหม่ กทม. ส่อเค้าบานปลาย สำนักผังเมือง กทม. แย้ง มท. -3 สมาคมบ้าน ยันไม่ปรับแก้หรือยืดหยุ่น ระบุให้เอกชนพัฒนาคอนโดมิเนียมได้เฉพาะ โครงข่ายถนนตัดใหม่-ขยายในอนาคต 128 สาย ทั้งกลางกรุง-ชานเมือง เท่านั้น เหตุหากปล่อยให้สร้างได้ จะสร้างปัญหาจราจร รวมถึงปัญหาเวลาเกิดเพลิงไหม้ ยันบ้านจัดสรร ยังต้องถนนกว้าง 12 เมตร ดังนั้นคอนโดฯต้องเริ่มที่ถนนกว้าง 16 เมตร หรือถนน 4 เลน เผยหากจะแก้ไข โยนบอร์ดผังเมืองเป็นผู้ตัดสินใจ
จากกรณีร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุง ครั้งที่ 3) พ.ศ. ... มีความเข้มงวด ต่อการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยเฉพาะอาคารชุด ห้ามก่อสร้างบนที่ดินในซอยที่มีถนนกว้าง 6 เมตร อิงตามพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ควบคุมอาคาร เหมือนกับผังเมืองรวม กทม.ฉบับเก่าที่หมดอายุลง ให้พัฒนาได้บริเวณถนนที่มีเขตทางกว้างตั้งแต่ 12 เมตรขึ้นไป แต่เมื่อตรวจสอบเงื่อนไขการก่อสร้างอาคารพักอาศัยขนาดใหญ่แล้ว จะสามารถสร้างได้เฉพาะถนนที่มีเขตทางกว้างตั้งแต่ 16 เมตรขึ้นไปเท่านั้น ส่วนถนนกว้าง 12 เมตร แทบจะพัฒนาไม่ได้เลย ส่งผลให้ 3 สมาคมบ้าน ประกอบด้วย สมาคมอาคารชุดไทย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย ได้เข้าร้องเรียนต่อนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือ มท.1 เพื่อขอผ่อนผันกฎเหล็กที่จะออกมาดังกล่าว เพราะเห็นว่าทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง เกี่ยวกับต้นทุนการก่อสร้างจนคอนโดมิเนียมระดับราคาต่ำกว่า 1,000,000 บาท จนถึง 1,000,000 บาทเศษกำลังสูญพันธุ์ และผลักให้ผู้มีรายได้น้อย ต้องกระเด็นออกไปซื้อบ้านชานเมืองแทน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีแนวนโยบายว่า กฎระเบียบอะไรที่เข้มงวดจนกีดขวางการพัฒนาและจำกัดการซื้อหาที่อยู่อาศัยในเมืองของผู้มีรายได้น้อย ก็สมควรที่จะปรับแก้
ต่อเรื่องนี้ ม.ร.ว. เปรมศิริ เกษมสันต์ ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากกรณีที่ 3 สมาคมบ้าน ประกอบด้วย สมาคมอาคารชุดไทย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย เรียกร้องให้ผ่อนปรนสร้างอาคารชุดในซอยกว้าง 6 เมตร ตามผังเมืองรวมกทม.ฉบับปี 2549 ที่หมดอายุลง และพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 นั้น ขณะนี้สำนักผังเมือง กทม.ยืนยันว่า ยังคงหลักการเดิม ไม่มีการปรับแก้หรือ ยืดหยุ่นแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับผลการพิจารณาของคณะกรรมการผังเมือง (บอร์ดผังเมือง)
