ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ หนุนลงทุนแสนล้าน ผุดทางด่วนรอบเมือง กระตุ้นราคาอสังหาริมทรัพย์หลังน้ำท่วม
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส กล่าวว่า ในจำนวนพื้นที่ทั้งหมดที่ถูกน้ำท่วม เป็นที่อยู่อาศัย 2,656 โครงการ จำนวน 549,888 หน่วย รวมมูลค่า 1,254,005 ล้านบาท หรือตกหน่วยละ 2.280 ล้านบาท ซึ่งหลังจากน้ำท่วมตะทำให้ ทำเลที่เคยดี กลับมี‘ตำหนิ’ เพราะน้ำท่วมถึง
"ผู้ซื้อบ้านอาจเกิดความไม่มั่นใจในปัญหาการท่วมซ้ำซากในอนาคต รัฐบาลจึงควรก่อสร้างสาธารณูปโภคเพื่อแก้ปัญหา ทั้งเขื่อนกั้นที่ถาวร ระบบป้องกันปัญหาน้ำทะเลหนุน รวมทั้งการปรับปรุงและก่อสร้างถนนหนทางอื่น ๆ"
อย่างไรก็ตามหนทางหนึ่งในการกระตุ้นราคาอสังหาริมทรัพย์ก็คือ การเร่งก่อสร้างทางด่วนผ่านเข้าไปยังพื้นที่ชานเมืองต่าง ๆ เพื่อทำให้ศักยภาพของที่ดินเพิ่มสูงขึ้น เพราะเป็นการย่นระยะทางเข้าสู่ใจกลางเมืองได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
"ในกรณีชานเมืองทางด่วน เหมาะสมและสะดวกกว่ารถไฟฟ้า ซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่อหัวในการเดินทางสูงกว่าทางด่วนมาก และไม่สามารถใช้ขนถ่ายสินค้าได้"
หลังจากน้ำท่วม มีความเป็นไปได้ที่ราคาบ้านในพื้นที่เหล่านั้นจะหยุดนิ่ง หรือลดต่ำลงเล็กน้อย ทำให้การซื้อขายชะงักไป ทำให้ไม่สามารถรับรู้รายได้ หากสมมติให้ราคาที่อยู่อาศัยลดลงไป 10% ของทั้งหมด 1.25 ล้านล้านบาท ก็เท่ากับเป็นความสูญเสียประมาณ 125,400 ล้านบาท
"การก่อสร้างทางด่วนมี ต้นทุนตารางเมตรละ 32,000 บาท ซึ่งหากประเมินจากมูลค่าที่หายไปของอสังหาฯ 125,400 ล้านบาท จะสามารถก่อสร้างทางด่วนขนาด 4 ช่องจราจร ได้ถึง 245 กิโลเมตร โดยอาจก่อสร้างเหนือถนนปัจจุบัน เช่น ถนนรามคำแหง ถนนบรมราชชนนี เป็นต้น หากเป็นการก่อสร้างบนที่ดินที่ต้องเวนคืนใหม่ ค่าก่อสร้างก็จะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ก่อสร้างได้ระยะทางสั้นลงเป็น 145 กิโลเมตร" ดร.โสภณ กล่าว
เขาระบุว่า หากสามารถก่อสร้างด้วยเงินจำนวน 125,400 ล้านบาทนี้ จะทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่ออสังหาริมทรัพย์ของประชาชนโดยรวม ซึ่งเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว ทั้งยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ กระตุ้นการลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศ กระตุ้นราคาอสังหาริมทรัพย์ของประชาชน และเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายในระยะยาว
จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 15:18
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส กล่าวว่า ในจำนวนพื้นที่ทั้งหมดที่ถูกน้ำท่วม เป็นที่อยู่อาศัย 2,656 โครงการ จำนวน 549,888 หน่วย รวมมูลค่า 1,254,005 ล้านบาท หรือตกหน่วยละ 2.280 ล้านบาท ซึ่งหลังจากน้ำท่วมตะทำให้ ทำเลที่เคยดี กลับมี‘ตำหนิ’ เพราะน้ำท่วมถึง
"ผู้ซื้อบ้านอาจเกิดความไม่มั่นใจในปัญหาการท่วมซ้ำซากในอนาคต รัฐบาลจึงควรก่อสร้างสาธารณูปโภคเพื่อแก้ปัญหา ทั้งเขื่อนกั้นที่ถาวร ระบบป้องกันปัญหาน้ำทะเลหนุน รวมทั้งการปรับปรุงและก่อสร้างถนนหนทางอื่น ๆ"
อย่างไรก็ตามหนทางหนึ่งในการกระตุ้นราคาอสังหาริมทรัพย์ก็คือ การเร่งก่อสร้างทางด่วนผ่านเข้าไปยังพื้นที่ชานเมืองต่าง ๆ เพื่อทำให้ศักยภาพของที่ดินเพิ่มสูงขึ้น เพราะเป็นการย่นระยะทางเข้าสู่ใจกลางเมืองได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
"ในกรณีชานเมืองทางด่วน เหมาะสมและสะดวกกว่ารถไฟฟ้า ซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่อหัวในการเดินทางสูงกว่าทางด่วนมาก และไม่สามารถใช้ขนถ่ายสินค้าได้"
หลังจากน้ำท่วม มีความเป็นไปได้ที่ราคาบ้านในพื้นที่เหล่านั้นจะหยุดนิ่ง หรือลดต่ำลงเล็กน้อย ทำให้การซื้อขายชะงักไป ทำให้ไม่สามารถรับรู้รายได้ หากสมมติให้ราคาที่อยู่อาศัยลดลงไป 10% ของทั้งหมด 1.25 ล้านล้านบาท ก็เท่ากับเป็นความสูญเสียประมาณ 125,400 ล้านบาท
"การก่อสร้างทางด่วนมี ต้นทุนตารางเมตรละ 32,000 บาท ซึ่งหากประเมินจากมูลค่าที่หายไปของอสังหาฯ 125,400 ล้านบาท จะสามารถก่อสร้างทางด่วนขนาด 4 ช่องจราจร ได้ถึง 245 กิโลเมตร โดยอาจก่อสร้างเหนือถนนปัจจุบัน เช่น ถนนรามคำแหง ถนนบรมราชชนนี เป็นต้น หากเป็นการก่อสร้างบนที่ดินที่ต้องเวนคืนใหม่ ค่าก่อสร้างก็จะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ก่อสร้างได้ระยะทางสั้นลงเป็น 145 กิโลเมตร" ดร.โสภณ กล่าว
เขาระบุว่า หากสามารถก่อสร้างด้วยเงินจำนวน 125,400 ล้านบาทนี้ จะทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่ออสังหาริมทรัพย์ของประชาชนโดยรวม ซึ่งเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว ทั้งยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ กระตุ้นการลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศ กระตุ้นราคาอสังหาริมทรัพย์ของประชาชน และเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายในระยะยาว
จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 15:18