สศค. เผย หลังน้ำท่วมเศรษฐกิจไทยมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดี เชื่อปี 55 จีดีพีจะโต 5% จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ทั้งการปล่อยสินเชื่อและการลงทุน แนะจับตาเศรษฐกิจโลกที่อาจจะเลวร้ายต่อ
เมื่อวันที่ 30 ม.ค. นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือน ธ.ค. 2554 มีสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้นภายหลังผ่านพ้นปัญหาอุทกภัย โดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่กลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง ขณะที่การส่งออกปรับตัวดีขึ้น ซึ่งเดือนธ.ค.ถือว่าได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดรุนแรงจากเดือน พ.ย. และเริ่มฟื้นตัวได้แล้ว
เมื่อวันที่ 30 ม.ค. นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือน ธ.ค. 2554 มีสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้นภายหลังผ่านพ้นปัญหาอุทกภัย โดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่กลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง ขณะที่การส่งออกปรับตัวดีขึ้น ซึ่งเดือนธ.ค.ถือว่าได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดรุนแรงจากเดือน พ.ย. และเริ่มฟื้นตัวได้แล้ว
ทั้งนี้ ประเมินว่าไตรมาส 4/54 เศรษฐกิจจะยังหดตัวถึง 5% และทำให้ทั้งปี 54 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ 1.1% ขณะที่ทั้งปี 55 ยังคงคาดว่า อัตราการเติบโตจะขยายตัว 5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) โดยไตรมาส 1/55 คาดว่าจะขยายตัวได้ราว 2% และเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ไตรมาส 2 และ 3 ขยายตัวประมาณ 5% และจะขยายตัวสูงสุด 7% ในไตรมาส 4 ของปี 55 โดยแรงผลักดันเศรษฐกิจมาจากนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาล เช่น การปล่อยสินเชื่อ การลงทุนของภาครัฐ
นายสมชัย กล่าวต่อว่า ในปี 2555 ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ยังต้องติดตาม คือ ปัญหาเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะเศรษฐกิจยุโรปที่คาดว่าสถานการณ์ยังคงเลวร้าย เบื้องต้นคาดว่าปีนี้เศรษฐกิจยุโรปจะติดลบ 0.8% แต่หากยังไม่มีความคืบหน้าในการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศในยุโรป โดยเฉพาะกรีซก็จะยิ่งมีผลกระทบมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากการเมืองต่างประเทศ ที่ปีนี้จะมีการเลือกผู้นำใหม่หลายประเทศ รวมทั้งการเกิดความขัดแย้งของหลายประเทศ เช่น อิหร่าน และสหรัฐฯ ส่วนปัญหาภัยธรรมชาติในปีนี้มีการคาดกันว่าในภูมิภาคเอเชียจะมีสถานการณ์ฝนตกมาก จากผลของลานินญ่า ขณะที่ปัญหาการเมืองในประเทศนั้น มองว่ายังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงเช่นกัน ซึ่งหากสถานการณ์การเมืองนิ่งจะเป็นผลดีต่อการเติบโตของเศรษฐกิจได้มากกว่า
ที่มา: ไทยรัฐ
นายสมชัย กล่าวต่อว่า ในปี 2555 ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ยังต้องติดตาม คือ ปัญหาเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะเศรษฐกิจยุโรปที่คาดว่าสถานการณ์ยังคงเลวร้าย เบื้องต้นคาดว่าปีนี้เศรษฐกิจยุโรปจะติดลบ 0.8% แต่หากยังไม่มีความคืบหน้าในการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศในยุโรป โดยเฉพาะกรีซก็จะยิ่งมีผลกระทบมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากการเมืองต่างประเทศ ที่ปีนี้จะมีการเลือกผู้นำใหม่หลายประเทศ รวมทั้งการเกิดความขัดแย้งของหลายประเทศ เช่น อิหร่าน และสหรัฐฯ ส่วนปัญหาภัยธรรมชาติในปีนี้มีการคาดกันว่าในภูมิภาคเอเชียจะมีสถานการณ์ฝนตกมาก จากผลของลานินญ่า ขณะที่ปัญหาการเมืองในประเทศนั้น มองว่ายังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงเช่นกัน ซึ่งหากสถานการณ์การเมืองนิ่งจะเป็นผลดีต่อการเติบโตของเศรษฐกิจได้มากกว่า
ที่มา: ไทยรัฐ