ธปท.เผยค่าเงินบาทปี 2555 ผันผวนเพิ่มขึ้นทั้ง 2 ทิศทาง เงินทุนไหลเข้าออกเร็ว เตือนนักลงทุนระวังความเสี่ยง
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า แนวโน้มการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในปี 2555 น่าจะมีความผันผวนที่สูงขึ้นต่อเนื่องจากปี 2554 ที่ผันผวน 4.7% ซึ่งมีโอกาสผันผวนได้ทั้ง 2 ทิศทาง ทั้งอ่อนค่าลงและแข็งค่าขึ้น เนื่องจากในปีนี้ความเสี่ยงจากปัญหาหนี้สาธารณะในประเทศในยุโรปน่าจะเข้มข้นและส่งผลกระทบไปยังประเทศอื่นๆมากขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯเองก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง เพราะภาคอสังหาริมทรัพย์ยังแย่ และการว่างงานก็สูง จึงน่าจะมีผลให้นักลงทุนต่างชาติเคลื่อนย้ายเงินทุนไหลเข้าออกเร็วขึ้นจากความไม่แน่นอนเหล่านี้
“จากปัจจัยเดิมๆที่ต้องติดตามของยุโรปและสหรัฐ ซึ่งจะเข้มข้นขึ้น น่าจะทำให้แนวโน้มค่าเงินบาทในปีนี้ แกว่งอ่อนและแข็งค่าเร็ว ผันผวนขึ้น แต่ผลจากการขาดดุลการค้าที่น่าจะลดลงน่าจะช่วยลดแรงกดดันเงินบาทแข็งค่าลดลง ซึ่งในภาวะที่ตลาดมีผันผวนมากขึ้น ไม่มีความจำเป็นที่ธปท.จะไปดูแลความผันวนให้ต่ำลงกว่าปกติ ควรปล่อยไป แต่คงไม่ถึงขั้นปล่อยเท้งเต้งผู้เล่นรับความผันผวนเองหมด อาจจะมีการดูแลบ้าง แต่ดูยาวขึ้น ตามความเหมาะสม แต่ไม่อุ้ม “ นางผ่องเพ็ญกล่าว
นางผ่องเพ็ญ กล่าวว่า ในภาวะที่ค่าเงินเคลื่อนไหวไปได้ 2 ทิศทาง เชื่อว่าภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับค่าเงินบาท จะบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากการเคลื่อนไหว 2 ทิศทางได้ อย่างไรก็ตามถึงปีนี้จะเป็นปีที่ลงทุนอยาก เพราะค่าเงินผันผวนช่วงสั้น แต่นักลงทุนควรมีการป้องกันความเสี่ยง(Hedging) จากการผันผวนของตลาดที่เปลี่ยนแปลงเร็ว
ทั้งนี้ ในวันที่ 10 ม.ค.ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวที่ระดับ 31.73 บาทต่อเหรียญสหรัฐ อ่อนค่าลงเล็กน้อย
ที่มา: โพสทูเดย์
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า แนวโน้มการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในปี 2555 น่าจะมีความผันผวนที่สูงขึ้นต่อเนื่องจากปี 2554 ที่ผันผวน 4.7% ซึ่งมีโอกาสผันผวนได้ทั้ง 2 ทิศทาง ทั้งอ่อนค่าลงและแข็งค่าขึ้น เนื่องจากในปีนี้ความเสี่ยงจากปัญหาหนี้สาธารณะในประเทศในยุโรปน่าจะเข้มข้นและส่งผลกระทบไปยังประเทศอื่นๆมากขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯเองก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง เพราะภาคอสังหาริมทรัพย์ยังแย่ และการว่างงานก็สูง จึงน่าจะมีผลให้นักลงทุนต่างชาติเคลื่อนย้ายเงินทุนไหลเข้าออกเร็วขึ้นจากความไม่แน่นอนเหล่านี้
“จากปัจจัยเดิมๆที่ต้องติดตามของยุโรปและสหรัฐ ซึ่งจะเข้มข้นขึ้น น่าจะทำให้แนวโน้มค่าเงินบาทในปีนี้ แกว่งอ่อนและแข็งค่าเร็ว ผันผวนขึ้น แต่ผลจากการขาดดุลการค้าที่น่าจะลดลงน่าจะช่วยลดแรงกดดันเงินบาทแข็งค่าลดลง ซึ่งในภาวะที่ตลาดมีผันผวนมากขึ้น ไม่มีความจำเป็นที่ธปท.จะไปดูแลความผันวนให้ต่ำลงกว่าปกติ ควรปล่อยไป แต่คงไม่ถึงขั้นปล่อยเท้งเต้งผู้เล่นรับความผันผวนเองหมด อาจจะมีการดูแลบ้าง แต่ดูยาวขึ้น ตามความเหมาะสม แต่ไม่อุ้ม “ นางผ่องเพ็ญกล่าว
นางผ่องเพ็ญ กล่าวว่า ในภาวะที่ค่าเงินเคลื่อนไหวไปได้ 2 ทิศทาง เชื่อว่าภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับค่าเงินบาท จะบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากการเคลื่อนไหว 2 ทิศทางได้ อย่างไรก็ตามถึงปีนี้จะเป็นปีที่ลงทุนอยาก เพราะค่าเงินผันผวนช่วงสั้น แต่นักลงทุนควรมีการป้องกันความเสี่ยง(Hedging) จากการผันผวนของตลาดที่เปลี่ยนแปลงเร็ว
ทั้งนี้ ในวันที่ 10 ม.ค.ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวที่ระดับ 31.73 บาทต่อเหรียญสหรัฐ อ่อนค่าลงเล็กน้อย
ที่มา: โพสทูเดย์