ในการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในไตรมาสสุดท้ายของปี 2554 พบว่าค่าดัชนีความเชื่อมั่นในไตรมาสปัจจุบัน (ซึ่งเปรียบเทียบระหว่างความเชื่อมั่นในไตรมาสที่ทำการสำรวจกับความเชื่อมั่นในไตรมาสก่อนหน้า) มีการปรับลดลงอย่างรุนแรงจนค่าดัชนีเหลือเพียง 37.2 นับเป็นการลดลงรุนแรงและค่าต่ำสุดในรอบ 3 ปี หรือตั้งแต่ช่วงที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบรุนแรงจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ อย่างไรก็ตาม ในมุมมองระยะยาวไปถึง 6 เดือนข้างหน้า หรือถึงประมาณกลางปี 2555 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความคาดหวังที่ดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับปัจจุบัน โดยค่าดัชนีความคาดหวังอยู่ที่ระดับ 60.8
สำหรับสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2555 นั้นมีทั้งปัจจัยเกื้อหนุนและปัจจัยที่เป็นอุปสรรค อีกทั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในหมู่ผู้บริโภคบางส่วนที่ผ่านประสบการณ์อุทกภัยใหญ่ในปีนี้มา โดยที่อยู่อาศัยประเภทแนวสูงจะเป็นตัวเลือกใหม่ของผู้บริโภคที่ยังมีความหวั่นไหวต่อภัยน้ำท่วม อาคารชุดตามแนวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแถบปริมณฑลที่ไม่ห่างไกลจากเมืองมากนัก ในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมน้อย และอยู่ใกล้เคียงสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ เช่น ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ โรงพยาบาล ถนนสายหลัก ฯลฯ อาจจะได้รับความนิยมมากขึ้นเมื่อเทียบกับโครงการแนวราบในบริเวณใกล้เคียง
ผู้บริโภคจะพิถีพิถันในการเลือกโครงการมากขึ้นและใช้เวลาพิจารณายาวนานขึ้นในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ในอนาคต โดยเฉพาะด้านทำเลที่อยู่อาศัย โดยจะให้ความสำคัญกับระดับความสูงของพื้นที่โครงการและระดับความสูงของเส้นทางสัญจรรอบด้าน ให้สามารถเดินทางออกสู่ถนนใหญ่สายหลักได้ หรือสามารถเชื่อมต่อรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเพื่อเดินทางสัญจรได้
ผู้บริโภคส่วนหนึ่งที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยแต่ไม่สามารถซื้อบ้านเดี่ยวได้เพราะมีงบประมาณจำกัดหรือความสามารถในการหารายได้ลดลง อาจพิจารณาซื้อห้องชุดคอนโดมิเนียมแทนการซื้อทาวน์เฮาส์หากไม่มั่นใจว่าโครงการแนวราบในทำเลที่ต้องการจะอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัยจากภาวะน้ำท่วม อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคส่วนหนึ่งซึ่งไม่มีรายได้เพียงพออาจจำเป็นต้องซ่อมแซมที่อยู่อาศัยเดิมไปก่อน
