น.ส.นวพร มหารักขกะ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในไตรมาส 1/55 ระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL)ที่ยังไม่ได้หักการกันสำรองในระบบบธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 4,600 ล้านบาท เป็น 270,000 ล้านบาทจากสิ้นปี 54 โดยเพิ่มขึ้นในสินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อรถยนต์ และสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ เป็นสำคัญ
สำหรับผลประกอบการระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 1/55 นั้น เขากล่าวว่า อยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ และสินเชื่อขยายตัวต่อเนื่อง ตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว จากภาวะน้ำท่วม ได้เร็วกว่าที่คาด โดยสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ ในไตรมาสแรก ขยายตัว 13.9% จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยสินเชื่อเติบโตดีเกือบทุกกลุ่ม กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมขยายตัว 14.8% เพิ่มขึ้นจาก 14.4% เมื่อสิ้นปี 54 ขณะที่สินเชื่อธุรกิจที่คิดเป็น 71% ของสินเชื่อรวมมีการขยายตัว 13.2% ชะลอลงจาก 14.8% จากการชะลอลงของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น ภาคอุตสาหกรรมการผลิต การพาณิชย์ และสาธารณูปโภค
สำหรับผลประกอบการระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 1/55 นั้น เขากล่าวว่า อยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ และสินเชื่อขยายตัวต่อเนื่อง ตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว จากภาวะน้ำท่วม ได้เร็วกว่าที่คาด โดยสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ ในไตรมาสแรก ขยายตัว 13.9% จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยสินเชื่อเติบโตดีเกือบทุกกลุ่ม กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมขยายตัว 14.8% เพิ่มขึ้นจาก 14.4% เมื่อสิ้นปี 54 ขณะที่สินเชื่อธุรกิจที่คิดเป็น 71% ของสินเชื่อรวมมีการขยายตัว 13.2% ชะลอลงจาก 14.8% จากการชะลอลงของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น ภาคอุตสาหกรรมการผลิต การพาณิชย์ และสาธารณูปโภค
ส่วนเงินฝากรวมบี/อี ในไตรมาส 1/55 ขยายตัวชะลอลงมาที่ 9.9% จากระยะเดียวกันปีก่อน เทียบกับที่ขยายตัว 13.0% เมื่อสิ้นปี 54 ขณะที่สัดส่วน สินเชื่อต่อเงินฝากรวมบี/อี เพิ่มขึ้นเป็น 90.2% จาก 89.9%
อย่างไรก็ตาม สินเชื่อที่เพิ่มขึ้นมากกว่าเงินฝากและตั๋วแลกเงิน(บี/อี) ส่ง ผลให้สภาพคล่องตึงตัวขึ้นบ้าง โดยในส่วนเงินฝากขยายตัวเร่งขึ้น และบี/อี ชะลอตัวลง เนื่องจากข้อได้เปรียบด้านต้นทุนของบี/อี ลดลง จากมาตรการเงินนำส่งเพื่อชดเชยหนี้ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(FIDF)ขณะที่ บางส่วนก็หันไปฝากเงินในสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ
"(แนวโน้มบี/อี) ที่ผ่านมา ไตรมาสนี้ก็ลดลงพอสมควร ขณะเดียวกันก็จะเห็นว่า เงินฝากขึ้นมาทดแทนเร่งตัวขึ้น เป็นการปรับตัวจากข่าวที่ออกมา จะไม่มีข้อได้เปรียบ เรื่องต้นทุนที่ต้องนำส่งแล้ว ดังนั้น แบงก์ก็คงปรับตัวไปในทางที่ปกติ" นางสาวนวพร กล่าว
ในไตรมาส 1/55 ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิ 4.01 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 29% จากไตรมาสก่อนหน้า จากค่าใช้จ่ายหนี้สงสัยจะสูญที่ลดลง เมื่อเทียบกับที่กันสำรองไว้สูงมาก เพื่อรองรับผลเสียหายจากอุทกภัยในไตรมาสก่อน แต่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ(NIM) ลดเหลือ 2.5% จากการให้ความช่วยเหลือ ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ด้วยการผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระดอกเบี้ย รวมทั้ง มีเงินนำส่งเพื่อชำระหนี้ FIDF ซึ่งธนาคารได้ประมาณการและบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายแล้ว
ด้านอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(BIS Ratio) เพิ่มเป็น 15.2% จาก 15.1% ในปี 54 โดยเงินกองทุนชั้นที่ 1 ลดลงมาที่ 11.5% จาก 11.8% แต่ถือว่า ยังอยู่ระดับสูง และเพียงพอสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจระยะต่อไป
ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม สินเชื่อที่เพิ่มขึ้นมากกว่าเงินฝากและตั๋วแลกเงิน(บี/อี) ส่ง ผลให้สภาพคล่องตึงตัวขึ้นบ้าง โดยในส่วนเงินฝากขยายตัวเร่งขึ้น และบี/อี ชะลอตัวลง เนื่องจากข้อได้เปรียบด้านต้นทุนของบี/อี ลดลง จากมาตรการเงินนำส่งเพื่อชดเชยหนี้ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(FIDF)ขณะที่ บางส่วนก็หันไปฝากเงินในสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ
"(แนวโน้มบี/อี) ที่ผ่านมา ไตรมาสนี้ก็ลดลงพอสมควร ขณะเดียวกันก็จะเห็นว่า เงินฝากขึ้นมาทดแทนเร่งตัวขึ้น เป็นการปรับตัวจากข่าวที่ออกมา จะไม่มีข้อได้เปรียบ เรื่องต้นทุนที่ต้องนำส่งแล้ว ดังนั้น แบงก์ก็คงปรับตัวไปในทางที่ปกติ" นางสาวนวพร กล่าว
ในไตรมาส 1/55 ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิ 4.01 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 29% จากไตรมาสก่อนหน้า จากค่าใช้จ่ายหนี้สงสัยจะสูญที่ลดลง เมื่อเทียบกับที่กันสำรองไว้สูงมาก เพื่อรองรับผลเสียหายจากอุทกภัยในไตรมาสก่อน แต่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ(NIM) ลดเหลือ 2.5% จากการให้ความช่วยเหลือ ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ด้วยการผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระดอกเบี้ย รวมทั้ง มีเงินนำส่งเพื่อชำระหนี้ FIDF ซึ่งธนาคารได้ประมาณการและบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายแล้ว
ด้านอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(BIS Ratio) เพิ่มเป็น 15.2% จาก 15.1% ในปี 54 โดยเงินกองทุนชั้นที่ 1 ลดลงมาที่ 11.5% จาก 11.8% แต่ถือว่า ยังอยู่ระดับสูง และเพียงพอสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจระยะต่อไป
ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