ธปท.คาดปีนี้เศรษฐกิจภาคอีสานขยายตัวไม่ต่ำกว่า2-3%อานิสงส์ภาคก่อสร้าง-ส่งออกโตขณะที่รายได้ภาคครัวเรือนเพิ่มจากนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ300-15,000บาทคืนภาษีรถยนต์คันแรกแนะจับตาการย้ายฐานผลิตจากส่วนกลางเข้าแดนที่ราบสูงและงบก้อนโตโครงการใหญ่จากมติครม.สัญจร ที่จังหวัดอุดรธานี
ดร. พิชิต ภัทรวิมลพร ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ สภอ.กล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจและการเงินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในไตรมาสที่4 ปี2554 ที่ผ่านมาว่าขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวน้อยกว่าไตรมาสที่3 ปีเดียวกัน โดยภาคเกษตรกรรมชะลอลงตามราคามันสำปะหลัง และยางพาราในขณะที่ผลผลิตเกษตรชะลอลงตามผลผลิตข้าว เนื่องจากประสบกับปัญหาอุทกภัยในภาคและมีพื้นที่เสียหายมากกว่าปี2553
นอกจากนี้อุทกภัยที่เกิดขึ้นในภาคกลางก็ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลงมากในกลุ่มผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบเช่นเดียวกับภาคการค้าได้ชะลอตัวลงโดยเฉพาะการค้าส่งยานยนต์และวัสดุก่อสร้างจากปัญหาการส่งมอบและการขนส่งสินค้าอันเนื่องมาจากปัญหาอุทกภัยเช่นกัน
ส่วนการใช้จ่ายของภาครัฐเองมีบทบาทค่อนข้างน้อยในไตรมาสนี้ โดยมีการเบิกจ่ายใกล้เคียงกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนแต่ชะลอลงจากไตรมาสที่แล้วและหากรวมงบไทยเข้มแข็งแล้วกลับหดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนสำคัญเป็นผลมาจากการผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณปี 2555 ล่าช้า
อย่างไรก็ตาม ดร.พิชิตระบุว่าเศรษฐกิจภาคอีสานยังมีแรงขับเคลื่อนจากการอุปโภคบริโภคของประชาชนขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการค้าปลีก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการย้ายถิ่นชั่วคราวของประชาชนที่ประสบอุทกภัยเข้ามายังภาคอีสานทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น สะท้อนได้จากการขยายตัวของยอดขายในห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ตและภาษีมูลค่าเพิ่มประกอบกับการลงทุนของภาคธุรกิจที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่3 เหตุเพราะผู้ประกอบการมีความมั่นใจต่อเศรษฐกิจโดยรวมที่ดีขึ้นเป็นลำดับขณะเดียวกันได้รับอานิสงส์จากอุทกภัยในภาคกลาง สะท้อนได้จากภาคการก่อสร้างที่ขยายตัวทั้งที่เป็นการก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์
สำหรับแรงกดดันด้านราคาชะลอลงจากไตรมาสที่แล้วเล็กน้อย โดยอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3.22% ชะลอลงจาก 3.81%ในไตรมาสก่อน ทั้งนี้เป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารลดลง 0.72% กระนั้นก็ตามสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มยังสูงขึ้น7.29%โดยราคาเนื้อสัตว์สูงขึ้น 16.35% ผักและผลไม้สูงขึ้น 8.72%
ดร.พิชิตเปิดเผยถึงแนวโน้มเศรษฐกิจของภาคอีสานในปี 2555 นี้ คาดว่าน่าจะขยายตัว 2.0-3.0% โดยมีปัจจัยบวกหลายด้านเป็นตัวผลักดัน ประกอบด้วยผลกระทบจากน้ำท่วมที่ค่อยๆคลี่คลายลงเป็นลำดับ ภาคการก่อสร้างยังคงขยายตัวดีตามอุปสงค์เพื่อที่อยู่อาศัยและเพื่อการพาณิชย์ สะท้อนจากพื้นที่ก่อสร้างที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง ตลาดส่งออกยังขยายตัวโดยเฉพาะอินเดีย อาเซียนและจีน การทยอยการลงทุนของโครงการที่ได้รับการส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) สินเชื่อของสถาบันการเงินของรัฐที่ยังคงขยายตัวสูงจะมีส่วนกระตุ้นการอุปโภคบริโภคและการก่อสร้างในระยะต่อไป ที่สำคัญรายได้ของภาคครัวเรือนขยายตัวในระดับดี เนื่องจากรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์และจากโครงการแทรกแซงของรัฐ การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท รายได้ปริญญาตรีปรับเป็น 15,000 บาทและผลจากการคืนเงินภาษีรถยนต์คันแรก(ไม่เกินแสนบาท)
นายพิชิตยังได้กล่าวถึงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของภาคอีสานจะขยายได้มากแค่ไหนนั้นต้องจับตามองว่าจะมีการย้ายฐานการผลิตจากส่วนกลางมายังภาคอีสานมากน้อยแค่ไหนและในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดอุดรธานีนั้นจะมีการอนุมัติโครงการพัฒนาขนาดใหญ่กี่มากน้อย แต่ปัจจัยลบที่จะมองข้ามไม่ได้คือปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจสหรัฐฯนอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันและราคาสินค้าขั้นปฐมตลอดจนค่าเงินที่ยังคงผันผวนอยู่
ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 16 - 18 ก.พ. 2555
ดร. พิชิต ภัทรวิมลพร ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ สภอ.กล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจและการเงินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในไตรมาสที่4 ปี2554 ที่ผ่านมาว่าขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวน้อยกว่าไตรมาสที่3 ปีเดียวกัน โดยภาคเกษตรกรรมชะลอลงตามราคามันสำปะหลัง และยางพาราในขณะที่ผลผลิตเกษตรชะลอลงตามผลผลิตข้าว เนื่องจากประสบกับปัญหาอุทกภัยในภาคและมีพื้นที่เสียหายมากกว่าปี2553
นอกจากนี้อุทกภัยที่เกิดขึ้นในภาคกลางก็ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลงมากในกลุ่มผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบเช่นเดียวกับภาคการค้าได้ชะลอตัวลงโดยเฉพาะการค้าส่งยานยนต์และวัสดุก่อสร้างจากปัญหาการส่งมอบและการขนส่งสินค้าอันเนื่องมาจากปัญหาอุทกภัยเช่นกัน
ส่วนการใช้จ่ายของภาครัฐเองมีบทบาทค่อนข้างน้อยในไตรมาสนี้ โดยมีการเบิกจ่ายใกล้เคียงกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนแต่ชะลอลงจากไตรมาสที่แล้วและหากรวมงบไทยเข้มแข็งแล้วกลับหดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนสำคัญเป็นผลมาจากการผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณปี 2555 ล่าช้า
อย่างไรก็ตาม ดร.พิชิตระบุว่าเศรษฐกิจภาคอีสานยังมีแรงขับเคลื่อนจากการอุปโภคบริโภคของประชาชนขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการค้าปลีก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการย้ายถิ่นชั่วคราวของประชาชนที่ประสบอุทกภัยเข้ามายังภาคอีสานทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น สะท้อนได้จากการขยายตัวของยอดขายในห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ตและภาษีมูลค่าเพิ่มประกอบกับการลงทุนของภาคธุรกิจที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่3 เหตุเพราะผู้ประกอบการมีความมั่นใจต่อเศรษฐกิจโดยรวมที่ดีขึ้นเป็นลำดับขณะเดียวกันได้รับอานิสงส์จากอุทกภัยในภาคกลาง สะท้อนได้จากภาคการก่อสร้างที่ขยายตัวทั้งที่เป็นการก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์
สำหรับแรงกดดันด้านราคาชะลอลงจากไตรมาสที่แล้วเล็กน้อย โดยอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3.22% ชะลอลงจาก 3.81%ในไตรมาสก่อน ทั้งนี้เป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารลดลง 0.72% กระนั้นก็ตามสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มยังสูงขึ้น7.29%โดยราคาเนื้อสัตว์สูงขึ้น 16.35% ผักและผลไม้สูงขึ้น 8.72%
ดร.พิชิตเปิดเผยถึงแนวโน้มเศรษฐกิจของภาคอีสานในปี 2555 นี้ คาดว่าน่าจะขยายตัว 2.0-3.0% โดยมีปัจจัยบวกหลายด้านเป็นตัวผลักดัน ประกอบด้วยผลกระทบจากน้ำท่วมที่ค่อยๆคลี่คลายลงเป็นลำดับ ภาคการก่อสร้างยังคงขยายตัวดีตามอุปสงค์เพื่อที่อยู่อาศัยและเพื่อการพาณิชย์ สะท้อนจากพื้นที่ก่อสร้างที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง ตลาดส่งออกยังขยายตัวโดยเฉพาะอินเดีย อาเซียนและจีน การทยอยการลงทุนของโครงการที่ได้รับการส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) สินเชื่อของสถาบันการเงินของรัฐที่ยังคงขยายตัวสูงจะมีส่วนกระตุ้นการอุปโภคบริโภคและการก่อสร้างในระยะต่อไป ที่สำคัญรายได้ของภาคครัวเรือนขยายตัวในระดับดี เนื่องจากรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์และจากโครงการแทรกแซงของรัฐ การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท รายได้ปริญญาตรีปรับเป็น 15,000 บาทและผลจากการคืนเงินภาษีรถยนต์คันแรก(ไม่เกินแสนบาท)
นายพิชิตยังได้กล่าวถึงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของภาคอีสานจะขยายได้มากแค่ไหนนั้นต้องจับตามองว่าจะมีการย้ายฐานการผลิตจากส่วนกลางมายังภาคอีสานมากน้อยแค่ไหนและในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดอุดรธานีนั้นจะมีการอนุมัติโครงการพัฒนาขนาดใหญ่กี่มากน้อย แต่ปัจจัยลบที่จะมองข้ามไม่ได้คือปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจสหรัฐฯนอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันและราคาสินค้าขั้นปฐมตลอดจนค่าเงินที่ยังคงผันผวนอยู่
ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 16 - 18 ก.พ. 2555