ผู้ประกอบการซึ่งมีแปลงที่ดินในบริเวณดังกล่าวอาจกระจายความเสี่ยง โดยเปิดโครงการแนวสูงแทนแนวราบในสัดส่วนที่มากขึ้น หรือดำเนินโครงการในพื้นที่อื่นๆ ซึ่งไม่กระจุกตัว หรือกระจายโครงการออกไปสู่ต่างจังหวัด ผู้ประกอบการซึ่งไม่มี Land Bank หรือแปลงที่ดินในความครอบครองในพื้นที่น้ำท่วมหนักอยู่ก่อนแล้ว มีโอกาสน้อยลงที่จะเปิดโครงการจัดสรรใหม่ในพื้นที่ดังกล่าว เพราะจะมีหน่วยที่ผู้บริโภคประกาศขายเป็นที่อยู่อาศัยมือสองเพิ่มขึ้นแต่สำหรับผู้ประกอบการที่มี Land Bank หรือแปลงที่ดินในความครอบครองอยู่ก่อนแล้ว จะต้องพิจารณาปรับปรุงคุณภาพของแปลงที่ดินให้ดีขึ้น เช่น การถมแปลงที่ดินให้สูงขึ้น การเสริมความมั่นคงแข็งแรงของแปลงที่ดิน การจัดเตรียมระบบระบายน้ำภายในและบริเวณรอบแปลงที่ดินก่อนที่ผู้ประกอบการจะเปิดโครงการใหม่บนแปลงที่ดินนั้น
ที่อยู่อาศัยในโครงการซึ่งจะสร้างใหม่น่าจะมีราคาแพงขึ้น แต่สำหรับที่อยู่อาศัยซึ่งสร้างเสร็จและขายอยู่ก่อนแล้วแต่เดิมนั้น ผู้ประกอบการอาจต้องทำกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อระบายสินค้าที่คงค้างจากช่วงที่เกิดอุทกภัยจึงไม่สามารถขึ้นราคาได้
ในปี 2555 ผู้ประกอบการอาจต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากแรงงานส่วนหนึ่งในภาคการก่อสร้างทั้งแรงงานไทยจากต่างจังหวัดและแรงงานต่างด้าวซึ่งโยกย้ายถิ่นฐานในช่วงเกิดอุทกภัยแล้วอาจไม่กลับมาอีก
วัสดุก่อสร้างน่าจะมีราคาแพงขึ้น เนื่องจากภาครัฐต้องดำเนินการบูรณะซ่อมแซมถนน สะพาน และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ จำนวนมาก อีกทั้งในปัจจุบันยังมีการตรึงราคาวัสดุก่อสร้างเพื่อช่วยเหลือประชาชนในการซ่อมแซมบ้านเรือนที่ประสบอุทกภัย ซึ่งเมื่อหมดช่วงตรึงราคาแล้ว ราคาวัสดุก่อสร้างอาจดีดกลับขึ้น แต่ในอีกมุมมองหนึ่ง สภาวะการชะลอตัวในภาคที่อยู่อาศัยของหลายประเทศในภูมิภาคอาจกดให้ราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นในอัตราที่ไม่สูงมากนักเว้นแต่จะมีสถานการณ์ความรุนแรงในตะวันออกกลางซึ่งมีผลต่อราคาน้ำมันโดยตรงและราคาวัสดุทางอ้อม
ผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หลายรายได้ประกาศเลื่อนการเปิดโครงการที่อยู่อาศัยออกไปจากแผนงานเดิมที่จะเปิดในไตรมาสสุดท้ายของปี 2554 ไปเป็นปี 2555 แต่การเปิดโครงการใหม่จำนวนมากน่าจะเกิดต่อเมื่อผ่านพ้นฤดูฝนในปีใหม่ไปแล้ว โดยในช่วงครึ่งแรกของปีผู้ประกอบการที่ยังมีโครงการเดิมคั่งค้างจะต้องเร่งก่อสร้างและเร่งระบายหน่วยในโครงการเดิมออกไปก่อน หลังจากที่หยุดชะงักไปนานในช่วงเกิดอุทกภัย แล้วจึงจะเปิดโครงการใหม่ภาวะหยุดชะงักของตลาดที่อยู่อาศัยน่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดไตรมาสสุดท้ายของปี 2554 ไปจนถึงไตรมาสแรกของปี 2555 โดยภายหลังน้ำลดจะเป็นช่วงเวลาของการปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยเป็นหลัก ความต้องการสินเชื่อเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยน่าจะมีมาก แต่ความต้องการสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยใหม่จะลดลงเพราะมีการชะลอการขอโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย
