ผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อโครงการที่พัฒนาอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อการพัฒนาโครงการในอนาคตด้วยยิ่งในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมการพัฒนาโครงการใหม่คงจะชะลอตัวลงไประยะหนึ่งจนกว่าผู้ประกอบการจะเกิดความมั่นใจว่าสภาพตลาดและความต้องการที่อยู่อาศัยจะกลับมาเป็นปกติหรือฟื้นตัวดีขึ้น
การขอใบอนุญาตจัดสรรที่ดินคงเป็นอีกดัชนีสำคัญประการหนึ่งที่พอจะบ่งบอกถึงการพัฒนาโครงการในอนาคตได้เป็นอย่างดี ว่าจะมีปริมาณมากน้อยเพียงใดข้อมูลล่าสุดของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เกี่ยวกับการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั่วประเทศ ช่วงเดือนมกราคม 2555 ที่ผ่านมา ก็พอจะเห็นถึงทิศทางของการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในแนวราบได้พอสมควร
การขอใบอนุญาตจัดสรรที่ดินคงเป็นอีกดัชนีสำคัญประการหนึ่งที่พอจะบ่งบอกถึงการพัฒนาโครงการในอนาคตได้เป็นอย่างดี ว่าจะมีปริมาณมากน้อยเพียงใดข้อมูลล่าสุดของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เกี่ยวกับการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั่วประเทศ ช่วงเดือนมกราคม 2555 ที่ผ่านมา ก็พอจะเห็นถึงทิศทางของการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในแนวราบได้พอสมควร
ผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อโครงการที่พัฒนาอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อการพัฒนาโครงการในอนาคตด้วยยิ่งในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมการพัฒนาโครงการใหม่คงจะชะลอตัวลงไประยะหนึ่งจนกว่าผู้ประกอบการจะเกิดความมั่นใจว่าสภาพตลาดและความต้องการที่อยู่อาศัยจะกลับมาเป็นปกติหรือฟื้นตัวดีขึ้น
การขอใบอนุญาตจัดสรรที่ดินคงเป็นอีกดัชนีสำคัญประการหนึ่งที่พอจะบ่งบอกถึงการพัฒนาโครงการในอนาคตได้เป็นอย่างดี ว่าจะมีปริมาณมากน้อยเพียงใดข้อมูลล่าสุดของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เกี่ยวกับการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั่วประเทศ ช่วงเดือนมกราคม 2555 ที่ผ่านมา ก็พอจะเห็นถึงทิศทางของการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในแนวราบได้พอสมควร
จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า ในเดือนมกราคมที่ผ่านมากรมที่ดินมีการออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการทั่วประเทศ เฉพาะโครงการจัดสรรที่ได้รับอนุญาตจัดสรรทั้งโครงการไม่นับรวมโครงการที่ได้รับอนุญาตจัดสรรบางส่วนและแก้ไขผังมี35 โครงการ จำนวน 4,331 แปลง ลดลงจากเดือนธันวาคมก่อนหน้า 31%ที่มีจำนวนรวม 6,251 แปลง และลดลง14% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวนรวม 5,045 แปลง ในจำนวนใบอนุญาตของเดือนมกราคมปีนี้ทั้งหมด แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ คือ ใบอนุญาต ที่ดินเปล่า 392 แปลง บ้านเดี่ยว 1,868 แปลงบ้านแฝด 440 แปลง ทาวน์เฮาส์ 1,135 แปลง และอาคารพาณิชย์ 496 แปลง
สำหรับพื้นที่ปริมณฑล 5 จังหวัดได้แก่ สมุทรปราการ นครปฐม นนทบุรีสมุทรสาคร และปทุมธานี มีการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินมากที่สุด ด้วยจำนวน1,075 แปลง แต่มีจำนวนลดลง 47% จากเดือนธันวาคมก่อนหน้า ที่มีจำนวน 2,029 แปลง และลดลง 45% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 1,958 แปลงกรุงเทพฯ มีการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินรองลงมา ด้วยจำนวนรวม 1,054 แปลงเพิ่มขึ้น20% จากเดือนก่อนหน้าที่มีจำนวน879 แปลง และเพิ่มขึ้น 46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีจำนวน 721 แปลง ซึ่งการเพิ่มขึ้นของใบอนุญาตจัดสรรที่ดินดังกล่าว อาจจะแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการเริ่มมีความมั่นใจว่าสถานการณ์ปัญหาน้ำท่วมเริ่มดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในรายละเอียดพื้นที่ปริมณฑล จะพบว่ามีเพียงจังหวัดสมุทรปราการเท่านั้นที่มีการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินเติบโตเพิ่มขึ้นโดยมีจำนวน 494 แปลง เพิ่มขึ้น 95%จากเดือนธันวาคมที่มีจำนวน 253 แปลงและเพิ่มขึ้น 40% จากเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่มีจำนวน 352 แปลง ซึ่งอาจจะเป็นเพราะจังหวัดสมุทรปราการไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม ทำให้มีผู้ประกอบการหันมาพัฒนาโครงการในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นด้วย