ทั้งนี้ กทม. จะผ่อนปรน ให้พัฒนาโครงการขนาดใหญ่ในซอยได้ ก็ต่อเมื่อ กทม.มีแผนที่ชัดเจนในการก่อสร้าง หรือขยายถนนให้กว้างขึ้น ซึ่งปัจจุบันได้กำหนดในผังโครงข่ายคมนาคม แนบท้ายร่างกฎกระทรวงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ....อยู่แล้ว จำนวน 128 สายทาง หรือถนนที่มีขนาด 4 ช่องจราจรปัจจุบัน ที่มีความกว้างของถนนได้เท่านั้น
อย่างไรก็ดี หากตรวจสอบโครงข่ายแล้วพบว่า เช่น ถนนสาย ก. จะมีแผนขยาย จาก 8 เมตรเป็น 16 เมตร ก็สามารถซื้อที่ดินพัฒนาโครงการรอได้เลย แต่จะต้องเว้นระยะถอยร่นให้ได้เท่ากับเขตทางที่จะเวนคืนในอนาคต โดยผังโครงข่ายถนน ประกอบด้วยถนนสายหลัก คือ เขตทางกว้าง 16 เมตร หรือ 4 ช่องจราจร และสายรอง 12 เมตรหรือ 2 ช่องจราจร ซึ่งเกิดการเวนคืนถนนซอยที่แคบให้ขยายให้กว้างขึ้น เช่น ถนนสุขุมวิท ที่เป็นทำเลทองของผู้ประกอบการคอนโดมิเนียม กทม. มีแผนขยายซอยสุขุมวิท 6 สายทาง อาทิ ซอยสุขุมวิท 62 หรือซอยบางจาก เดิมกว้าง 6 เมตร จะขยายเป็น 12 เมตร ซอยสุขุมวิท 77 ซอยกล้วยไม้ หรือถนนซอยรามอินทรา 14 ซอยแจ้งวัฒนะ 14 ขยายซอยชินเขต ฯลฯ ส่วนถนนตัดใหม่ เช่น ถนนพหลโยธิน-รัตนโกสินทร์สมโภช ถนนรัตนโกสินทร์สมโภช-นิมิตรใหม่ ถนนศรีนครินทร์(กรุงเทพกรีฑา ) -ร่มเกล้า ถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 สายนอร์ธปาร์ค-เลียบคลองประปา ฯลฯ
อย่างไรก็ดี กรณีคอนโดมิเนียม เมื่อแต่ละอาคารต้องก่อสร้างซอยห้องแบ่งขายจำนวนนับ 100-200 ห้องขึ้นไป เฉลี่ยต่อห้องมีผู้พักอาศัยไม่ต่ำกว่า 2 คน มีรถส่วนตัว ห้องละ 1-2 คัน ดังนั้นผู้ประกอบการควรพิจารณา หาที่ดินที่เหมาะสม คือ 16 เมตร เพื่อแก้ปัญหาจราจรแออัด ปริมาณคนที่เพิ่มขึ้นและปัญหาไฟไหม้ในอนาคต เพราะหากสร้างในซอยแคบกว้างแค่ 6 เมตร จะเสี่ยงต่อปัญหาดังกล่าว แม้แต่บ้านจัดสรรแนวราบ ผังเมืองยังกำหนดให้พัฒนาได้ บริเวณเขตทาง 12 เมตร ซึ่งถนนถือว่ากว้าง ปริมาณคนน้อย แต่ คอนโดมิเนียมมีคนอยู่มาก ทำไมจะต้องการสร้างในซอยแคบแค่ 6 เมตร ซึ่งมองว่าไม่ถูกต้อง เพราะอาคารใหญ่มีคนอยู่อาศัยมาก ก็ต้องอยู่บนถนนที่กว้าง คือ 16 เมตรขึ้นไปถือว่าถูกต้องเป็นธรรมแล้ว
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,725 25-28 มีนาคม พ.ศ. 2555
