หลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2557 มีมติเห็นชอบแผนงานลงทุนภายใต้ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย (2558-2565) โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ต่างประเทศและปริมณฑล 10 เส้นทาง
เกือบ 5 เดือนที่ผ่านมา พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม ได้สั่งการให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เร่งรัดโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ตลอดจนผลักดันโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ให้ ครม.อนุมัติ เพื่อให้การก่อสร้างและการเปิดให้บริการเป็นไปตามแผน
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รายงานข้อมูล ณ วันที่ 16 มี.ค. 2558 ปรากฏว่าโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง 4 เส้นทาง พบว่ามี 3 โครงการที่การดำเนินงาน คืบหน้าตามแผน ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ซึ่งพบว่างานโยธาคืบหน้า 98.63% พร้อมเปิดบริการเดือน ส.ค. 2559
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อท่าพระ งานโยธาคืบหน้า 60.19% พร้อมเปิดบริการปี2561 แม้ว่าการคัดเลือกเอกชนมาเดินรถจะยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะใช้วิธีการเจรจากับเอกชนหรือเปิดประมูล และรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่งานโยธาคืบหน้า 51.51% พร้อมเปิดบริการปี 2561
มีเพียงรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่งานโยธาคืบหน้าเพียง 25.78% ซึ่งถือว่าล่าช้ากว่าแผน เนื่องจากมีการปรับแบบเพิ่มรางเพื่อรองรับรถไฟกึ่งความเร็วสูง ขณะที่การจัดหาเอกชนมาดำเนินงานตามสัญญาที่ 3 คือ ลงทุนงานNext Gen ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล จัดหาตู้รถไฟฟ้า ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป โดย รฟท.อยู่ระหว่างต่อรองราคากับกิจการร่วมค้า MHSC Consortium ส่งผลให้การเปิดให้บริการต้องเลื่อนเป็นปี 2562
ล่าสุดบอร์ด รฟม.อนุมัติให้ลงนามสัญญาก่อสร้างรถไฟฟ้าสาย สีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่คูคต 4 สัญญา2.87 หมื่นล้านบาท ในเดือน เม.ย.นี้ หากการก่อสร้างและจัดหาเอกชนเดินรถเป็นไปตามแผน ก็พร้อมเปิดให้บริการปี2562
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าที่กระทรวงคมนาคมเร่งเสนอ ครม.อนุมัติก่อนเปิดประมูลก่อสร้างมีทั้งสิ้น 6 เส้นทาง ได้แก่ สายสีส้ม ช่วงพระราม 9-มีนบุรี สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์เชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ช่วงพญาไท-ดอนเมือง รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก ช่วงบางซื่อหัวลำโพง และสายสีแดง ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต หากโครงการรถไฟฟ้าทุกเส้นได้รับการอนุมัติจาก ครม.ภายในปีนี้ คาดว่าจะทยอยเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป
รฟม.ยังอยู่ระหว่างศึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าอีก 1 เส้นทาง คือ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 คาดว่าจะเสนอ ครม.ได้ในปีนี้เช่นกัน
นอกจากนี้ ในปี 2559 กระทรวงคมนาคมมีแผนจะเสนอให้ ครม.อนุมัติโครงการรถไฟฟ้าภายใต้ยุทธศาสตร์ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนปี 2559 จำนวน 4 โครงการ ประกอบด้วย สายสีเขียว ช่วงสมุทรปราการ-บางปู สายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ สายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-พระราม 9 และสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา
ตลอดจนมีโครงการที่อยู่ระหว่างศึกษาออกแบบรายละเอียด ที่น่าจะเสนอ ครม.ได้ในปี 2559 อย่างน้อย 3โครงการ เช่น รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีแดง ช่วงหัวลำโพงบางบอน และช่วงบางบอน-มหาชัย รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายช่วงคูคตลำลูกกา คลอง 7 และช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-ยศเส เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ รฟม. มีความกังวลว่าการผลักดันโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ อาจล่าช้า เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีผู้ว่าการ รฟม.ตัวจริง เพราะยังไม่มีการเซ็นสัญญาจ้าง แม้ว่าบอร์ดและ ครม.จะมีมติแต่งตั้ง พีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล เป็นผู้ว่าการ รฟม.แล้ว
