สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุ่มงบประมาณกว่า 1,800 ล้านบาท ผุดโปรเจ็กต์ยักษ์ ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน กลางสยามสแควร์ด้วยคอนเซ็ปต์ "Urban Shopping Street" สีสัน...สู่อนาคต ศูนย์การค้าที่จะรวบรวมทั้งสินค้าแฟชั่นจากทั่วทุกมุมโลก เตรียมเปิดจองพื้นที่เมษายนนี้ ก่อนเผยโฉมปลายปี 2556 และจ่อเปิดเฟสใหม่เพิ่ม ทั้งลงทุนเองและร่วมทุนในอีกหลายโซนย่านสยามสแควร์
รศ.น.อ.น.พ.เพิ่มยศ โกศลพันธุ์ รองอธิการบดี กำกับดูแล สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทุ่มงบประมาณกว่า 1,800 ล้านบาท ในการพัฒนาพื้นที่โรงภาพยนต์สยามสแควร์เก่าให้เป็นศูนย์การค้าที่ครบวงจร ภายใต้ชื่อศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน (Siam Square One : SQ-1) กับคอนเซ็ปต์ Urban Shopping Street สีสัน...สู่อนาคต บนพื้นที่รวมโครงการ 74,000 ตร.ม. โดยมีเอกลักษณ์เฉพาะในการเป็นแหล่งรวม One Stop Shopping ของความหลากหลายในไลฟ์สไตล์ จากร้านค้ากลุ่ม Flagship Stores แฟชั่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องหนัง จากกลุ่มยังดีไซเนอร์ของคนไทย และอินเตอร์แบรนด์ และกลุ่มสินค้าไอที
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเน้นระดับ B+ ถึง A ได้แก่ กลุ่มวัยรุ่น นิสิต นักศึกษา นักเรียน กลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีกำลังซื้อค่อนข้างสูงพฤติกรรมการใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 1,000 บาทต่อครั้ง ทั้งนี้ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน มีทั้งหมด 9 ชั้นโดยชั้น B เป็นพื้นที่จอดรถ ชั้น LG และชั้น 1 เป็นชั้นสำหรับ Young Designer ที่เกิดขึ้นและเติบโตมากับสยามสแควร์ รวมทั้งเป็นลานกิจกรรม ขณะที่ชั้น 2 และชั้น 3 เป็นชั้นที่รวบรวมสินค้า International Fashion สินค้าไอที และลานกิจกรรม Cielo Hall ชั้น 4 ถูกจัดวางให้เป็นโซนร้านอาหารเอาใจวัยรุ่นกับร้านกาแฟ ร้านเบเกอรี่ ชิกๆ ชั้น 5 เป็นพื้นที่รวบรวมร้านอาหารที่มีระดับ รองรับทุกคนในครอบครัว ด้วยรูปแบบหรูหราแฝงความอบอุ่น ชั้น 6 เป็นชั้นที่รวบรวมธนาคารและสถาบันสุขภาพและเสริมความงามแบบครบวงจร และชั้น 7 Sky Hall และ Roof Garden ที่เป็นลานอเนกประสงค์ ในลักษณะอัฒจันทร์กลางแจ้ง (Amphitheatre) และศูนย์จัดแสดงสินค้า นิทรรศการ งานศิลปะในแขนงต่างๆ (Exhibition Hall)