นอกจากนี้ ในพื้นที่ต่างจังหวัดยังพบว่ามีจังหวัดสำคัญที่มีการออกใบอนุญาตเพิ่มขึ้นจากช่วงที่ผ่านมาด้วย อาทิ จังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวนใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน 355 แปลง เพิ่มขึ้น 13%จากเดือนธันวาคมที่มีจำนวน 315 แปลงและเพิ่มขึ้น 482%จากเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า ที่มีจำนวน 61 แปลงจังหวัด พระนครศรีอยุธยา มีจำนวน 555 แปลง เพิ่มขึ้น 100% จากเดือนก่อนหน้า ที่มีจำนวน 278 แปลง และเพิ่มขึ้น97% จากเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีจำนวน 282 แปลง จังหวัดฉะเชิงเทรามีจำนวน 398 แปลง เพิ่มขึ้น 2,111%จากเดือนธันวาคมที่มีจำนวน 18% และเพิ่มขึ้น1,558% จากเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีจำนวน 24 แปลง ทั้งนี้เชื่อว่าเป็นผลจากพื้นที่โซนดังกล่าวไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม หรือผู้ประกอบการอาจจะมีความมั่นใจในสภาพของตลาดอสังหาฯ ในพื้นที่ที่เห็นว่าเมื่อพัฒนาโครงการออกมาแล้วจะมีตลาดรองรับ
ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 25 - 28 มี.ค. 2555
การขอใบอนุญาตจัดสรรที่ดินคงเป็นอีกดัชนีสำคัญประการหนึ่งที่พอจะบ่งบอกถึงการพัฒนาโครงการในอนาคตได้เป็นอย่างดี ว่าจะมีปริมาณมากน้อยเพียงใดข้อมูลล่าสุดของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เกี่ยวกับการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั่วประเทศ ช่วงเดือนมกราคม 2555 ที่ผ่านมา ก็พอจะเห็นถึงทิศทางของการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในแนวราบได้พอสมควร
จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า ในเดือนมกราคมที่ผ่านมากรมที่ดินมีการออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการทั่วประเทศ เฉพาะโครงการจัดสรรที่ได้รับอนุญาตจัดสรรทั้งโครงการไม่นับรวมโครงการที่ได้รับอนุญาตจัดสรรบางส่วนและแก้ไขผังมี35 โครงการ จำนวน 4,331 แปลง ลดลงจากเดือนธันวาคมก่อนหน้า 31%ที่มีจำนวนรวม 6,251 แปลง และลดลง14% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวนรวม 5,045 แปลง ในจำนวนใบอนุญาตของเดือนมกราคมปีนี้ทั้งหมด แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ คือ ใบอนุญาต ที่ดินเปล่า 392 แปลง บ้านเดี่ยว 1,868 แปลงบ้านแฝด 440 แปลง ทาวน์เฮาส์ 1,135 แปลง และอาคารพาณิชย์ 496 แปลง
สำหรับพื้นที่ปริมณฑล 5 จังหวัดได้แก่ สมุทรปราการ นครปฐม นนทบุรีสมุทรสาคร และปทุมธานี มีการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินมากที่สุด ด้วยจำนวน1,075 แปลง แต่มีจำนวนลดลง 47% จากเดือนธันวาคมก่อนหน้า ที่มีจำนวน 2,029 แปลง และลดลง 45% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 1,958 แปลงกรุงเทพฯ มีการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินรองลงมา ด้วยจำนวนรวม 1,054 แปลงเพิ่มขึ้น20% จากเดือนก่อนหน้าที่มีจำนวน879 แปลง และเพิ่มขึ้น 46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีจำนวน 721 แปลง ซึ่งการเพิ่มขึ้นของใบอนุญาตจัดสรรที่ดินดังกล่าว อาจจะแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการเริ่มมีความมั่นใจว่าสถานการณ์ปัญหาน้ำท่วมเริ่มดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในรายละเอียดพื้นที่ปริมณฑล จะพบว่ามีเพียงจังหวัดสมุทรปราการเท่านั้นที่มีการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินเติบโตเพิ่มขึ้นโดยมีจำนวน 494 แปลง เพิ่มขึ้น 95%จากเดือนธันวาคมที่มีจำนวน 253 แปลงและเพิ่มขึ้น 40% จากเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่มีจำนวน 352 แปลง ซึ่งอาจจะเป็นเพราะจังหวัดสมุทรปราการไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม ทำให้มีผู้ประกอบการหันมาพัฒนาโครงการในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นด้วย
นอกจากนี้ ในพื้นที่ต่างจังหวัดยังพบว่ามีจังหวัดสำคัญที่มีการออกใบอนุญาตเพิ่มขึ้นจากช่วงที่ผ่านมาด้วย อาทิ จังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวนใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน 355 แปลง เพิ่มขึ้น 13%จากเดือนธันวาคมที่มีจำนวน 315 แปลงและเพิ่มขึ้น 482%จากเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า ที่มีจำนวน 61 แปลงจังหวัด พระนครศรีอยุธยา มีจำนวน 555 แปลง เพิ่มขึ้น 100% จากเดือนก่อนหน้า ที่มีจำนวน 278 แปลง และเพิ่มขึ้น97% จากเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีจำนวน 282 แปลง จังหวัดฉะเชิงเทรามีจำนวน 398 แปลง เพิ่มขึ้น 2,111%จากเดือนธันวาคมที่มีจำนวน 18% และเพิ่มขึ้น1,558% จากเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีจำนวน 24 แปลง ทั้งนี้เชื่อว่าเป็นผลจากพื้นที่โซนดังกล่าวไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม หรือผู้ประกอบการอาจจะมีความมั่นใจในสภาพของตลาดอสังหาฯ ในพื้นที่ที่เห็นว่าเมื่อพัฒนาโครงการออกมาแล้วจะมีตลาดรองรับ
ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 25 - 28 มี.ค. 2555