"การที่ไม่มีผู้ว่าการ รฟม.ตัวจริง ทำให้งานไม่คล่องตัว เพราะงานบางอย่างจำเป็นต้องให้ผู้ว่าการ รฟม.ลงนาม เช่น สัญญาจ้างงานโยธารถไฟฟ้าสายสีเขียว เป็นต้น ขณะที่การบริหารในองค์กรต้องการความเด็ดขาดในการตัดสินใจ" พล.อ.ยอดยุทธ ระบุ
ขณะที่ พีระยุทธ์ บอกว่า ครม.เศรษฐกิจเร่งรัดให้ รฟม.เร่งลงทุนโครงการรถไฟฟ้าทุกเส้น
ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รายงานข้อมูล ณ วันที่ 16 มี.ค. 2558 ปรากฏว่าโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง 4 เส้นทาง พบว่ามี 3 โครงการที่การดำเนินงาน คืบหน้าตามแผน ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ซึ่งพบว่างานโยธาคืบหน้า 98.63% พร้อมเปิดบริการเดือน ส.ค. 2559
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อท่าพระ งานโยธาคืบหน้า 60.19% พร้อมเปิดบริการปี2561 แม้ว่าการคัดเลือกเอกชนมาเดินรถจะยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะใช้วิธีการเจรจากับเอกชนหรือเปิดประมูล และรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่งานโยธาคืบหน้า 51.51% พร้อมเปิดบริการปี 2561
มีเพียงรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่งานโยธาคืบหน้าเพียง 25.78% ซึ่งถือว่าล่าช้ากว่าแผน เนื่องจากมีการปรับแบบเพิ่มรางเพื่อรองรับรถไฟกึ่งความเร็วสูง ขณะที่การจัดหาเอกชนมาดำเนินงานตามสัญญาที่ 3 คือ ลงทุนงานNext Gen ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล จัดหาตู้รถไฟฟ้า ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป โดย รฟท.อยู่ระหว่างต่อรองราคากับกิจการร่วมค้า MHSC Consortium ส่งผลให้การเปิดให้บริการต้องเลื่อนเป็นปี 2562
ล่าสุดบอร์ด รฟม.อนุมัติให้ลงนามสัญญาก่อสร้างรถไฟฟ้าสาย สีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่คูคต 4 สัญญา2.87 หมื่นล้านบาท ในเดือน เม.ย.นี้ หากการก่อสร้างและจัดหาเอกชนเดินรถเป็นไปตามแผน ก็พร้อมเปิดให้บริการปี2562
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าที่กระทรวงคมนาคมเร่งเสนอ ครม.อนุมัติก่อนเปิดประมูลก่อสร้างมีทั้งสิ้น 6 เส้นทาง ได้แก่ สายสีส้ม ช่วงพระราม 9-มีนบุรี สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์เชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ช่วงพญาไท-ดอนเมือง รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก ช่วงบางซื่อหัวลำโพง และสายสีแดง ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต หากโครงการรถไฟฟ้าทุกเส้นได้รับการอนุมัติจาก ครม.ภายในปีนี้ คาดว่าจะทยอยเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป
รฟม.ยังอยู่ระหว่างศึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าอีก 1 เส้นทาง คือ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 คาดว่าจะเสนอ ครม.ได้ในปีนี้เช่นกัน
นอกจากนี้ ในปี 2559 กระทรวงคมนาคมมีแผนจะเสนอให้ ครม.อนุมัติโครงการรถไฟฟ้าภายใต้ยุทธศาสตร์ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนปี 2559 จำนวน 4 โครงการ ประกอบด้วย สายสีเขียว ช่วงสมุทรปราการ-บางปู สายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ สายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-พระราม 9 และสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา
ตลอดจนมีโครงการที่อยู่ระหว่างศึกษาออกแบบรายละเอียด ที่น่าจะเสนอ ครม.ได้ในปี 2559 อย่างน้อย 3โครงการ เช่น รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีแดง ช่วงหัวลำโพงบางบอน และช่วงบางบอน-มหาชัย รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายช่วงคูคตลำลูกกา คลอง 7 และช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-ยศเส เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ รฟม. มีความกังวลว่าการผลักดันโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ อาจล่าช้า เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีผู้ว่าการ รฟม.ตัวจริง เพราะยังไม่มีการเซ็นสัญญาจ้าง แม้ว่าบอร์ดและ ครม.จะมีมติแต่งตั้ง พีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล เป็นผู้ว่าการ รฟม.แล้ว
"การที่ไม่มีผู้ว่าการ รฟม.ตัวจริง ทำให้งานไม่คล่องตัว เพราะงานบางอย่างจำเป็นต้องให้ผู้ว่าการ รฟม.ลงนาม เช่น สัญญาจ้างงานโยธารถไฟฟ้าสายสีเขียว เป็นต้น ขณะที่การบริหารในองค์กรต้องการความเด็ดขาดในการตัดสินใจ" พล.อ.ยอดยุทธ ระบุ
ขณะที่ พีระยุทธ์ บอกว่า ครม.เศรษฐกิจเร่งรัดให้ รฟม.เร่งลงทุนโครงการรถไฟฟ้าทุกเส้น
ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์