ต่อเรื่องนี้ ม.ร.ว. เปรมศิริ เกษมสันต์ ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากกรณีที่ 3 สมาคมบ้าน ประกอบด้วย สมาคมอาคารชุดไทย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย เรียกร้องให้ผ่อนปรนสร้างอาคารชุดในซอยกว้าง 6 เมตร ตามผังเมืองรวมกทม.ฉบับปี 2549 ที่หมดอายุลง และพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 นั้น ขณะนี้สำนักผังเมือง กทม.ยืนยันว่า ยังคงหลักการเดิม ไม่มีการปรับแก้หรือ ยืดหยุ่นแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับผลการพิจารณาของคณะกรรมการผังเมือง (บอร์ดผังเมือง)
ทั้งนี้ กทม. จะผ่อนปรน ให้พัฒนาโครงการขนาดใหญ่ในซอยได้ ก็ต่อเมื่อ กทม.มีแผนที่ชัดเจนในการก่อสร้าง หรือขยายถนนให้กว้างขึ้น ซึ่งปัจจุบันได้กำหนดในผังโครงข่ายคมนาคม แนบท้ายร่างกฎกระทรวงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ....อยู่แล้ว จำนวน 128 สายทาง หรือถนนที่มีขนาด 4 ช่องจราจรปัจจุบัน ที่มีความกว้างของถนนได้เท่านั้น
อย่างไรก็ดี หากตรวจสอบโครงข่ายแล้วพบว่า เช่น ถนนสาย ก. จะมีแผนขยาย จาก 8 เมตรเป็น 16 เมตร ก็สามารถซื้อที่ดินพัฒนาโครงการรอได้เลย แต่จะต้องเว้นระยะถอยร่นให้ได้เท่ากับเขตทางที่จะเวนคืนในอนาคต โดยผังโครงข่ายถนน ประกอบด้วยถนนสายหลัก คือ เขตทางกว้าง 16 เมตร หรือ 4 ช่องจราจร และสายรอง 12 เมตรหรือ 2 ช่องจราจร ซึ่งเกิดการเวนคืนถนนซอยที่แคบให้ขยายให้กว้างขึ้น เช่น ถนนสุขุมวิท ที่เป็นทำเลทองของผู้ประกอบการคอนโดมิเนียม กทม. มีแผนขยายซอยสุขุมวิท 6 สายทาง อาทิ ซอยสุขุมวิท 62 หรือซอยบางจาก เดิมกว้าง 6 เมตร จะขยายเป็น 12 เมตร ซอยสุขุมวิท 77 ซอยกล้วยไม้ หรือถนนซอยรามอินทรา 14 ซอยแจ้งวัฒนะ 14 ขยายซอยชินเขต ฯลฯ ส่วนถนนตัดใหม่ เช่น ถนนพหลโยธิน-รัตนโกสินทร์สมโภช ถนนรัตนโกสินทร์สมโภช-นิมิตรใหม่ ถนนศรีนครินทร์(กรุงเทพกรีฑา ) -ร่มเกล้า ถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 สายนอร์ธปาร์ค-เลียบคลองประปา ฯลฯ
อย่างไรก็ดี กรณีคอนโดมิเนียม เมื่อแต่ละอาคารต้องก่อสร้างซอยห้องแบ่งขายจำนวนนับ 100-200 ห้องขึ้นไป เฉลี่ยต่อห้องมีผู้พักอาศัยไม่ต่ำกว่า 2 คน มีรถส่วนตัว ห้องละ 1-2 คัน ดังนั้นผู้ประกอบการควรพิจารณา หาที่ดินที่เหมาะสม คือ 16 เมตร เพื่อแก้ปัญหาจราจรแออัด ปริมาณคนที่เพิ่มขึ้นและปัญหาไฟไหม้ในอนาคต เพราะหากสร้างในซอยแคบกว้างแค่ 6 เมตร จะเสี่ยงต่อปัญหาดังกล่าว แม้แต่บ้านจัดสรรแนวราบ ผังเมืองยังกำหนดให้พัฒนาได้ บริเวณเขตทาง 12 เมตร ซึ่งถนนถือว่ากว้าง ปริมาณคนน้อย แต่ คอนโดมิเนียมมีคนอยู่มาก ทำไมจะต้องการสร้างในซอยแคบแค่ 6 เมตร ซึ่งมองว่าไม่ถูกต้อง เพราะอาคารใหญ่มีคนอยู่อาศัยมาก ก็ต้องอยู่บนถนนที่กว้าง คือ 16 เมตรขึ้นไปถือว่าถูกต้องเป็นธรรมแล้ว
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,725 25-28 มีนาคม พ.ศ. 2555