ตลาดที่อยู่อาศัยอาจเริ่มปรับตัวดีขึ้นได้เล็กน้อยในช่วงไตรมาส 2 และหากสามารถผ่านพ้นช่วงกลางปีไปได้โดยไม่มีปัจจัยเสี่ยงทั้งเรื่องอุทกภัย เศรษฐกิจ และการเมืองแล้ว ตลาดที่อยู่อาศัยน่าจะดีขึ้นต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 สอดคล้องกับมุมมองระยะยาวของผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไปถึง 6 เดือนข้างหน้า หรือถึงประมาณกลางปี 2555 ซึ่งมีความคาดหวังที่ดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับปัจจุบัน
ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
สำหรับสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2555 นั้นมีทั้งปัจจัยเกื้อหนุนและปัจจัยที่เป็นอุปสรรค อีกทั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในหมู่ผู้บริโภคบางส่วนที่ผ่านประสบการณ์อุทกภัยใหญ่ในปีนี้มา โดยที่อยู่อาศัยประเภทแนวสูงจะเป็นตัวเลือกใหม่ของผู้บริโภคที่ยังมีความหวั่นไหวต่อภัยน้ำท่วม อาคารชุดตามแนวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแถบปริมณฑลที่ไม่ห่างไกลจากเมืองมากนัก ในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมน้อย และอยู่ใกล้เคียงสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ เช่น ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ โรงพยาบาล ถนนสายหลัก ฯลฯ อาจจะได้รับความนิยมมากขึ้นเมื่อเทียบกับโครงการแนวราบในบริเวณใกล้เคียง
ผู้บริโภคจะพิถีพิถันในการเลือกโครงการมากขึ้นและใช้เวลาพิจารณายาวนานขึ้นในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ในอนาคต โดยเฉพาะด้านทำเลที่อยู่อาศัย โดยจะให้ความสำคัญกับระดับความสูงของพื้นที่โครงการและระดับความสูงของเส้นทางสัญจรรอบด้าน ให้สามารถเดินทางออกสู่ถนนใหญ่สายหลักได้ หรือสามารถเชื่อมต่อรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเพื่อเดินทางสัญจรได้
ผู้บริโภคส่วนหนึ่งที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยแต่ไม่สามารถซื้อบ้านเดี่ยวได้เพราะมีงบประมาณจำกัดหรือความสามารถในการหารายได้ลดลง อาจพิจารณาซื้อห้องชุดคอนโดมิเนียมแทนการซื้อทาวน์เฮาส์หากไม่มั่นใจว่าโครงการแนวราบในทำเลที่ต้องการจะอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัยจากภาวะน้ำท่วม อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคส่วนหนึ่งซึ่งไม่มีรายได้เพียงพออาจจำเป็นต้องซ่อมแซมที่อยู่อาศัยเดิมไปก่อน
ผู้ประกอบการซึ่งมีแปลงที่ดินในบริเวณดังกล่าวอาจกระจายความเสี่ยง โดยเปิดโครงการแนวสูงแทนแนวราบในสัดส่วนที่มากขึ้น หรือดำเนินโครงการในพื้นที่อื่นๆ ซึ่งไม่กระจุกตัว หรือกระจายโครงการออกไปสู่ต่างจังหวัด ผู้ประกอบการซึ่งไม่มี Land Bank หรือแปลงที่ดินในความครอบครองในพื้นที่น้ำท่วมหนักอยู่ก่อนแล้ว มีโอกาสน้อยลงที่จะเปิดโครงการจัดสรรใหม่ในพื้นที่ดังกล่าว เพราะจะมีหน่วยที่ผู้บริโภคประกาศขายเป็นที่อยู่อาศัยมือสองเพิ่มขึ้นแต่สำหรับผู้ประกอบการที่มี Land Bank หรือแปลงที่ดินในความครอบครองอยู่ก่อนแล้ว จะต้องพิจารณาปรับปรุงคุณภาพของแปลงที่ดินให้ดีขึ้น เช่น การถมแปลงที่ดินให้สูงขึ้น การเสริมความมั่นคงแข็งแรงของแปลงที่ดิน การจัดเตรียมระบบระบายน้ำภายในและบริเวณรอบแปลงที่ดินก่อนที่ผู้ประกอบการจะเปิดโครงการใหม่บนแปลงที่ดินนั้น