ด้านสถาปัตยกรรมการตกแต่งนั้น ถูกถ่ายทอดรูปแบบแนวคิดของเส้นทางเดินสำหรับลูกค้าภายในศูนย์การค้า ใน 2 ส่วนหลัก ได้แก่ 1.พื้นที่ปรับอากาศ ชั้น 1 และ LG รวม 2 ชั้น รวมพื้นที่กว่า 20,300 ตร.ม. ซึ่งกำหนดให้เป็นพื้นที่สำหรับร้านค้าย่อย (Small Shops) มีบรรยากาศแบบอันเดอร์กราวด์แฟกตอรี เป็นศูนย์แฟชั่นและการออกแบบให้กับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ 2.พื้นที่อาคารเหนือระดับพื้นดินรวม 6 ชั้น พื้นที่รวม 54,000 ตร.ม. ถูกออกแบบให้ทันสมัยด้วยทางลาด สำหรับกิจกรรมต่างๆ พร้อมทางเดินเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟฟ้าสยามได้อย่างสะดวกสบาย อีกทั้งยังสามารถเดินต่อเนื่องไปยังชั้นที่อยู่ถัดไปของอาคาร นอกจากนี้ในแต่ละชั้น จะคงบรรยากาศของทางเดินภายนอกอาคารที่มีทั้งรูปแบบสวนแนวตั้งและต้นไม้ใหญ่ กระจายต่อเนื่องตามจุดต่างๆ ทุกชั้น
"น่าจะมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการวันละประมาณ 50,000 คนขึ้นไปและคาดว่าจะสร้างรายได้และคุ้มทุนในระยะ 6-7 ปีนี้เพื่อนำรายได้ไปสนับสนุนในการพัฒนาการศึกษาต่อไป โดยกำหนดเปิดรับจองในเดือนเมษายนศกนี้ในอัตราค่าเช่าที่ไม่สูงมาก ส่วนหนึ่งประมาณ 50-60% เพื่อรองรับลูกค้าเดิมที่ได้รับผลกระทบจากเหตุเพลิงไหม้โดยต้องการให้ศูนย์การค้าสยามสแควร์วันตอบสนองทุกความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย มุ่งมั่นที่จะให้เป็นศูนย์การค้าต้นแบบของการเป็น Urban Shopping Street แห่งแรกของประเทศไทย มั่นใจว่าจะสยามสแควร์วันจะกลายเป็นจุดนัดพบของทุกคนในอนาคต ส่วนกลยุทธ์การตลาดช่วงปี 2555 - 2556 ได้เตรียมแผนการสร้างการรับรู้และการจดจำแบรนด์สยามสแควร์วันผ่านทุกช่องทางการสื่อสารซึ่งเชื่อว่าจะสามารถสร้างความตื่นเต้นได้สมกับการรอคอยของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้จะสามารถเปิดให้บริการได้ประมาณปลายปี 2556 ซึ่งจะเป็นอีก Landmark หนึงของกรุงเทพฯ ที่สามารถสร้างประสบการณ์ใหม่ที่เหนือความคาดหมายได้อย่างสมบูรณ์แบบ นอกจากนั้นยังเตรียมเปิดเฟสใหม่เพิ่มอีกอย่างต่อเนื่องในโซนสยามสแควร์มีทั้งลงทุนเองและการร่วมลงทุน" รศ.น.อ.น.พ.เพิ่มยศ กล่าว
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,723 18-21 มีนาคม พ.ศ. 2555
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเน้นระดับ B+ ถึง A ได้แก่ กลุ่มวัยรุ่น นิสิต นักศึกษา นักเรียน กลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีกำลังซื้อค่อนข้างสูงพฤติกรรมการใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 1,000 บาทต่อครั้ง ทั้งนี้ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน มีทั้งหมด 9 ชั้นโดยชั้น B เป็นพื้นที่จอดรถ ชั้น LG และชั้น 1 เป็นชั้นสำหรับ Young Designer ที่เกิดขึ้นและเติบโตมากับสยามสแควร์ รวมทั้งเป็นลานกิจกรรม ขณะที่ชั้น 2 และชั้น 3 เป็นชั้นที่รวบรวมสินค้า International Fashion สินค้าไอที และลานกิจกรรม Cielo Hall ชั้น 4 ถูกจัดวางให้เป็นโซนร้านอาหารเอาใจวัยรุ่นกับร้านกาแฟ ร้านเบเกอรี่ ชิกๆ ชั้น 5 เป็นพื้นที่รวบรวมร้านอาหารที่มีระดับ รองรับทุกคนในครอบครัว ด้วยรูปแบบหรูหราแฝงความอบอุ่น ชั้น 6 เป็นชั้นที่รวบรวมธนาคารและสถาบันสุขภาพและเสริมความงามแบบครบวงจร และชั้น 7 Sky Hall และ Roof Garden ที่เป็นลานอเนกประสงค์ ในลักษณะอัฒจันทร์กลางแจ้ง (Amphitheatre) และศูนย์จัดแสดงสินค้า นิทรรศการ งานศิลปะในแขนงต่างๆ (Exhibition Hall)
ด้านสถาปัตยกรรมการตกแต่งนั้น ถูกถ่ายทอดรูปแบบแนวคิดของเส้นทางเดินสำหรับลูกค้าภายในศูนย์การค้า ใน 2 ส่วนหลัก ได้แก่ 1.พื้นที่ปรับอากาศ ชั้น 1 และ LG รวม 2 ชั้น รวมพื้นที่กว่า 20,300 ตร.ม. ซึ่งกำหนดให้เป็นพื้นที่สำหรับร้านค้าย่อย (Small Shops) มีบรรยากาศแบบอันเดอร์กราวด์แฟกตอรี เป็นศูนย์แฟชั่นและการออกแบบให้กับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ 2.พื้นที่อาคารเหนือระดับพื้นดินรวม 6 ชั้น พื้นที่รวม 54,000 ตร.ม. ถูกออกแบบให้ทันสมัยด้วยทางลาด สำหรับกิจกรรมต่างๆ พร้อมทางเดินเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟฟ้าสยามได้อย่างสะดวกสบาย อีกทั้งยังสามารถเดินต่อเนื่องไปยังชั้นที่อยู่ถัดไปของอาคาร นอกจากนี้ในแต่ละชั้น จะคงบรรยากาศของทางเดินภายนอกอาคารที่มีทั้งรูปแบบสวนแนวตั้งและต้นไม้ใหญ่ กระจายต่อเนื่องตามจุดต่างๆ ทุกชั้น
"น่าจะมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการวันละประมาณ 50,000 คนขึ้นไปและคาดว่าจะสร้างรายได้และคุ้มทุนในระยะ 6-7 ปีนี้เพื่อนำรายได้ไปสนับสนุนในการพัฒนาการศึกษาต่อไป โดยกำหนดเปิดรับจองในเดือนเมษายนศกนี้ในอัตราค่าเช่าที่ไม่สูงมาก ส่วนหนึ่งประมาณ 50-60% เพื่อรองรับลูกค้าเดิมที่ได้รับผลกระทบจากเหตุเพลิงไหม้โดยต้องการให้ศูนย์การค้าสยามสแควร์วันตอบสนองทุกความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย มุ่งมั่นที่จะให้เป็นศูนย์การค้าต้นแบบของการเป็น Urban Shopping Street แห่งแรกของประเทศไทย มั่นใจว่าจะสยามสแควร์วันจะกลายเป็นจุดนัดพบของทุกคนในอนาคต ส่วนกลยุทธ์การตลาดช่วงปี 2555 - 2556 ได้เตรียมแผนการสร้างการรับรู้และการจดจำแบรนด์สยามสแควร์วันผ่านทุกช่องทางการสื่อสารซึ่งเชื่อว่าจะสามารถสร้างความตื่นเต้นได้สมกับการรอคอยของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้จะสามารถเปิดให้บริการได้ประมาณปลายปี 2556 ซึ่งจะเป็นอีก Landmark หนึงของกรุงเทพฯ ที่สามารถสร้างประสบการณ์ใหม่ที่เหนือความคาดหมายได้อย่างสมบูรณ์แบบ นอกจากนั้นยังเตรียมเปิดเฟสใหม่เพิ่มอีกอย่างต่อเนื่องในโซนสยามสแควร์มีทั้งลงทุนเองและการร่วมลงทุน" รศ.น.อ.น.พ.เพิ่มยศ กล่าว
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,723 18-21 มีนาคม พ.ศ. 2555