นายวัชรินทร์ บรรพต ผู้อำนวยการสำนักงาน ออกแบบ สำนักการโยธา (สนย.) กล่าวว่า กรุงเทพมหานครโดยสำนักการโยธา ได้ดำเนิน โครงการสำรวจออกแบบก่อสร้างถนนตามแนวผังเมือง "ช2" จากถนนเกษตร-นวมินทร์ ถึงถนนสุขุมวิท 103 เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด และเพิ่มประสิทธิภาพในการ ขนส่งสินค้าด้านกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวมีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้โครงข่ายถนนไม่เพียงพอในการเดินทางของประชาชน
โดยการดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นไปตามการวางผังการใช้ประโยชน์ที่ดินและผังระบบคมนาคมและขนส่งของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2549 ซึ่งได้วางถนน "ช2" ให้เป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก เพื่อแบ่งเบาปริมาณการจราจรบนถนนนวมินทร์และถนนศรีนครินทร์ อีกทั้ง ถนนสาย ช2 ยังเป็น ส่วนหนึ่งที่ทำให้โครงข่ายถนนวงแหวนรอบกลางมีความสมบูรณ์ ส่งผลให้การเดินทาง รอบกรุงเทพฯ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยการดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นไปตามการวางผังการใช้ประโยชน์ที่ดินและผังระบบคมนาคมและขนส่งของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2549 ซึ่งได้วางถนน "ช2" ให้เป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก เพื่อแบ่งเบาปริมาณการจราจรบนถนนนวมินทร์และถนนศรีนครินทร์ อีกทั้ง ถนนสาย ช2 ยังเป็น ส่วนหนึ่งที่ทำให้โครงข่ายถนนวงแหวนรอบกลางมีความสมบูรณ์ ส่งผลให้การเดินทาง รอบกรุงเทพฯ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โครงการสำรวจออกแบบก่อสร้างถนนตามแนวผังเมือง ช2 มีจุดเริ่มต้น จากจุดตัดระหว่างถนนนวมินทร์ กับถนนประเสริฐมนูกิจ (เกษตร-นวมินทร์) ลงมา ทางทิศใต้ อยู่ในพื้นที่ระหว่างถนนนวมินทร์ ต่อเนื่องกับถนนศรีนครินทร์และถนน กาญจนาภิเษก ซึ่งมีจุดตัดกับถนนเสรีไทย ถนนรามคำแหง ถนนกรุงเทพกรีฑา ทางหลวง พิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ-ชลบุรี ถนนอ่อนนุช และสิ้นสุดที่บริเวณถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 และสามารถเชื่อมต่อแนวเส้นทางไปถึงถนนบางนา-บางปะกง ให้เดินทางถึงกันได้โดยตลอด เป็นส่วนหนึ่ง ของวงแหวนรอบกลางที่อยู่ระหว่างวงแหวน รอบใน (ถนนรัชดาภิเษก) และวงแหวนรอบนอก (ถนนกาญจนาภิเษก)
กรุงเทพมหานครได้ดำเนินโครงการ โดยเริ่มจากการสำรวจสภาพพื้นที่และสภาพการจราจร ศึกษาความเหมาะสม ด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น คัดเลือกแนวเส้นทาง ที่มีความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียด และจัดทำมาตรการ ป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม และจัดประชุม รับฟังความคิดเห็น (ครั้งที่ 1) เชิญผู้แทน จากหน่วยงานกรุงเทพมหานคร ผู้แทนภาค ประชาชน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ร่วมแสดงความคิดเห็น เสนอแนะในทุกกระบวนการ นำทุกความคิดเห็น ข้อเสนอแนะไปปรับให้ตรงกับความต้องการ ยกระดับโครงข่ายการเดินทางของกรุงเทพมหานครให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า
กรุงเทพมหานครได้ดำเนินโครงการ โดยเริ่มจากการสำรวจสภาพพื้นที่และสภาพการจราจร ศึกษาความเหมาะสม ด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น คัดเลือกแนวเส้นทาง ที่มีความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียด และจัดทำมาตรการ ป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม และจัดประชุม รับฟังความคิดเห็น (ครั้งที่ 1) เชิญผู้แทน จากหน่วยงานกรุงเทพมหานคร ผู้แทนภาค ประชาชน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ร่วมแสดงความคิดเห็น เสนอแนะในทุกกระบวนการ นำทุกความคิดเห็น ข้อเสนอแนะไปปรับให้ตรงกับความต้องการ ยกระดับโครงข่ายการเดินทางของกรุงเทพมหานครให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า