ที่อยู่อาศัยในโครงการซึ่งจะสร้างใหม่น่าจะมีราคาแพงขึ้น แต่สำหรับที่อยู่อาศัยซึ่งสร้างเสร็จและขายอยู่ก่อนแล้วแต่เดิมนั้น ผู้ประกอบการอาจต้องทำกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อระบายสินค้าที่คงค้างจากช่วงที่เกิดอุทกภัยจึงไม่สามารถขึ้นราคาได้
ในปี 2555 ผู้ประกอบการอาจต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากแรงงานส่วนหนึ่งในภาคการก่อสร้างทั้งแรงงานไทยจากต่างจังหวัดและแรงงานต่างด้าวซึ่งโยกย้ายถิ่นฐานในช่วงเกิดอุทกภัยแล้วอาจไม่กลับมาอีก
วัสดุก่อสร้างน่าจะมีราคาแพงขึ้น เนื่องจากภาครัฐต้องดำเนินการบูรณะซ่อมแซมถนน สะพาน และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ จำนวนมาก อีกทั้งในปัจจุบันยังมีการตรึงราคาวัสดุก่อสร้างเพื่อช่วยเหลือประชาชนในการซ่อมแซมบ้านเรือนที่ประสบอุทกภัย ซึ่งเมื่อหมดช่วงตรึงราคาแล้ว ราคาวัสดุก่อสร้างอาจดีดกลับขึ้น แต่ในอีกมุมมองหนึ่ง สภาวะการชะลอตัวในภาคที่อยู่อาศัยของหลายประเทศในภูมิภาคอาจกดให้ราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นในอัตราที่ไม่สูงมากนักเว้นแต่จะมีสถานการณ์ความรุนแรงในตะวันออกกลางซึ่งมีผลต่อราคาน้ำมันโดยตรงและราคาวัสดุทางอ้อม
ผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หลายรายได้ประกาศเลื่อนการเปิดโครงการที่อยู่อาศัยออกไปจากแผนงานเดิมที่จะเปิดในไตรมาสสุดท้ายของปี 2554 ไปเป็นปี 2555 แต่การเปิดโครงการใหม่จำนวนมากน่าจะเกิดต่อเมื่อผ่านพ้นฤดูฝนในปีใหม่ไปแล้ว โดยในช่วงครึ่งแรกของปีผู้ประกอบการที่ยังมีโครงการเดิมคั่งค้างจะต้องเร่งก่อสร้างและเร่งระบายหน่วยในโครงการเดิมออกไปก่อน หลังจากที่หยุดชะงักไปนานในช่วงเกิดอุทกภัย แล้วจึงจะเปิดโครงการใหม่ภาวะหยุดชะงักของตลาดที่อยู่อาศัยน่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดไตรมาสสุดท้ายของปี 2554 ไปจนถึงไตรมาสแรกของปี 2555 โดยภายหลังน้ำลดจะเป็นช่วงเวลาของการปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยเป็นหลัก ความต้องการสินเชื่อเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยน่าจะมีมาก แต่ความต้องการสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยใหม่จะลดลงเพราะมีการชะลอการขอโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย
ตลาดที่อยู่อาศัยอาจเริ่มปรับตัวดีขึ้นได้เล็กน้อยในช่วงไตรมาส 2 และหากสามารถผ่านพ้นช่วงกลางปีไปได้โดยไม่มีปัจจัยเสี่ยงทั้งเรื่องอุทกภัย เศรษฐกิจ และการเมืองแล้ว ตลาดที่อยู่อาศัยน่าจะดีขึ้นต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 สอดคล้องกับมุมมองระยะยาวของผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไปถึง 6 เดือนข้างหน้า หรือถึงประมาณกลางปี 2555 ซึ่งมีความคาดหวังที่ดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับปัจจุบัน
ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